โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ (อังกฤษ: Bunluea Wittayanusorn School) โรงเรียนนี้เปิดขึ้นตามดำริของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่เดือดร้อนและขาดแคลนสถานที่เรียน โดยเฉพาะในปีการศึกษา 2521 ได้สำรวจผู้ที่สมัครเข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษาของรัฐบาลที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองนครราชสีมา ปรากฏว่านักเรียนยังขาดที่เรียนอีกจำนวนมาก ดังนั้นจังหวัดจึงได้ขออนุมัติเปิดโรงเรียนขึ้นใหม่อีกแห่งหนึ่ง โดยมีฐานะเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งที่ 4 ของจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2521 เรียกชื่อว่า โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ อักษรย่อโรงเรียนว่า “บ.ว.ส.”[2]
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ วรุฒ หิ่มสาใจ (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 24 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ | |
---|---|
Bunluea Wittayanusorn School | |
ที่ตั้ง | |
เลขที่ 244 หมู่ 10 ถนนสุรนารายณ์ ตำบลโคกสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา , , 30000 ประเทศไทย | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | บ.ว.ส., BWIT |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ |
คติพจน์ | เรียนดี มีวินัย ใจเป็นธรรม |
สถาปนา | 1978 |
ผู้อำนวยการ | นายรังสรรค์ สู้สนาม |
จำนวนนักเรียน | 2,393 คน 2567[1] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี |
พื้นที่ | 42 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา |
สี | แสด-น้ำเงิน |
เพลง | มาร์ชโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ |
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา สพฐ. |
ศิษย์เก่า | ลูกแม่บุญเหลือ, Bunluea Warrior |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แนวคิดริเริ่ม
เหตุที่โรงเรียนใช้ชื่อว่า “บุญเหลือวิทยานุสรณ์” นั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงนางสาวบุญเหลือวีรสตรีผู้สละชีพเพื่อปกป้องจังหวัดนครราชสีมา ให้รอดพ้นจากอริราชศัตรู ครั้งวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ นับเป็นวีรกรรมอันใหญ่หลวงของนางสาวบุญเหลือ ในสมัยของท่านท้าวสุรนารี และวีรกรรมนี้สมควรจะมีอนุสรณ์จารึกอยู่ในความทรงจำของชาวนครราชสีมาตลอดไป โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ตั้งอยู่ในท้องที่ต าบลโคกสูง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ติดกับถนนสุรนารายณ์ ระยะห่างจากตัวจังหวัดนครราชสีมา 13 กิโลเมตร สถานที่แห่งนี้เดิมเรียกว่า “บึงหนองบัว” หรือ “หัวหนองบัว” มีเนื้อที่ 42 ไร่ 1งาน 70 ตารางวา
โรงเรียนในช่วงแรก
ในระยะที่กำลังก่อสร้างอาคารเรียนถาวรนี้ ได้ขอใช้สถานที่ของวัดช่องอู่ ตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนคราชสีมา เป็นที่เรียนชั่วคราว ทางวัดได้อนุญาตให้ใช้อาคารศาลาปริยัติธรรม ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียวใต้ถุนสูงเป็นที่เรียนชั่วคราว นอกจากนี้ประชาชนได้ร่วมบริจาคสร้างอาคารชั่วคราวแบบพิเศษจำนวน 8 ห้องเรียน เป็นเงิน 80,000 บาท (แปดหมื่นบาท) และได้บริจาควัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อประโยชน์ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน และจะใช้เป็นที่เรียนชั่วคราวนี้จนกว่าอาคารถาวรแล้วเสร็จ จึงจะย้ายไปในสถานที่ของโรงเรียนต่อไป สำหรับในปีการศึกษา 2521 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้จัดชั้นเรียนเป็น ม.1 และ ม.ศ.1 โดยกำหนดแผนจัดชั้นเรียนแบบ 6-0-0, 6-0-0 รับนักเรียนทั้งสิ้น 12 ห้องเรียน จำนวนทั้งสิ้น 540 คน โรงเรียนเปิดดำเนินการสอนตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2521 ทางจังหวัดได้มีคำสั่งที่ 890/2521 แต่งตั้งให้นายสมพร ปานะชาติ รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 และรับผิดชอบในการดำเนินงานของโรงเรียนตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นต้นมา
อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ
อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ตำบลโคกสูง อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา 12.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 หรือ ถนนสุรนารายณ์ สายนครราชสีมา - ชัยภูมิ ชาวนครราชสีมาได้ร่วมสร้างขึ้น และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือ และเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา ที่ได้พลีชีพเพื่อปกป้องชาติ เมื่อครั้งวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ ในปีพ.ศ. 2369 นับเป็นอนุสรณ์สถานอีกแห่งหนึ่ง ที่ชาวนครราชสีมา ให้ความเคารพสักการะเป็นอย่างสูง
จังหวัดนครราชสีมา และประชาชนชาวนครราชสีมาพร้อมใจกันสร้าง และทำพิธีเปิดอนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ ขึ้นที่โรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ เมื่อ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 โดย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เป็นประธาน และได้มีการกำหนด ให้ทุกวันที่ 4 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสดุดี วีรกรรมของนางสาวบุญเหลือ โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ได้ร่วมกันสดุดี พร้อมทั้งเปลี่ยนผ้าตะเบงมาน ตามสีแห่งปี มอบพวงมาลัย และวางพวงมาลา ณ อนุสรณ์สถานนางสาวบุญเหลือ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.