หมาป่าเคราขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Chrysocyon brachyurus; อังกฤษ: Maned wolf) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในวงศ์สุนัข (Canidae) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Chrysocyon พบในทวีปอเมริกาใต้ ในประเทศบราซิล, ประเทศปารากวัย และประเทศโบลิเวีย หมาป่าเคราขาวมีลักษณะโดยผิวเผินคล้ายคลึงกับหมาจิ้งจอก แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก โดยสูงถึงสามฟุตนับจากเท้าถึงหัวไหล่ เพราะมีช่วงขาที่ยาวทำให้การมองเห็นได้ดีเมื่อต้องอยู่ในทุ่งหญ้าหรือที่รกชัฏ มีน้ำหนักประมาณ 20 ถึง 25 กิโลกรัม

ข้อมูลเบื้องต้น สถานะการอนุรักษ์, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
หมาป่าเคราขาว
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 0.1–0Ma
สมัยไพลสโตซีนตอนปลาย – ปัจจุบัน
Thumb
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Canidae
เผ่า: Canini
สกุล: Chrysocyon
C. E. H. Smith, 1839
สปีชีส์: C.  brachyurus
ชื่อทวินาม
Chrysocyon brachyurus
(Johann Karl Wilhelm Illiger, 1815)
Thumb
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Canis campestris (Wied-Neuwied, 1826)
  • Canis isodactylus (Ameghino, 1906)
  • Canis jubatus (Desmarest, 1820)
  • Canis vulpes (Larrañaga, 1923)
  • Vulpes cancrosa (Oken, 1816)
ปิด

ขนลำตัวเป็นสีแดงน้ำตาล โดยมีขนขาและหลังคอเป็นสีดำ ขนปลายหางและใต้ลำคอเป็นสีขาว ขนดำที่หลังคอเป็นขนยาวและตั้งชันได้เวลากลัวหรือต้องการแสดงความก้าวร้าว

หมาป่าเคราขาวมักอาศัยเป็นลำพัง หรือเป็นคู่ ซึ่งต่างจากสัตว์ในวงศ์หมาป่าขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ ที่มักอยู่เป็นฝูง หมาป่าเคราขาวล่าสัตว์ขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นอาหารในเวลากลางคืน เช่น สัตว์ฟันแทะ, กระต่าย และ นก นอกเหนือจากนี้ หมาป่าเคราขาวกินผลไม้และพืชอีกหลายชนิดไม่แพ้เนื้อสัตว์ หากไม่ได้กินพืช หมาป่าเคราขาวจะเป็นโรคนิ่วได้

หมาป่าเคราขาวที่อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้าเซอราโด ของบราซิล มีพฤติกรรมชอบกินผลของโลบิรา (Solanum lycocarpum) มาก[2] และเมื่อกินแล้วจะถ่ายมูลลงบนยอดจอมปลวกเล็ก ๆ ที่ขึ้นในทุ่งหญ้าเซอราโด ซึ่งในมูลนั้นจะมีเมล็ดของโลบิราอยู่ด้วย ซึ่งจะงอกเป็นต้นโลบิราขึ้นมาบนจอมปลวกนั้น เป็นเหตุให้ต้นโลบิราในทุ่งหญ้าเซอราโด มักขึ้นอยู่บนยอดจอมปลวกขนาดเล็ก[3]

ในปัจจุบัน หมาป่าเคราขาวมีจำนวนลดลง เนื่องจากถูกล่าจากมนุษย์ และติดเชื้อโรคจากสุนัขบ้าน หมาป่าเคราขาวเป็นสัตว์ในบัญชีหมายเลข ๒ ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ (CITES) โดยห้ามส่งออกหรือนำเข้าโดยปราศจากใบอนุญาต ซึ่งรวมถึงประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[4]

อ้างอิง

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.