Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า (อักษรโรมัน : Phra Chom Klao Hospital) เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดเพชรบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนรถไฟ ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี มีขนาดความจุเตียงไข้ใน 442 เตียง
โรงพยาบาลพระจอมเกล้า | |
---|---|
Phra Chom Klao Hospital | |
ประเภท | โรงพยาบาลทั่วไป |
ที่ตั้ง | ถนนรถไฟ ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2491 |
สังกัด | กระทรวงสาธารณสุข |
ผู้อำนวยการ | นายแพทย์พิเชษฐ พัวพันกิจเจริญ |
จำนวนเตียง | 442 เตียง[1] |
เว็บไซต์ | www.phrachomklao.go.th |
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงโปรดประพาสเมืองเพชร พระองค์ได้ทรงสร้างพระราชวังเพื่อใช้เป็นที่ประทับเพื่อเสด็จมาเมืองเพชรใช้ชื่อว่า ”พระราชวังพระนครคีรี” ซึ่งถือเป็นพระราชวังที่สร้างบนภูเขาแห่งแรกของประเทศไทย และใน พ.ศ. 2404 พระองค์ได้ทรงโปรดให้คณะมิชชันนารีนิกายโปรเตสเต้นส์ เข้ามาเผยแพร่ศาสนา ก่อตั้งโรงเรียนและทำการรักษาผู้เจ็บป่วยด้วยวิธีการแพทย์แผนปัจจุบัน นายแพทย์ซามูเอ เรโนลด์เฮ้าส์ เป็นแพทย์จากคณะมิชชันนารีคนแรกที่มาตั้งสำนักงานมิชชันนารี และทำการรักษาผู้ป่วยในจังหวัดเพชรบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2423 จังหวัดเพชรบุรีก็ได้มีโรงพยาบาลที่ทำการรักษาแบบแผนปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงพยาบาลมิชชันนารีแห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณวัดไชยสุรินทร์(วัดน้อย) ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี โดยมีนายแพทย์ อี.เอ สาติรช เป็นผู้ดูแลคณะแพทย์มิชชันนารี จำนวน 11 คน ที่ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติงาน กิจการของโรงพยาบาลมิชชันนารีแห่งนี้ได้เปิดดำเนินการกระทั่งปี 2477 ก็ได้ปิดกิจการลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
พ.ศ. 2472 สถานีเอื้อนอนามัยของสภากาชาดสยาม(เอื้อนอนามัย) ได้ก่อจั้งขึ้นด้วยเงินกองมรดกของเจ้าจอมเอื้อนในพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) (ซึ่งเป็นบุตรีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์(เทศ บุนนาค) เจ้าเมืองเพชร ใน พ.ศ. 2401-2437) และเงินสมทบจากการแสดงละครการกุศลของข้าราชการในสมัยนั้น ปัจจุบันสถานีเอื้อนอนามัยหรือสถานีกาชาดที่ 8 ก็ยังเปิดดำเนินการอยู่ พ.ศ. 2478 ก็ได้มีการสร้างสุขศาลาก้านเกตุมณี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองเพชรบุรี ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองเพชรบุรี
โรงพยาบาลเพชรบุรี ได้ก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2491 โดยการนำของพระสมัครสโมสร(เสงี่ยม สมัครสโมสร) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับคณะกรรมการจังหวัดได้ร่วมมือกันจัดตั้งองค์กรการกุศล ชักชวนข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ตลอดจนประชาชน ได้ร่วมบริจาคเงิน เพื่อนำไปสมทบกับงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยพระบำราศโรคาพาฬห์ (สาธารณสุขจังหวัด ในขณะนั้น) สร้างบนที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ริมทางรถไฟสายใต้ ใกล้สถานีรถไฟเพชรบุรี และเขาพนมขวด ในอดีตชาวบ้านบางคนอาจเรียก โรงพยาบาลเขาพนมขวดและร่วมเป็นคณะกรรมการควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2492 โรงพยาบาลเพชรบุรี เป็นส่วนราชการภูมิภาคในสังกัดของกรมการแพทย์
โรงพยาบาลเพชรบุรี ในปี พ.ศ. 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นชื่อโรงพยาบาลว่า "โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี" (Phra Chom Klao Hospital, Phetchaburi Province ) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2532 [2] เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานลำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงประกอบกิจคุณูประการ อันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรีเป็นอย่างยิ่ง
วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2563 นายแพทย์ ชุมพล เดชะอำไพ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนเสียชีวิตในการนี้ได้พระราชทานโกศพระราชทานเพลิงศพ[3]
รายนามผู้บริหารโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | การศึกษา | ชื่อตำแหน่งบริหาร | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
1. | นายแพทย์สมประสงค์ วีระไวทยะ | แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลเพชรบุรี | พ.ศ. 2494 – พ.ศ. 2497 | ||
2. | นายแพทย์ ม.ร.ว. ไพฑูรย์ สุทัศนีย์ | แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลเพชรบุรี | พ.ศ. 2497 – พ.ศ. 2500 | ||
3. | นายแพทย์วุฒธิ โพธิสุนทร | แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลเพชรบุรี | พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2503 | ||
4 | นายแพทย์มนู สาริกะภูติ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบุรี | พ.ศ. 2503 – พ.ศ. 2517 | ||
5 | นายแพทย์บำเพ็ญ กำเนิดศิริ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเพชรบุรี | พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2532 | ||
6. | นายแพทย์ธีระ พิทักษ์ประเวช | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2532 – พ.ศ. 2534 | ||
7. | นายแพทย์ถาวร ลอประยูร | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2538 | ||
8. | นายแพทย์วิชิต บุญยวรรธนะ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2539 | ||
9. | นายแพทย์สวัสดิ์ เถกิงเดช | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2540 | ||
10. | นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2551 | ||
11. | นายแพทย์จินดา แอกทอง | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2551 – พ.ศ.2552 | ||
12. | นายแพทย์พูลสวัสดิ์ สมบูรณ์ปัญญา | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2556 | ||
13. | นายแพทย์สาธิต รัตนศรีทอง | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2560 | ||
14. | นายแพทย์ชุมพล เดชะอำไพ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2563 | ||
15. | นายแพทย์เกรียงศักดิ์ คำอิ่ม | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2564 – พ.ศ. 2564 | ||
16. | นายแพทย์พิเชษฐ พัวพันกิจเจริญ | พ.บ. (แพทยศาสตร์) | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี | พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน | |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.