Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไมยราบ (อ่านว่า "ไม-ยะ-ราบ") ชื่อวิทยาศาสตร์: Mimosa pudica (มาจากภาษาละติน: pudica แปลว่า "อาย ชมดชม้อย เหนียมอาย หรือหดลง") ภาษาอังกฤษ: sensitive plant, sleepy plant หรือ the touch-me-not ก็เรียก เป็นพืชล้มลุก ต้นสีน้ำตาลแดง แผ่ไปตามพื้น ชูยอดขึ้นข้างบน ต้นมีหนามขนาดสั้น ใบประกอบ ดอกเป็นช่อกลมสีชมพู ก้านดอกยาว ฝักยาวเรียวแบน มีขนเหนียวติดมือ เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน
ไมยราบ | |
---|---|
ดอกและใบ | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ Caesalpinioideae |
เคลด: | Mimosoid clade Mimosoid clade |
สกุล: | Mimosa Mimosa L.[2] |
สปีชีส์: | Mimosa pudica |
ชื่อทวินาม | |
Mimosa pudica L.[2] | |
ไมยราบมักถูกปลูกขึ้นตามความอยากรู้อยากเห็นของผู้ปลูก โดยที่ใบประกอบสามารถพับเข้าหากันด้านใน หรือหุบได้ เมื่อถูกสัมผัส หรือเขย่า เพื่อป้องกันตนเองจากภัยคุกคามต่าง ๆ และจะบานออกอีกครั้งเมื่อผ่านไปราวหนึ่งนาที พืชในตระกูลใกล้เคียงกันและมีคุณสมบัติเช่นเดียวกันได้แก่ ผักกระเฉด
ในทางสมุนไพร ไมยราบมีรสจืดเฝื่อน มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ระดูขาว แก้ไตพิการ [3]ต้นแห้งต้มกับน้ำกินแก้อ่อนเพลีย ตานขโมย โรคกระเพาะอาหาร ใช้ทาแก้ผื่นคันและหัด ใบสดตำผสมกับเกลือและพิมเสน ใช้พอกแผลพุพอง รากแห้ง ต้มน้ำแก้ปวดประจำเดือน ปวดศีรษะ[4]
ไมยราบเป็นพืชที่มีลำต้นผอมเรียว แตกกิ่งก้านสาขามาก มีหนามตามลำต้นประปรายจนถึงหนาแน่น ลำต้นอาจยาวได้ถึง 1.5 เมตร (5 ฟุต) ลำต้นของไมยราบจะตั้งตรงเมื่อยังเล็ก แต่จะเริ่มเลื้อย และชอนไช ไปตามพื้นผิวต่าง ๆ โดยจะเกาะอยู่ตามที่ต่ำ ตามพื้น และเกาะอยู่อย่างหลวม ๆ ใบของต้นไมยราบเป็นใบประกอบขึ้นอยู่ตามต้น
ใบของต้นไมยราบเป็นใบประกอบคู่ โดยมีใบประกอบอยู่หนึ่งถึงสองชุด แต่ละชุดประกอบด้วยใบเดี่ยว 10–26 ใบ ก้านใบสามารถมีหนามขึ้นอยู่ได้เช่นเดียวกับลำต้น ไมยราบมีดอกเป็นดอกกลุ่มลักษณะเป็นช่อสีชมพูอ่อน หรือม่วงบนก้านช่อดอกที่งอกออกมาจากข้อระหว่างลำต้นและก้านใบในช่วงกลางฤดูร้อน จำนวนดอกจะขึ้นอยู่กับอายุของต้นพืช โดยที่ต้นแก่จะมีดอกมากกว่าต้นที่มีอายุน้อยกว่า ช่อดอกมีลักษณะกลมถึงวงรี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 8–10 มม. (ไม่รวมเกสรตัวผู้ที่ยื่นออกมา). กลีบดอกจริงมีสีแดง และก้านดอกจริงมีสีชมพูถึงม่วง เมื่อมองใกล้ ๆ ดอกอาศัยลมและแมลงในการผสมเกสร [5] มีผลเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยฝักเมล็ด 2–8 ฝัก แต่ละฝักยาว 1–2 ซม. มีเส้นใยงอกมาจากขอบฝักเป็นฝอย ๆ เมื่อถึงเวลาที่สมควร ฝักเมล็ดจะแยกออกเป็น 2–5 ส่วนซึ่งมีเมล็ดสีน้ำตาล บางเมล็ดยาว 2.5 มม. เมล็ดมีเปลือกหุ้มช่วยควบคุมการงอกเมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม [6]
ไมยราบเป็นที่รู้จักในด้านความสามารถพิเศษของมันในด้านการเคลื่อนไหวอย่างฉับพลันของพืช เช่นเดียวกับพืชอักหลากหลายสายพันธ์ มันได้รับความสามารถในการตอบสนองต่อแสงโดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะใบหรือ "หุบ" ใบ โดยสามารถหุบใบในตอนกลางคืน และบานในตอนกลางวัน[7] ความสามารถของพืชประเภทนี้ได้รับการศึกษาเป็นครั้งแรกโดย Jean-Jacques d'Ortous de Mairan.
นอกจากนี้ใบของไมยราบยังสามารถหุบเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าประเภทต่างๆ เช่น การสัมผัส การเป่า หรือการเขย่า การตอบสนองเช่นนี้ถูกเรียกว่า การเคลื่อนไหวเพื่อการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเคลื่อนไหวเกิดขึ้น เมื่อบริเวณใด บริเวณหนึ่งของเซลล์พืช สูญเสียแรงดันของเหลวซึ่งเป็นแรงที่ถูกกระทำลงบนผนังเซลล์โดยน้ำภายในแวคิวโอลของเซลล์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ของเซลล์ เมื่อต้นพืชถูกรบกวน บริเวณบางบริเวณบนก้านใบจะถูกกระตุ้นให้ปล่อยสารเคมี อาทิ โปแตสเซียม ไอออน ซึ่งนำน้ำออกจากแวคิวโอล และแพร่ออกมาจากเซลล์ในที่สุดซึ่งทำให้เซลล์สูญเสียความดันภายในเซลล์ไป และเซลล์ก็ยุบตัวลง ความแตกต่างของความดันในบริเวณที่แตกต่างกันของเซลล์เป็นผลให้ใบเดี่ยวแต่ละใบหุบเข้าหากัน และใบประกอบทั้งใบก็ยุบตัวลง ปฏิกิริยานี้สามารถส่งผ่านไปยังใบใกล้เคียงได้ คุณลักษณะนี้มีอยู่ทั่วไป สำหรับพืชในวงศ์ย่อยสีเสียด ในวงศ์ถั่ว ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าทำไมไมยราบจึงวิวัฒนาการคุณลักษณะเช่นนี้ขึ้นมา แต่นักวิทยาศาสตร์หลายท่านคิดว่าพืชสามารถใช้ความสามารถเช่นนี้เพื่อย่อส่วนลงเพื่อเป็นการป้องกันตนเองจากสัตว์กินพืช โดยสัตว์ต่าง ๆ อาจจะกลัวพืชที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว และจะเลือกกินพืชที่มีปฏิกิริยาตอบสนองน้อยกว่า คำอธิบายหนึ่งที่น่าจะเป็นไปได้คือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วสามารถขับไล่แมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ไปได้[ต้องการอ้างอิง]
Mimosa pudica เป็นชื่อทวินามที่ถูกบรรยายขึ้นเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2296 โดย คาโรลัส ลินเนียส โดยถูกตีพิมพ์ในหนังสือของเขาที่ชื่อ Species Plantarum[8] โดยชื่อเฉพาะ หรือชื่อทวินามของสปีชี่ส์นี้ Pudica ในภาษาละติน แปลว่า "เหนียมอาย" หรือ "หดตัว" ตามการตอบสนองด้วยการหดตัวของมันเมื่อถูกสัมผัส
สายพันธุ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปตามชื่อทั่วไปที่ไม่เป็นทางการหลากหลายชื่อ อาทิ sensitive plant, humble plant, shameful plant และ touch-me-not ในภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ยังรวมไปถึง chuimui ด้วย[2] สำหรับภาษาไทย เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "ไมยราบ"
ไมยราบมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และทวีปอเมริกากลาง และภายหลังถูกมนุษย์นำออกไปยังบริเวณต่าง ๆ ของโลก และมักถูกจัดว่าเป็นสายพันธุ์รุกราน อาทิเช่น แทนซาเนีย เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะต่างๆในมหาสมุทรแปซิฟิก[9] ไมยราบถูกจัดว่าเป็นสายพันธุ์รุกรานใน ออสเตรเลีย และถูกจัดว่าเป็นวัชพืชในดินแดนตอนเหนือ[10] และรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย แม้ว่าจะไม่ได้มีถิ่นกำเนิดที่นั่น[11] นอกจากนี้ไมยราบยังเป็นพืชควบคุมใน รัฐควีนส์แลนด์ อีกด้วย[12] ไมยราบถูกนำเข้าไปใน กาน่า ไนจีเรีย เซเชลส์, มอริเชียส เอเชียตะวันออก อีกด้วย แต่ไม่ถูกพิจราณาว่าเป็นสายพันธุ์รุกรานในพื้นที่เหล่านั้น [9] ใน สหรัฐอเมริกา, พืชชนิดนี้ขึ้นในรัฐฟลอริดา เกาะฮาวาย รัฐเวอร์จิเนีย เกาะของรัฐแมริแลนด์ เครือรัฐเปอร์โตริโก รัฐเท็กซัส และในเกาะของรัฐเวอร์จิเนีย[13]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.