Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บีเวอร์ (อังกฤษ: beaver) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมฟันแทะในเขตฮอลอาร์กติก มีสองชนิดที่เหลือรอดอยู่คือ พันธุ์ยูเรเชีย (C. fiber) กับ พันธุ์อเมริกาเหนือ (C. canadensis) บีเวอร์เป็นสัตว์ฟันแทะที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากแคพิบารา มีศีรษะใหญ่ ร่างกายที่แข็งแรง ฟันหน้าคล้ายสิ่ว ขนสีน้ำตาลหรือเทา เท้าหน้าคล้ายมือ เท้าหลังมีลักษณะแบนและเป็นผังพืด มีหางเป็นเกล็ด พันธุ์ยูเรเชียมีกระโหลกที่ยาวกว่า โพร่งจมูกในกระโหลกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม หางแคบและขนสีอ่อนกว่า สามารถพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ลำธารและสระน้ำ กินพืช เปลือกไม้ พืชน้ำและกกเป็นอาหาร
บีเวอร์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 24–0Ma ตั้งแต่ สมัยไมโอซีน ถึงปัจจุบัน | |
---|---|
บีเวอร์สายพันธุ์อเมริกา (Castor canadensis) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม |
อันดับ: | สัตว์ฟันแทะ |
วงศ์: | Castoridae |
สกุล: | Castor |
สปีชีส์ | |
บีเวอร์ยูเรเซีย | |
พื้นที่กระจายพันธุ์ใน ค.ศ. 2016 พันธุ์ยูเรเซีย (สีแดง) พันธุ์อเมริกาเหนือ (สีฟ้า) |
บีเวอร์สร้างเขื่อนและที่อยู่อาศัยโดยใช้กิ่งไม้ หินและโคลน พวกมันตัดต้นไม้เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เขื่อนที่กั้นน้ำทำหน้าที่เป็นที่อาศัยและที่หลบซ่อน โครงสร้างพวกนี้ทำให้เกิดเป็นที่ชุ่มน้ำที่เอื้อเฟื้อและส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศ ทำให้บีเวอร์ถูกจัดอยู่ในสิ่งมีชีวิตหลัก ตัวผู้และตัวเมียโตเต็มวัยจะอาศัยเป็นคู่เดียวร่วมกับลูกของพวกมัน เมื่อลูกพวกมันโตพอ มันจะช่วยซ่อมเขื่อนและที่อยู่อาศัยรวมทั้งยังช่วยเลี้ยงดูน้อง ๆ ที่พึ่งเกิดด้วย บีเวอร์ทำเครื่องหมายอาณาเขตโดยใช้ ร่องรอยเนินโคลน เศษซากและคาสโตเรียม สารคล้ายปัสสาวะที่ผลิตจากต่อมข้างก้น บีเวอร์สามารถจำแนกญาติโดยสารจากต่อมข้างก้น
ในอดีตมีการล่าบีเวอร์เพื่อเอา ขน เนื้อและคาสโตเรียม คาสโตเรียมสามารถใช้เพื่อการแพทย์ ทำน้ำหอมและปรุงอาหาร หนังและขนของมันเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในตลาดขนสัตว์ มีการล่าบีเวอร์เป็นจำนวนมาก จนมีการคุ้มครองในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ทำให้ประชากรพวกมันเพิ่มมากขึ้นจนบัญชีแดงไอยูซีเอ็นระบุให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ต่ำ ในวัฒนธรรมถือว่าบีเวอร์เป็นตัวแทนของ ความขยันขันแข็งอุตสาหะ และเป็นสัตว์ประจำชาติของแคนาดา
ในภาษาอังกฤษคำว่า "beaver" มาจากภาษาอังกฤษเก่าคำว่า beofor หรือ beferor (บันทึกในช่วงต้นว่า bebr) มีต้นกำเนิดจากกลุ่มภาษาโปรโต-เจอร์มานิก เกี่ยวข้องกับคำว่า Biber ในภาษาเยอรมัน และ bever ในภาษาดัตช์ คาดว่าน่าจะเป็นรากศัพท์จากคำว่า bher (สีน้ำตาล) ในภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม[1][2] สถานที่หลายแห่งในยุโรปใช้คำว่า "บีเวอร์" มาตั้งชื่อ เช่น Bibra, Bibern, Biberbach, Bièvres, Bober, Bóbrka และ Bóbr[3] สกุล Castor มาจากภาษากรีกคำว่า kastor ซึ่งแปลว่า "บีเวอร์"[4]
มีสองชนิดที่เหลือรอดอยู่คือ พันธุ์ยูเรเชีย (C. fiber) กับ พันธุ์อเมริกาเหนือ (C. canadensis) พันธุ์ยูเรเชียมีกระโหลกที่ยาวกว่า กระดูกจมูกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมกว่า หางแคบและขนสีอ่อนกว่า นอกเหนือจากนี้คือพันธุ์อเมริกาเหนือมีขนาดยาวกว่าเล็กน้อย[5]
คาโรลัส ลินเนียสเป็นผู้บัญญัติศัพท์สกุล Castor ใน ค.ศ. 1758[6] พร้อมตั้งชื่อทวินาม fiber ให้พันธุ์ยูเรเชีย[7] ไฮน์ริช คูห์ล นักสัตววิทยาชาวเยอรมันบัญญัติศัพท์ canadensis ให้พันธุ์อเมริกาเหนือ ใน ค.ศ. 1820[8] แต่ไม่มีการระบุที่ชัดเจนว่าเป็นคนละชนิด จนมีหลักฐานโครโมโซมปรากฏในทศวรรษ 1970 (พันธุ์ยูเรเชียมีโครโมโซม 48 โครโมโซม ส่วนพันธุ์อเมริกาเหนือมีโครโมโซม 40 โครโมโซม) ก่อนหน้านั้นหลายคนคิดว่าพวกมันเป็นสายพันธุ์เดียวกัน[9][10] การที่มีโครโมโซมไม่เท่ากันทำให้ไม่สามารถผสมข้ามสายพันธุ์ได้[11] พันธุ์อเมริกาเหนือแบ่งชนิดย่อยได้ 24 ชนิดส่วนพันธุ์ยูเรเชียแบ่งชนิดย่อยได้ 9 ชนิด[8][7]
บีเวอร์เป็นสัตว์จำพวกฟันแทะชนิดหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือแม้ว่าจะมีเพียงสองสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกันในปัจจุบันก็ตามแต่บีเวอร์มีประวัติฟอสซิลที่ยาวนานมากในบริเวณซีกโลกเหนือซึ่งเริ่มต้นในสมัยอีโอซีนและมีสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเช่น Trogontherium ในทวีปยุโรปและ Castoroides ในทวีปอเมริกาเหนือ
บีเวอร์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับกระรอกเนื่องจากพวกมันมีโครงสร้างบางอย่างที่คล้ายกันเช่นกะโหลกศีรษะและกระดูกขากรรไกรล่าง พวกมันเป็นหนูที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองและยังมีความสัมพันธุ์ใกล้ชิดกับคาปิบาราที่เป็นหนูขนาดใหญ่ที่ในโลกซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้[12][13]
บีเวอร์มีรูปร่างคล้ายหนูขนาดใหญ่มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีน้ำตาลเข้มหางของมันมีสีดำหรือเทา พวกมันมีพังพืดที่เท้า พวกมันมีสายตาที่ไม่ค่อยดีแต่มีความรู้สึกกระตือรือร้นและมีการได้กลิ่นและการสัมผัสที่ดีเยี่ยม โดยปกติแล้วบีเวอร์นั้นจะเจริญเติบโตตลอดชีวิตของพวกมัน โดยพวกมันจะมีความสูงราว30 เซนติเมตรและยาวประมาณ 75 เซนติเมตรและบีเวอร์ตัวเต็มวัยจะมีน้ำหนักประมาณ 16 - 25 กิโลกรัม[14][15][16][17][18] เพศเมียจะมีขนาดใหญ่หรือใหญ่กว่าเพศผู้ที่มีช่วงอายุเท่ากันซึ่งนั้นเป็นเรื่องปกติในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม บีเวอร์นั้นมีอายุยืนยาวได้ถึง 24 ปี
หางของบีเวอร์มีลักษณะเป็นวงรีแบนเหมือนใบพายขนาดใหญ่และปกคลุมด้วยเกล็ดที่มีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยมสีดำ[16] ฟันของบีเวอร์จะเติบโตตลอดจึงทำให้พวกมันต้องมาลับฟันของมันกับต้นไม้[19] ฟันหน้าสี่ซี่ของบีเวอร์มีสีส้มและมีความคงทนต่อกรดมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น[20] ขนของบีเวอร์นั้นจะมี2ชั้นโดยจะมีชั้นที่อ่อนนุ่มซึ่งจะช่วนกันน้ำและชั้นที่หยาบแข็งกระด้างซึ่งจะช่วนให้ความอบอุ่น
บีเวอร์เป็นที่รู้จักกันดีเรื่องการสร้างเขื่อนและสร้างบ้านบนแอ่งน้ำที่พวกมันสร้างเขื่อนกั้นไว้.[21] พวกมันใช้ฟันหน้าที่แหลมคมเพื่อตัดต้นไม้และพืชอื่น ๆ ที่พวกมันใช้สำหรับสร้างบ้านและใช้เป็นอาหาร การสร้างบ้านนั้นถ้าไม่มีแอ่งน้ำมันก็จะสร้างเขื่อนจากนั้นก็ตัดต้นไม้เป็นค้านและสร้างรังบนนั้น
เมื่อบีเวอร์รู้สึกถึงอันตรายและการถูกคุกคามจากนักล่าพวกมันจะดำน้ำลงไปและเตือนเพือนหรือฝูงด้วยการใช้หางของมันตบน้ำให้มีเสียงและเมือฝูงของมันได้ยินพวกมันก็จะดำน้ำตามลงไป ถึงแม้ว่าเวลาที่พวกมันอยู่บนบกนั้นพวกมันจะค่อนข้างช้าแต่ถ้าพวกมันว่ายน้ำพวกมันจะเร็วมากและสามารถดำน้ำได้ถึง 15 นาทีอีกทั้งพวกมันยังมีริมฝีปากซึ่งมีขนขึ้นเป็นแนวที่สามารถกั้นน้ำได้ รวมถึงหูที่สามารถปิดและโพรงจมูกที่สามารถเปิด ซึ่งช่วยให้พวกมันแทะใต้น้ำได้
สายพันธุ์อเมริกาและสายพันธุ์ยูเรเซียคือ 2 สายพันธุ์ที่เหลืออยู่ของบีเวอร์ซึ่งอยู่ในสกุล Castoridae อ้างจากการวิจัยทางพันธุกรรมได้แสดงให้เห็นว่า 2 สายพันธุ์นี้ไม่สามารถผสมพันธุ์กันได้[ต้องการอ้างอิง] ถึงแม้จะมีความเหมือนกันก็ตามโดย 2 สายพันธุ์นี้มีข้อแตกต่างคือสายพันธุ์ยูเรเซียนั้นมีขนาดเล็กกว่า,มีหัวกลมขนาดเล็ก,มีปากเล็กและมีกระดูกขาสั้นทำให้เคลืนที่ได้น้อยกว่าสายพันธุ์อเมริกา บีเวอร์ยูเรเชียมีกระดูกจมูกยาวกว่าของสายพันธุ์อเมริกา
บีเวอร์สายพันธุ์ยูเรเซียมีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์อเมริกา และกระจ่ายพันธุ์อยู่ที่ยุโรปกลางไปจนถึงตะวันตกของรัสเซียบีเวอร์ยูเรเซียนั้นถูกล่าจนเกือบจะศูนย์พันธุ์ในยุโรป เนืองจากการหลั่งสารจากต่อมกลิ่นที่เชื่อว่ามีคุณสมบัติเป็นยา อย่างไรก็ตามพวกมันพวกมันก็ยังอาศัยอยู่ในประเทศโปแลนด์, ประเทศสโลวาเกีย, ประเทศเช็กเกีย, บัลแกเรีย, เดนมาร์กและเนเธอร์แลนด์[22]และค่อยแพร่พันธุ์ไปสถานที่ใหม่ ๆ แต่ถึงอย่างนั้นพวกมันก็สูญพันธุ์ไปในเกาะบริเตนใหญ่ในศตวรรษที่สิบหก แต่ถึงอย่างนั้นก็มีข่าวลือใน ค.ศ. 1188 ว่าพบในแม่น้ำไทไฟ (Teifi) ในเวลส์ และในแม่น้ำสายหนึ่งในสกอตแลนด์ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2005 ได้มีบีเวอร์ในโครงการ The Lower Mill Estate เริ่มมีการปล่อยตัวไปยังป่าในประเทศอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์อีกด้วย[23][24]
บีเวอร์สายพันธุ์อเมริกามีขนาดใหญ่กว่าสายพันธุ์ยูเรเซีย บีเวอร์สายพันธุ์อเมริกานั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าบีเวอร์แคนาดา มีถิ่นกระจายพันธุ์ที่ทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปทางเหนือ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 นั้นมีการล่าบีเวอร์เป็นจำนวนมากเพื่อนำมาทำเสื้อผ้าเครืองนุ่งห่มอีกทั้งชนพื้นเมืองยังโปรดปรานรสชาติเนื้อของพวกมันด้วย[25][26][27]จึงทำให้พวกมันถูกล่าเป็นจำนวนมาก จนใน ค.ศ. 190 เริ่มมีการอนุรักษ์ทำให้พวกมันไม่ถูกล่าจนมากเกินไปจนปัจจุบันมันมีจำนวนประชากรประมาณ 100 ถึง 150 ล้านตัวซึ่งในอดีตเคยมีการบอกเล่าไว้ว่าพวกมันมีจำนวนมากถึง 90 ล้านตัว[28]
ลักษณะ | สายพันธุ์ยูเรเซีย | สายพันธุ์อเมริกา | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขนาดกะโหลก | เล็กกว่า | ใหญ่กว่า | ||||||||||
โพร่งจมูกในกระโหลก | เป็นรูป3เหลี่ยม | เป็นรูป4เหลี่ยม | ||||||||||
ขนาดหาง | มีลักษณะแคบกว่า | มีขนาดกว้างกว่า | ||||||||||
ออกลูกครั้งละ | 2-3 ตัว | 3-4 ตัว | ||||||||||
ที่ตั้งของรัง | ใกล้ริมน้ำ | อยู่กลางแอ่งน้ำ | ||||||||||
เครื่องหมายอาณาเขต | มีพื้นที่ขนาดเล็กกว่า | มีพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า | ||||||||||
การต่อสู้ | เกิดการต่อสู้น้อยกว่า | เกิดการต่อสู้มากกว่า | ||||||||||
โครโมโซม | 2n = 48 | 2n = 40 | ||||||||||
ที่มา: Biology @ Davidson[29] [30] |
พวกมันจะชอบอาศัยอยู่บริเวณริมน้ำ การสร้างเขื่อนที่มีมานับ 100 ถึง 1000 ปี[31]ของพวกมันสามารถทำให้น้ำมีคุณภาพดีได้
บีเวอร์นั้นสามารถสร้างระบบนิเวศชุ่มน้ำขึ้นมาใหม่ได้โดยไม่ต้องพึ่งมนุษย์หรือธรรมชาติอีกทั้งการสร้างเขือนของมันยังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และอุณหภูมิหรือสภาพอากาศบริเวณนั้น[32][33]
การตัดต้นไม้ของมีเวอร์นั้นมีหลายสาเหตุ โดยพวกมันล้มต้นไม้ใหญ่มาเพื่อสร้างเขื่อนแล้วใช้ไม้เล็กอุดตามรู แต่บีเวอร์ยูเรเซียมักจะตัดไม้ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ซ.ม. ส่วนอาหารพวกมันจะกินต้นไม้เล็ก ๆ ที่ไม่ใหญ่มากเป็นอาหาร และการสร้างเขื่อนนั้นทำให้ต้นไม้งอกบริเวณนั้นมากขึ้นแต่ก็จะฆ่าต้นไม้ที่จมอยู่ในแอ่งน้ำของมันเช่นกัน[34]
ปกติจะเริ่มสร้างเขื่อนกักน้ำด้วยการล้มต้นไม้โดยตัดหรือกัดกิ่งไม้ชนิดต่าง ๆ แล้วก็คาบและลากกิ่งไม้นั้นลงไปไว้ก้นลำธาร ปล่อยให้ปลายไม้ชี้ไปตามน้ำเสร็จแล้วเอาโคลน กรวดและหินวางถมไป ต่อจากนั้นก็เอาโคลนและหินทับลงไปอีกเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำในเขือนนั้นจะมีความสูงตามที่พวกมันต้องการ ซึ่งเขือนพวกนี้สามารถอยู่ได้นานหลายเดือน โดยปกติแล้วมันจะสร้างช่องระบายน้ำ ไว้ 1 ช่องด้วย[35]
เขื่อนบีเวอร์ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันผู้ล่าเช่นหมาป่าและหมีและเพื่อให้เข้าถึงอาหารได้ง่ายในช่วงฤดูหนาว บีเวอร์ทำงานในเวลากลางคืนเสมอและยังเป็นผู้สร้างความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย โดยบีเวอร์จะอุดรูบนเขื่อนด้วยไม้โคลนหรือดินด้วนเหตุนี้การทำลายเขือนของบีเวอร์จึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักล่า บีเวอร์สามารถสร้างเขื่อนได้ทั้งวันทั้งคืน โดยมันจะสร้างเขื่อนตามบริเวณริมแม่น้ำ[35][36]
การสร้างเขื่อนของบีเวอร์ มีผลต่อระบบนิเวศ เพราะแหล่งน้ำที่ได้จากการสร้างเขื่อนจะดึงดูดสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และสัตว์เลื้อยคลานให้เข้ามาอาศัยและหากินใกล้บริเวณเขื่อนนอกจากนี้ การสร้างเขื่อนยังมีประโยชน์ในการป้องกันพวกมันจากนักล่าอีกด้วย[35]
รังของมันจะสร้างอยู่ในแอ่งน้ำขังจากการสร้างเขื่อนของมัน โดยรังของมันสร้างมาจากไม้และโคลนเมื่อเวลาผ่านไปโคลนเหล่านี้จะแข็งจนเหมือนหินทำให้นักล่าไม่สามารถทำลายลงได้ง่าย ๆ รังของพวกมันนั้นจะมีที่เข้าซึ่งจะอยู่ใต้น้ำทำให้นักล่าอย่างหมาป่าไม่สามารถเข้ามาได้ถึงแม้รังของมันจะดูใหญ่โตแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ใช้ในการพักอาศัยโดยรังของมันที่มีที่เก็บอาหารที่เอาไว้ตากตัวให้แห้งและที่เอาไว้อยู่กับครอบครัว[37]
บ้านของมันสร้างจากวัสดุที่เหมื่อนกันกับเขือนโครงสร้างส่วนมากถูกสร้างเพื่อใช้ในการรองรับหลังคาและทางเข้าโดยปกติจะมีทางเดี่ยวและเข้าออกผ่านทางใต้น้ำ
เมื่อน้ำแข็งในฤดูหนาวเริ่มละลายพวกมันจะออกจากบ้านแล้วเดินเตร่ไปทั้วป่าพอถึงฤดูใบไม้ร่วงพวกมันจะเริ่มกลับเข้ารังซ่องแซมและเริ่มกักตุนอาหารเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับฤดูหนาวเมือเวลาผ่านไปถึงฤดูร้อนพวกมันก็จะเริ่มรื้อและรอจนกว่าจะเดือนสิงหาคมแล้วจึงเริ่มสร้างรังใหม่[38]
แอ่งน้ำของบีเวอร์สามารถกำจัดตะกอนและสารมลพิษทางน้ำและทำให้ของแข็งแขวนลอยให้ตกเป็นตะกอนอีกทั้งยังเพิ่มไนโตรเจนฟอสเฟตคาร์บอนและซิลิเกตลงในน้ำอีกด้วย[39][40]
คำว่า "ไข้บีเวอร์" เป็นคำที่ใช้เรียกโดยนักข่าวชาวอเมริกันในทศวรรษที่ 1970 หลังจากค้นพบปรสิต Giardia lamblia ซึ่งเชื่อว่ามาจากบีเวอร์ อย่างไรก็ตามการวิจัยแสดงให้เห็นว่าสัตว์และนกจำนวนมากก็มีพยาธิโดยมีแหล่งที่มาของการปนเปื้อนนี้คือมนุษย์นั้นเอง[41][42][43] เนื่องจากประเทศนอร์เวย์มีบีเวอร์จำนวนมากแต่กลับไม่มีการพบพยาธิ giardia และในขณะเดียวกันที่ประเทศนิวซีแลนด์มีพยาธิ giardia แต่กลับไม่มีบีเวอร์ นี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เชื่อว่าการเจื้อปนนี้มาจากมนุษย์ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการทำปศุสัตว์นั้นก็คือการเลี้ยงวัวในการทดสอบฝูงวัวมีการพบพยาธิ giardia ถึง 100%[44]อีกทั้งยังค้นพบแบคทีเรียโคลิฟอร์มและแบคทีเรีย Streptococci อีกด้วยซึ่งการเจือปนนี้น่าจะเกิดจากการที่วัวได้ขับถ่ายลงแหล่งน้ำ[45]
พื้นฐานของบีเวอร์คือการมีชีวิตครอบครัวที่ประกอบด้วยเพศผู้ตัวเต็มวัยและเพศเมียตัวเต็มวัย[46]พวกมันสามารถมีลูกได้มากถึง 10 ตัว และถ้ามันยิ่งมีลูกมากพวกมันก็จะสร้างรังใหญ่ขึ้น[46]พวกมันส่วนมากจะรักเดียวใจเดียวแต่ถ้าคู่ของมันเสียชีวิตมันก็จะหาหรือมีคู่ใหม่อีก[46]นอกจากนี้ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะมีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูก และพวกมันทั้งสองจะทำเครื่องหมายและปกป้องอาณาเขตทั้งสร้างและซ่อมแซมเขื่อนและรังของพวกมัน[46]เมื่อลูกของพวกมันเกิดขึ้นมาตัวเมียจะคอยเลี้ยงดูลูกและตัวผู้จะปกป้องอาณาเขตและเมื่อพวกมันโตขึ้นพวกมันจะช่วยพ่อและแม่หาอาหารและซ่อมที่พักแต่ถึงอย่างนั้นพ่อและแม่จะทำงานส่วนพวกมันก็จะหาอาหารและเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิติในป่า[46]อีกทั้งพวกมันส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่น และก็ยังคัดลอกเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อแม่นั้นเป็นการเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตอีกแบบหนึ่งแต่ถึงมันจะลอกเลียนแบบพ่อแม่พวกมันในตอนนี้ก็ยังไม่สามารถทำสิ่งที่พ่อแม่ทำได้จนกว่าพวกมันจะโตเต็มวัย
เมือบีเวอร์ที่อายุได้ 2 ปี พวกมันจะเก็บอาหารซ่อมแซมเขื่อนและบ้าน และยังช่วยแม่ดูแลพี่น้องของพวกมันอีกด้วย พวกบีเวอร์ที่อายุเยอะกว่านั้นจะรับหน้าที่ดูแลตัวที่เด็กกว่าซึ่งเป็นพฤติกรรมนี้เป็นเรื่องธรรมดาและเห็นได้จากสัตว์หลายชนิดเช่น ช้างเผือกและปลาโลมา[47]แม้ว่าพวกวัยอายุ2ปีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตอยู่รอดของตัวที่มีอายุน้อยกว่าซึ่งยังดูแลตัวเองไม่ได้ทำให้พวกรุ่นพี่ขขวบเหล่านี้ต้องช่วยเหลือครอบครัวเวลาเกิดความแห้งแล้ง[46]เวลาพวกมันไปข้างนอกพวกมันจะไม่เดินไกลเกินอาณาเขตของพวกมันมาก[48]
บีเวอร์จะรับรู้กลิ่นญาติของมันด้วยการตรวจสอบความแตกต่างในองค์ประกอบของสารที่อยู่ตรงต่อมทางทวารหนัก ถ้าพวกมันเกี่ยวข้องกันก็จะมีกลิ่นของสารที่คล้ายกัน ทำให้วามสามารถในการรู้จักญาติเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพฤติกรรมทางสังคมของบีเวอร์[48]
บีเวอร์รักษาและปกป้องอาณาเขตซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับให้อาหารการทำรังและการผสมพันธุ์[46]พวกมันใช้พลังงานเยอะมากในการสร้างเขื่อนและทำความคุ้นเคยกับพื้นที่[49]บีเว่อร์ทำเครื่องหมายอาณาเขตของตนโดยการสร้างแท่งกิ่งที่ทำจากโคลนและคอสโตเรียม[50]ซึ่งคือสารจากปัสสาวะเล็ดลอดผ่านถุงละหุ่งบีเว่อร์ระหว่างกระดูกเชิงกรานและฐานของหาง[49]ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นเอาไว้ใช้ในการแบ่งแยกอาณาเขต[50]เมื่อตรวจพบกลิ่นอื่นในดินแดนของตนและารค้นพบผู้บุกรุกจะมีความสำคัญยิ่งกว่าอาหาร[50]เพราะว่าพวกมันลงไม่ลงแรงมากในการสร้างอาณาเขตของมันและทำให้มีแน้วโน้มให้เกิดการต่อสู้อีกด้วย[49]การเผชิญหน้าเหล่านี้มักมีความรุนแรงมากทำให้พวกมันต้องย้ำเตือนเครื่องหมายอาณาเขตของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยส่งสัญญาณให้ผู้บุกรุกทราบว่าผู้ครอบครองดินแดนมีพลังงานเพียงพอที่จะรักษาดินแดนของตนและสามารถป้องกันได้ดี ดังนั้นพื้นที่ที่มีจุดเครืองหมายมากจะมีการปะทะน้อยกว่าจุดที่ไม่มีการเตือนบอก[49][51]แต่พวกมันก็ยังมีเพื่อนบ้านเวลาพวกมันได้กลิ่นเพื่อนบ้านมันจะตอบสนองต่อการรุกรานของเพื่อนบ้านในอาณาเขตน้อยกว่าที่พวกมันทำกับคนแปลกหน้า[48]
บีเวอร์นั้นเป็นสัตว์กินพืชโดยอาหารของพวกมันคือเปลือกไม้,กิ่งไม้,ใบไม้ของต้นไม้จำพวกต้นเมเปิล, เบิร์ชและเชอร์รี่หรือกินรากของพืชน้ำจำพวกต้นกกและ รากบัวเป็นต้น[52][53]พวกมันสามารถกินได้ทุกส่วนของพืช โดยพืชส่วนใหญ่ที่พวกมันกินนั้นจะอยู่บริเวณแอ่งน้ำที่พวกมันทำรัง และยังมีการสังเกตอีกว่าบีเวอร์ยูเรเซียนั้นจะชอบกินเปลือกและเนื้อไม้ของต้นไม้จำพวกเบิร์ช ส่วนบีเวอร์อเมริกาเหนือนั้นจะชอบกินไม้จำพวกเบิร์ช, แอสเพน, เชอร์รี่และหรือไม้ชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มของเมเปิล[54]ซึ้งถึงแม้ว่าไม้ที่กล่าวมานั้นจะเป็นที่ชื่นชอบของพวกบีเวอร์แต่ถ้าเกิดบริเวณที่พวกมันอาศัยอยู่นั้นไม่มีต้นไม้พวกนี้บีเวอร์ก็จะกินไม้ชนิดอื่นแทนถึงแม้พวกมันจะไม่ชื่นชอบก็ตาม
บีเวอร์นั้นไม่จำศีลในฤดูหนาวโดยมันจะเก็บและกักตุนอาหารเอาไว้ที่ห้องเก็บอาหารในรังของมันซึ่งจะมีทางเข้าอยู่ใต้น้ำเหมือนห้องอื่น ๆ พวกมันจะเก็บไม้กองเล็ก ๆ ไว้ด้านบนและวางไม้กิ่งใหญ่ ๆ ไวด้านล่างเพื่อป้องกันการถูกขโมยหรือโดยน้ำพัดออกไป[54]ในฤดูหนาวพวกมันจะอยู่แต่ในรังซึ่งพวกมันจะไม่ออกไปไหนเลยดังนั้นอาหารที่พวกมันกักเก็บเอาไวนั้นสามารถเป็นแหล่งอาหารสำรองที่สามารถช่วยให้มันไม่ต้องออกไปหาอาหารด้านนอก
ส่วนมากรังบีเวอร์นั้นจะลอยน้ำและยังมีกิ่งไม้ที่ลอยอยู่บริเวณรังซึ่งจะทำให้น้ำบริเวณนั้นไม่เป็นน้ำแข็ง[55]ซึ่งการที่พวกมันทำเช่นนี้ก็เพราะเพื่อเอาไวเวลาอาหารสำรองที่พวกมันกักตุ้นไว้หมดพวกมันจะได้ออกมาหาอาหารได้
ครั้งหนึ่งคนมองว่า บีเวอร์เปรียบเสมือนตู้ยาเคลื่อนที่ นับจากยุคกรีกโบราณเป็นต้นมา สารคัดหลั่งจากต่อมสองต่อมที่อยุ่ใกล้กระเพาะปัสสาวะของมัน ซึ่งมีชื่อว่า คาสโตเรียน (castoreum) ถูกนำมาใช้เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดหัว เป็นไข้ ลมบ้าหมู รวมทั้งใช้เป็นยาระบายด้วย ชนเผ่าซามีในแลปแลนด์ผสมสารคัดหลั่งของมันเข้ากับยานัตถุ์ ปัจจุบัน สารตัวนี้ใช้เพื่อทำน้ำหอมเท่านั้น น้ำหอมชาลิมาร์ของเกอร์แลงกับน้ำหอม แม็กกี นอร์ ของลังโคม ต่างก็มีส่วนผสมของสารคัดหลั่งจากบีเวอร์ที่ทำการสังเคราะห์แล้ว[56]พวกมันถูกใช้เป็นยาในอิรักและอิหร่านระหว่างศตวรรษที่10ถึงศตวรรษที่19[57]เทพนิยายของอีสป อธิบายอย่างตลกขบขันว่าบีเว่อร์นั้นเคี้ยวลูกอัณฑะเพื่อรักษาตัวเองจากนักล่าซึ่งเป็นไปไม่ได้เนื่องจากอัณฑะของบีเว่อร์อยู่ภายในร่างกายของมัน ความเชื่อนี้ยังบันทึกโดยพลีลินี เอลเดอในยุค bestiaries[58]พวกมันถูกล่าเกือบจะสูญพันธุ์ในยุโรปเพื่อนำมาทำการผลิต แคสโตเลียม ซึ่งใช้เป็นยาแก้ปวดแก้อักเสบและลดไข้ อีกทั้งยังใช้เพื่อเพิ่มความดันโลหิตและเพิ่มการเต้นของหัวใจซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกรด ซาลีไซลินและมีการกระทำที่คล้ายกับแอสไพริน[59] และยังสามารถใช้ในการผลิตน้ำหอมอีกด้วย[60]
แคสโตเลียมนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องปรุงรสวานิลลา, สตรอเบอรีและราสเบอร์รีได้ บางครั้งจะมีการเพิ่มผลิตภัณฑ์นมแช่แข็งเช่นเจลาติน, ขนมและเครื่องดื่มผลไม้ และเนื่องจากมันหายากทำให้การใช้ในการผลิตอาหารนั้นไม่ค่อยพบได้มากเท่าไหร่นัก[60][61]
และในรัฐอาร์คันซัสของสหรัฐอเมริกาได้มีการทำสตูว์หางบีเวอร์อีกด้วย[62]
ส่วนที่มีค่าที่สุดของบีเวอร์คือขนของมันซึ่งมีหลาย ๆ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยทำให้เหมาะสำหรับการฟอกสีโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการทำหมวก[63]
บีเวอร์ถูกไล่ล่าโดยมนุษย์มานับพันปีและยังคงดำเนินต่อมาจนถึงวันนี้[64] ขนของบีเวอร์ถูกใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนโดยชนพื้นเมืองอเมริกันในศตวรรษที่ 17 เพื่อรับสินค้าจากชาวยุโรป ขนพวกนี้ถูกเอาไปทำเสื้อผ้าในอังกฤษและฝรั่งเศส นั้นทำให้เกิดการล่าบีเวอร์จนเกือบศูนย์พันธุ์ในยุโรป อีกทั้งการทำเกษตรกรรมกำลังแพร่หลายทำให้มีการวางกับดักจึงทำให้บีเวอร์จำนวนมากถูกจับไปด้วยเช่นใน ค.ศ. 1979-1977 มีบีเวอร์ติดกับดักจากการเกษตรกรรมถึง 500,000 ตัวในทวีปอเมริกาเหนือ[65][66]
ในวัฒนธรรมของต่างประเทศนั้นคำว่า บีเวอร์ เป็นที่รู้จักสำหรับความขยัน, ความหมั่นเพียรและทักษะในการก่อสร้าง และคำกริยาภาษาอังกฤษ beaver หมายถึงการทำงานหนักและต่อเนื่อง
คำว่า Beverly หรือ Beverley นั้นสามารถตั้งเป็นชื่อเมืองหรือชื่อผู้คนได้ซึ่งสามารถตั้งเป็นนามสกุล สามารถนำมาตั้งชื่อได้ทั้งชื่อผู้ชายและชื่อผู้หญิง(โดยปกติจะตั้งให้ผู้หญิงมากกว่า) โดยคำว่า Beverley นี้ยังเป็นชื่อของเมืองๆหนึ่ง[67][68]ในอีสไรด์ดิง ออฟ ยอร์กเชอร์ในภาคการปกครองยอร์กเชอร์และฮัมเบอร์ของประเทศอังกฤษ ซึ่งชื่อของเมืองนี้มาจากภาษาอังกฤษเก่าโดยเกิดจากการรวมคำว่า befer (beaver) และ leah (clearing)เข้าด้วยกัน และยังมีอีกหลายเมืองที่ใช้คำว่า Beverleyมาตั้งชื่อเมือง เช่นเมืองเบเวอร์ลีฮิลส์ในรัฐแคลิฟอร์เนียเป็นต้น
พวกมันถูกใช้เป็นตัวการ์ตูนเช่น เป็นตัวละครที่ชื่อ ทูธทีและ แฮนดีในเรื่อง แฮปปีทรีเฟรนดส์ และยังมีการนำมาสร้างการ์ตูนอังกฤษที่ชื่อ The Angry Beavers อีกด้วย
บีเวอร์นั้นมีความสำคัญในการพัฒนาประเทศแคนาดาเนื่องจากมันสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการค้าขนสัตว์ และมันยังถูกเพิ่มชื่อเป็นสัตว์แห่งชาติของประเทศแคนาดาในปี ค.ศ.1975และมันยังมีความสำคัญกับบริษัทในประเทศแคนาดาเช่นมันถูกนำมาทำสัญลักษณ์ใน บริษัทฮัดสัน เบย์ ใน ค.ศ.1678 อีกด้วย[69]
มันถูกนำไปใช้เป็นรูปในเหรียญ Nickel ซึ่งมีค่า 5 เซนต์ในประเทศแคนาดา และถูกใช้เป็นรูปแสตมป์รูปแรกที่พิมพ์ออกมาในอาณานิคมแคนาดาใน ค.ศ. 1849 (ซึ่งถูกเรียกว่า "Three-Penny Beaver")
บีเวอร์ยังถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญ ๆ ในมหากรรมกีฬาระดับโลกอีกด้วย โดยมันถูกใช้เป็นมาสคอตที่มีชื่อว่า Amik ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1976 ที่ถูกจักขึ้นในเมืองมอนทรีออลประเทศแคนาดา
บีเวอร์ยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานและหน่วยต่าง ๆ ภายในกองทัพของแคนาดา เช่นรูปบนหมวกของกองทัพ กรมทหารราบที่ 22 รักษาพระองค์,หน่วยรบ Calgary Highlanders[70], กรมทหารราบเวสต์มินสเตอร์รักษาพระองค์[71],กองพันทหารช่างแคนนาดา หรือรูปในกรมตำรวจเช่น หน่วยตำรวจโทรอนโต[72], หน่วยตำรวจลอนดอน[73], หน่วยตำรวจจราจรแคนาดา[74] รวมถึงสัญลักษณ์ของรถไฟสายแคนาเดียนแปซิฟิก[75] ซึ่งจะมีรูปบีเวอร์อยู่บนแขนเสื้อของชุดพนักงาน
และยังถูกใช้มาสคอสในองค์กร บริษัทเอกชน และสถานศึกษาต่าง ๆ เช่น
อีกทั้งยังใช้เป็นชื่อเล่นและตราสัญญาลักษณ์ของรัฐต่าง ๆ ในอเมริกาเหนือ เช่นชื่อเล่นของรัฐออริกอนเป็นต้น
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.