โรงเรียนหอวัง
โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหอวัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2509 เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีประวัติการก่อกำเนิดโรงเรียนเกี่ยวเนื่องกับ "โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย"
โรงเรียนหอวัง Horwang School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 16/9 ซอยวิภาวดี 28 ถนนพหลโยธิน แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร | |
พิกัด | 13.818378°N 100.560910°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ห.ว. (HW) |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คำขวัญ | สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ (ผู้ฟังดีย่อมเกิดปัญญา) |
สถาปนา | 9 มกราคม พ.ศ. 2509 (58 ปี 300 วัน) |
หน่วยงานกำกับ | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
รหัส | 1010230001 |
ผู้อำนวยการ | ดร.มานัส เวียงวิเศษ |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | ม.1 - ม.6 |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาไทย ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาเกาหลี |
สี | |
เพลง | มาร์ชหอวัง |
อัตลักษณ์ | ลูกหอวัง เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครู เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม |
เว็บไซต์ | www.horwang.ac.th/ |
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าและตั้งมกุฎราชกุมารขึ้นมาแทน และทรงตั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้นมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาแห่งหนึ่ง ณ ทุ่งปทุมวัน ชื่อว่า "วังวินด์เซอร์" หรือเรียกกันโดยสามัญว่า "พระตำหนักหอวัง" เนื่องจากเป็นตึกมีหอสูง
หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ประชวรจนเสด็จสวรรคต ก็มิได้ใช้พระตำหนักหอวังในการประทับ หากแต่ใช้เป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459
โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 ภายหลังการก่อตั้ง แผนกฝึกหัดครูของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2472 เพื่อให้นิสิตแผนกฝึกหัดครู ใช้ฝึกความชำนาญในการสอน และได้ใช้อาคารวังวินด์เซอร์ เป็นอาคารเรียน เรียกว่า ตึกหอวัง[1]
เมื่อ พ.ศ. 2478 กรมพลศึกษาได้ทำสัญญาเช่าที่ดินตำบลวังใหม่จากมหาวิทยาลัย และรื้อตึกหอวัง เพื่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติ โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงย้ายไปอยู่ที่อาคารเรียนสร้างใหม่ ริมถนนพญาไท จนถึง พ.ศ. 2481 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ยุบโรงเรียนมัธยมหอวังฯ ลง และจัดตั้ง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาของชาติในระยะนั้น
เมื่อ พ.ศ. 2509 ศิษย์เก่าจากโรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รวมตัวกันก่อตั้ง สมาคมนักเรียนเก่ามัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขึ้น และมติในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมว่า ควรฟื้นฟูโรงเรียนขึ้นมาอีก ให้เป็นที่ชุมนุมของนักเรียนเก่า และได้พิจารณาสถานที่ตั้งของ โรงเรียนบางเขนวิทยา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2509
กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีประกาศเรื่อง เปลี่ยนชื่อ "โรงเรียนบางเขนวิทยา" เป็น "โรงเรียนหอวัง" ประกาศ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2511 ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 โรงเรียนหอวังผ่านการประเมินรอบที่ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาให้เป็น 1 ใน 8 โรงเรียนคุณภาพระดับพิเศษของกรุงเทพมหานครและ 1 ใน 16 โรงเรียนคุณภาพพิเศษของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2554
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง | ||
รายชื่อ | ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง | |
---|---|---|
1. นายดุสิต พูนพอน | พ.ศ. 2509 - 2521 | |
2. นายเจริญ วงศ์พันธ์ | พ.ศ. 2521 - 2523 | |
3. นางลออศรี ชุมวรชาติ | พ.ศ. 2523 - 2532 | |
4. นายสมพงศ์ ธรรมอุปกรณ์ | พ.ศ. 2532 - 2540 | |
5. นายณรงค์ รักเดช | พ.ศ. 2540 - 2542 | |
6. นายมนตรี แสนวิเศษ | พ.ศ. 2542 - 2545 | |
7. นางพิศวาส ยุติธรรมดำรง | พ.ศ. 2545 - 2549 | |
8. นางสาวสุกัญญา สันติพัฒนาชัย | พ.ศ. 2549 - 2550 | |
9. นายปลองยุทธ อินทพันธ์ุ | พ.ศ. 2550 - 2554 | |
10. นายพชรพงศ์ ตรีเทพา | พ.ศ. 2554 - 2555 | |
11. นายธงชาติ วงษ์สวรรค์ | พ.ศ. 2555 - 2556 | |
12. นายสวัสดิ์ เพชรบูรณ์ | พ.ศ. 2556 - 2561 | |
13. นายเลิศศิลป์ รัตนมุสิก | พ.ศ. 2561 - 2562 | |
14. นายธรรมรงค์ เสนจันทร์ | พ.ศ. 2562 - 2563 | |
15. นายประวัติ สุทธิประภา | พ.ศ. 2563 - 2567 | |
16. นายมานัส เวียงวิเศษ | พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.