Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไทยากิ (ญี่ปุ่น: 鯛焼き; โรมาจิ: Taiyaki "ปลาจานย่าง") คือขนมญี่ปุ่นชนิดหนึ่ง[3] เป็นเค้กรูปทรงปลาจาน ไส้มีรสหวาน โดยมากจะสอดไส้ถั่วแดงอาซูกิ บ้างก็สอดไส้คัสตาร์ด, ช็อกโกแลต, ชีส หรือมันฝรั่งหวาน ร้านค้าบางแห่งมักจะขายไทยากิร่วมกับโอโคโนมิยากิ, เกี๊ยวซ่า และไส้กรอก
มื้อ | ขนม |
---|---|
แหล่งกำเนิด | ประเทศญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออก |
ผู้สร้างสรรค์ | เซอิจิโร คัมเบะ[1][2] |
ส่วนผสมหลัก | แบตเทอร์, ถั่วอาซูกิ |
ไทยากิเกิดขึ้นครั้งแรกที่โตเกียวในยุคเมจิ โดยเซอิจิโร คัมเบะ ชาวโอซากะได้เปิดกิจการร้านนานิวะโซฮนเต็งขายขนมอิมางาวายากิ ซึ่งเป็นขนมเค้กสอดไส้ถั่วแดงรูปกลมในโตเกียวแต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงได้ออกแบบรูปทรงของขนมใหม่ ให้มีลักษณะเหมือนปลาไท (ภาษาไทยคือปลาจาน) อันเป็นสัญลักษณ์มงคลอย่างหนึ่ง จนเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา[1][2] โดยชื่อไทยากิมาจากคำว่า "ปลาจาน" (鯛 tai) กับ "ย่าง" (焼き yaki) แปลว่า "ปลาจานย่าง"[4] ปัจจุบันสามารถหารับประทานได้ทั่วประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามศูนย์อาหารและตามเทศกาลสำคัญ ๆ ของญี่ปุ่น
ในประเทศเกาหลีใต้มีขนมรูปลักษณ์เดียวกัน เรียกว่าพุงออ-ปัง (เกาหลี: 붕어빵 "ขนมปังปลาทอง") ซึ่งรับอิทธิพลจากญี่ปุ่นช่วงปี ค.ศ. 1930 ซึ่งขณะนั้นเกาหลีตกเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่น[5]
ไทยากิจะทำจากแป้งซึ่งทำจากแป้งสาลีและน้ำ[1] บางกรณีอาจใช้แป้งสำหรับทำแพนเค้กหรือแป้งวาฟเฟิลแทน เทลงในเบ้ารูปปลาทั้งสองด้าน แล้วสอดไส้ที่เตรียมไว้ลงด้านใดด้านหนึ่งของเบ้า โดยมากใช้ถั่วแดงกวนน้ำตาลที่เรียกว่าอังโกะ[3] แล้วปิดแม่พิมพ์ลงให้เบ้าทั้งสองด้านประกบกัน รอแป้งสุกให้มีสีออกน้ำตาลทอง[6] ขนมนี้มีลักษณะคล้ายกับขนมอิมางาวายากิและขนมโดรายากิ ซึ่งเป็นเค้กที่สอดไส้ถั่วอาซูกิเช่นกัน แต่มีรูปทรงเป็นเค้กกลมหนา ๆ แทน[1][4]
ส่วนเบ้าพิมพ์ของไทยากินั้นก็มีหลายขนาดและรูปร่าง เช่นเป็นรูปทรงกลม รูปธงปลาคาร์ป หรือรูปวาฬ บ้างก็มีพิมพ์แบบย่างทีละตัว บ้างก็พิมพ์ย่างทีละหลายตัว เป็นต้น[4]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.