โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
โรงเรียนวิทยาศาสตร์ในจังหวัดชลบุรี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวิทยาศาสตร์ในจังหวัดชลบุรี จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี (อังกฤษ: Princess Chulabhorn Science High School Chonburi) เป็นโรงเรียนสหศึกษาให้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี Princess Chulabhorn Science High School Chonburi | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 695 หมู่ 3 ถนนบ้านบึง-แกลง ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | จภ. ชลบุรี PCCCHON , PCSHS Chonburi |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | ปญฺญา ยตฺถํ วิปสฺสติ : คนย่อมเห็นเนื้อความด้วยปัญญา |
สถาปนา | 19 มีนาคม พ.ศ. 2539 (28 ปี 238 วัน) |
ผู้ก่อตั้ง | สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี |
หน่วยงานกำกับ | กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1020080319 |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ |
วิทยาเขต | ชลบุรี |
สี | สีน้ำเงิน-สีแสด |
เพลง | มาร์ชจุฬาภรณราชวิทยาลัย |
ต้นไม้ | แคแสด |
เว็บไซต์ | www |
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี เป็น 1 ใน 12 โรงเรียนที่กรมสามัญศึกษาจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี (พระอิสริยยศในขณะนั้น) ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงมีต่องานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม สนองตามพระราชประสงค์ ที่ทรงมุ่งมั่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านความเป็นอยู่ และการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะในท้องถิ่นห่างไกล โดยให้โอกาสแก่เยาวชนที่มีความสนใจและมีความสามารถด้านนี้ตั้งแต่เยาว์วัย โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งดังนี้
โดย ฯพณฯ สุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น มีประกาศจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2539 บนที่ดินขนาด 110 ไร่ 2 ตารางวา ที่ได้รับบริจาคจากประโยชน์ เนื่องจำนงค์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี และรำแพน เนื่องจำนงค์ ภรรยา เริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2541
ในปี พ.ศ. 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนละ 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน โดยมีโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนต้นแบบ และพัฒนาบุคลากร รวมทั้งควบคุมการใช้หลักสูตรตามมาตรฐานของหลักสูตร และในปี พ.ศ. 2552 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาแห่งว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์ได้มาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จึงประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค
ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ ข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำเนินการพัฒนากลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ซึ่งมีกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยเน้นการให้โอกาสกับผู้มีความสามารถพิเศษที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในภูมิภาค โดยมีการพัฒนา ปรับปรุง ส่งเสริม ให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง มีมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ โดยแบ่งเป็นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นละ 4 ห้องเรียน และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้นละ 6 ห้องเรียน แต่ละห้องมีนักเรียน 24 คน รวมนักเรียนทั้งหมด 720 คน เริ่มมีการรับนักเรียนเข้าเรียนในหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2554[1]
ตราประจำโรงเรียนโรงเรียนวิทยาศษสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โดยประกอบด้วย อักษร จ และ ภ อยู่ภายใต้พระมหามงกุฏ โดยตัวอักษร จภ มาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ด้านล่างมีแพรแถบมีข้อความว่า จุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
แคแสด Spathodea campanulata P.Beauv. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ใบเป็น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาวประมาณ 30-45 ซม. ใบย่อยมี 4-9 คู่ รูปรีถึงรูปไข่ ขอบใบเป็นริ้วเล็กน้อย ปลายใบแหลมและมักจะงุ้มลง มีขนเล็กน้อย มีขนาดยาว 5-12 ซม. กว้าง 2-5 ซม. ดอกเป็น ช่อตั้ง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีจำนวนมาก โคนกลีบดอกติดกัน ปลายแผ่เป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ กลีบดอกยับย่น สีส้มแสดถึงสีแดงแสด ดอกทยอยบาน ร่วงง่าย ออกดอกราวเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์ ผลแบน คล้ายฝัก ปลายแหลม ผลแก่สีน้ำตาลดำ ผลแก่จะแตกเป็นด้านเดียวเมล็ดเล็กแบนมีปีก ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด จะเริ่มให้ดอกเมื่อมีอายุประมาณ 4 - 8 ปี
สีน้ำเงิน-แสด
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.