Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โบตั๋นมีชื่อในภาษาไทยว่า "นางพญานิรมล" เป็นไม้ดอกสกุล Paeonia ซึ่งเป็นสกุลเดียว ในวงศ์ Paeoniaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชีย, ตอนใต้ของทวีปยุโรป และตะวันตกของอเมริกาเหนือ ในอดีต โบตั๋นมักถูกจัดอยู่ในวงศ์ Ranunculaceae
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
โบตั๋น | |
---|---|
P. suffruticosa | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Saxifragales |
วงศ์: | Paeoniaceae Raf.[1] |
สกุล: | Paeonia L. |
ชนิด | |
|
พืชสกุลโบตั๋นส่วนใหญ่เป็นไม้ล้มลุกหลายปี สูงประมาณ 0.5–1.5 เมตร บางชนิดเป็นพุ่ม ลำต้นมีเนื้อไม้ สูง 1.5-3 เมตร ลักษณะของใบเป็นใบประกอบ มีแฉกลึก ดอกใหญ่ และมักมีกลิ่นหอม มีหลายสี ตั้งแต่ แดง บานเย็น เหลือง จนถึงขาว มักออกดอกในช่วงต้นฤดูร้อน
ชื่อ "โบตั๋น" ในภาษาไทย มาจากชื่อดอกไม้นี้ในภาษาฮกเกี้ยน "บ๊อตั๊น" (จีน: 牡丹; เป่อ่วยยี: bó͘-tan) แต่บางคนก็ว่า มาจากชื่อในภาษาจีนกลางว่า "หมู่ตัน" (พินอิน: mǔ dān)[2]
โบตั๋นนั้น ในภาษาอังกฤษเรียกว่า peony โดยมีตำนานเล่าว่า ตั้งตามชื่อของไพอัน (Paean) ศิษย์คนหนึ่งของเอสเคลปิอัส เทพเจ้าแห่งการแพทย์ของกรีกโบราณ ต่อมาเอสเคลปิอัสอิจฉาลูกศิษย์ของตน เทพเซอุสช่วยไพอันให้พ้นภัยโดยสาปให้กลายร่างเป็นดอกโบตั๋น [3]
ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ที่นิยมใช้ในงานศิลปะมายาวนาน และหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติของจีน โดยถือเป็นดอกไม้แห่งจักรพรรดิและความร่ำรวย กับนิยมใช้ในเชิงสัญลักษณ์ในศิลปะจีนอีกด้วย [4] เมื่อ ค.ศ.1903 ราชวงศ์ชิงประกาศให้โบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติ ปัจจุบันนี้ไต้หวันใช้ดอกเหมยเป็นดอกไม้ประจำชาติ ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนไม่ได้ใช้เป็นดอกไม้ประจำชาติตามกฎหมายอีกแล้ว และต่อมาเมื่อปี 1994 มีการเสนอให้ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำชาติอีก โดยการทำประชามติ แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับ กระทั่ง ค.ศ. 2003 มีการเสนอดังกล่าวอีกครึ่งหนึ่ง และยังไม่มีการเลือกใช้ดอกโบตั๋นอีกเช่นกัน
เมืองลั่วหยาง เมืองหลวงเก่าที่มีชื่อเสียงของจีน มีชื่อเสียงในฐานะศูนย์กลางการปลูกดอกโบตั๋นที่สำคัญแห่งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์จีน มักจะยกย่องโบตั๋นจากลั่วหยางว่างดงามที่สุดในแผ่นดิน ปัจจุบันยังมีการจัดนิทรรศการและการแสดงดอกโบตั๋นในเมืองนี้ปีละนับสิบๆ ครั้ง
ในประเทศญี่ปุ่น ดอกโบตั๋นชนิด Paeonia lactiflora เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ebisugusuri (แปลว่า ยาจากต่างแดน) ตามตำรับยาของญี่ปุ่น ถือว่ารากโบตั๋นใช้รักษาอาการชักได้ นอกจากนี้ยังปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ โบตั๋นชนิด Paeonia suffruticosa ในญี่ปุ่น ถือว่าเป็น เจ้าแห่งบุปผา และชนิด Paeonia lactiflora ถือว่า เป็น อัครเสนาบดีแห่งบุปผา"[5]
ภาษาญี่ปุ่นเรียกโบตั๋นว่า โบตัน (牡丹) ก่อนสมัยเมจิ เนื้อจากสัตว์สี่เท้าไม่นิยมบริโภคมากนัก เนื่องจากชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา เมื่อเอ่ยถึงเนื้อสัตว์จึงเลี่ยงมาใช้ชื่อดอกไม้แทน คำว่า โบตัน ถูกใช้เรียกเนื้อหมูป่า มาตั้งแต่ครั้งนั้นจนปัจจุบัน ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหมูป่าเมื่อแล่เป็นชิ้นบางๆ จะคล้ายกับดอกโบตั๋นนั่นเอง ในทำนองเดียวกัน ชาวญี่ปุ่นใช้ดอกซากุระแทนคำเรียกเนื้อม้า
ในรัฐอินเดียนา ของสหรัฐอเมริกา ใช้ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ. 1957 โดยใช้แทนดอก zinnia ที่เคยใช้เป็นดอกไม้ประจำรัฐมาตั้งแต่ ค.ศ.1931
โบตั๋นนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ เพราะมีดอกสวยงามและใหญ่มาก ทั้งยังมีกลิ่นหอมด้วย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.