ประเทศเอสโตเนีย
สาธารณรัฐในยุโรปเหนือ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอสโตเนีย (อังกฤษ: Estonia; เอสโตเนีย: Eesti, [ˈeːsʲti] ( ฟังเสียง)) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเอสโตเนีย (อังกฤษ: Republic of Estonia; เอสโตเนีย: Eesti Vabariik) เป็นรัฐอธิปไตยในภูมิภาคบอลติก ในยุโรปเหนือ มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับอ่าวฟินแลนด์ ทิศตะวันตกติดกับทะเลบอลติก มีพรมแดนทางทิศใต้ติดกับประเทศลัตเวีย (ระยะทาง 343 กิโลเมตร) และทางทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย (ระยะทาง 338.6 กิโลเมตร) เอสโตเนียมีพื้นที่ 45,227 ตารางกิโลเมตร (17,462 ตารางไมล์) (อันดับที่ 131 ของโลก) ประเทศเอสโตเนียปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเทศมณฑลจำนวน 15 เทศมณฑล โดยมีเมืองหลวงชื่อว่า ทาลลินน์ โดยเอสโตเนียมีจำนวนประชากรของประเทศที่น้อยที่สุดในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป
สาธารณรัฐเอสโตเนีย Eesti Vabariik (เอสโตเนีย) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศเอสโตเนีย (เขียวเข้ม) – ในยุโรป (เขียว & เทาเข้ม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ทาลลินน์a 59°25′N 24°45′E |
ภาษาราชการ และภาษาประจำชาติ | เอสโตเนียb |
กลุ่มชาติพันธุ์ (2021) |
|
ศาสนา (ค.ศ. 2011[1]) |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา |
• ประธานาธิบดี | อาลาร์ การิส |
• นายกรัฐมนตรี | กริสเต็น มีห์ฮัล |
• ประธานรีกิโกกู | เลารี ฮุสซาร์ |
สภานิติบัญญัติ | Riigikogu |
เอกราช | |
• เขตปกครองตนเอง | 12 เมษายน ค.ศ. 1917 |
• ประกาศ | 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 |
• ได้รับการยอมรับ | 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1920 |
16 มิถุนายน ค.ศ. 1940 | |
1941–1944 | |
1944–1991 | |
• เอสโตเนียเป็นเอกราช | 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 |
• เข้าร่วมอียู | 1 May 2004 |
พื้นที่ | |
• รวม | 45,339[2] ตารางกิโลเมตร (17,505 ตารางไมล์) (อันดับที่ 129d) |
5.16 (ใน ค.ศ. 2015)[3] | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2021 ประมาณ | 1,330,068[4] |
• | 1,294,455[5] |
30.9 ต่อตารางกิโลเมตร (80.0 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 148) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 49.644 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] |
• ต่อหัว | 41,892 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 41) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2021 (ประมาณ) |
• รวม | 35.187 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 97) |
• ต่อหัว | 27,101 ดอลลาร์สหรัฐ[6] (อันดับที่ 39) |
จีนี (ค.ศ. 2020) | 30.5[7] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.892[8] สูงมาก · อันดับที่ 29 |
สกุลเงิน | ยูโร (€) (EUR) |
เขตเวลา | UTC+02:00 (เวลายุโรปตะวันออก) |
UTC+03:00 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก) | |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +372 |
โดเมนบนสุด | .eec |
เอสโตเนียประกาศเอกราชครั้งแรกใน พ.ศ. 2461 ก่อนจะถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียต นาซีเยอรมนี และสหภาพโซเวียตอีกครั้งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง เอสโตเนียกลับมาเป็นรัฐเอกราชอีกครั้งหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ต่อมาเอสโตเนียก็เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรป
การเมืองการปกครอง
นิติบัญญัติ
สถาบันทางการเมืองเอสโตเนียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภาเป็นระบบสภาเดียว เรียกว่า Saiema ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 100 คน โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เพื่อลงมติให้ความไว้วางใจ ในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ (พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐสภาต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ)
การแบ่งเขตการปกครอง
- เทศมณฑลฮาร์ยู (Harju) มีเมืองหลักคือ ทาลลินน์
- เทศมณฑลฮีอู (Hiiu) มีเมืองหลักคือ แกร์ตลา
- เทศมณฑลอิตา-วิรู (Ida-Viru) มีเมืองหลักคือ เยอฮ์วี
- เทศมณฑลแยร์วา (Järva) มีเมืองหลักคือ ไปเต
- เทศมณฑลเยอเกวา (Jõgeva) มีเมืองหลักคือ เยอเกวา
- เทศมณฑลแลเน (Lääne) มีเมืองหลักคือ ฮาปซาลู
- เทศมณฑลแลเน-วิรู (Lääne-Viru) มีเมืองหลักคือ รักเวเร
- เทศมณฑลแปร์นู (Pärnu) มีเมืองหลักคือ ปาร์นู
- เทศมณฑลเปิลวา (Põlva) มีเมืองหลักคือ เปิลวา
- เทศมณฑลรัปลา (Rapla) มีเมืองหลักคือ รัปลา
- เทศมณฑลซาเร (Saare) มีเมืองหลักคือ กูเร็สซาเร
- เทศมณฑลตาร์ตู (Tartu) มีเมืองหลักคือ ตาร์ตู
- เทศมณฑลวัลกา (Valga) มีเมืองหลักคือ วัลกา
- เทศมณฑลวิลยันตี (Viljandi) มีเมืองหลักคือ วิลยันตี
- เทศมณฑลเวอรู (Võru) มีเมืองหลักคือ เวอรู
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.