โกณารักสูรยมนเทียร
เทวสถานที่มีชื่อเสียงของอินเดีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทวสถานที่มีชื่อเสียงของอินเดีย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โกณารักสุรยมนเทียร (โอเดีย: କୋଣାର୍କ ସୂର୍ଯ୍ୟ ମନ୍ଦିର; Konark Surya Mandir) หรือ เทวสถานพระอาทิตย์โกณารัก (Konark Sun Temple) เป็นมนเทียรบูชาพระสูรยะ สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตั้งอยู่ที่เมืองโกณารัก ราว 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) ทางนะวันออกเฉียงเหนือของปุรี บนชายฝั่งของรัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย[1][2] ผู้มีดำรัสสร้างคือพระเจ้านรสิงหเทวะที่หนึ่งแห่งจักรวรรดิคงคาตะวันออก ในราวปี 1250[3][4]
โกณารักสูรยมนเทียร | |
---|---|
สูรยเทวาลัย / อารักเกษตร | |
อาคารหลักของสูรยมนเทียร | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาฮินดู |
เขต | อำเภอปุรี |
เทพ | พระสูรยะ |
เทศกาล | จันทรภาคเมลา |
หน่วยงานกำกับดูแล | ASI |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | โกณารัก |
รัฐ | รัฐโอฑิศา |
ประเทศ | อินเดีย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 19°53′15″N 86°5′41″E |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบ | กลึงคะ |
ผู้สร้าง | พระเจ้านรสิงหเทวะที่หนึ่ง |
เสร็จสมบูรณ์ | c. 1250 |
พื้นที่ทั้งหมด | 10.62 ha (26.2 เอเคอร์) |
เว็บไซต์ | |
konark | |
ที่ตั้ง | โกณารัก, รัฐโอฑิศา, ประเทศอินเดีย |
เกณฑ์พิจารณา | วัฒนธรรม: (i)(iii)(vi) |
อ้างอิง | 246 |
ขึ้นทะเบียน | 1984 (สมัยที่ 8th) |
หนึ่งลงในสิ่งก่อสร้างที่ยังคงเหลือในหมู่อาคารคือสูรยรถ (ราชรถพระสูรยะ) ความสูง 100-ฟุต (30-เมตร) ที่ซึ่งมีล้อและม้าสลักจากหินขนาดใหญ่ ที่ซึ่งในอดีตเคยมีความสูงถึง 200 ฟุต (61 เมตร)[1][5] ปัจจุบันส่วนใหญ่ของหมู่อาคารเหลือเพียงซากปรักหักพัง โดยเฉพาะศิขรเหนือมนเทียรหลัก ที่ซึ่งในอดีตเคยสูงกว่ามณฑปที่เหลืออยู่ สิ่งก่อสร้างและองค์ประกอบที่เหลืออยู่แสดงให้เห็นถึงงานศิลปะ ประติมานวิทยา และการแกะสลักที่วิจิตรตระการตา เช่นฉากที่แสดง กามะ และ มิถุน ในรูปอีโรติก อีกชื่อหนึ่งของมนเทียรนี้คือ สูรยเทวาลัย สถาปัตยกรรมของสูรยเทวาลัยนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของแบบโอฑิศา ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมกลึงคะ[1][6]
สิ่งที่ทำให้สูรยเทวาลัยถูกทำลายจนเหลือเพียงทุกวันนี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์และยังคงเป็นที่ถกเถียง[7] มีผู้เสนอแนวคิดตั้งแต่ผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติไปจนถึงการทำลายของกองทัพมุสลิมในศตวรรษที่ 15 ถึง 17[1][7] นักเดินทางชาวยุโรปได้เรียกเทวาลัยนี้ว่า "เจดีย์ดำ" (Black Pagoda) มีหลักฐานเก่าแก่ถึงปี 1676 ด้วยหอหลักเป็นสีดำ[6][8] ควบคู่ไปกับชคันนาถเทวาลัยที่ปุรีซึ่งถูกเรียกว่า "เจดีย์ขาว" (White Pagoda) เจดีย์ทั้งสองนี้เป็นจุดสังเกตสำคัญของผู้ล่องเรือมาตามอ่าวเบงกอล[9][10]
หมู่เทวาลัยที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นได้รับการบูรณะบางส่วนโดยนักโบราณคดีชาวบริเตนในยุคอาณานิคม ในปี 1984 สูรยเทวาลัยโกณารักได้รับการยกย่องเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก[1][2] ในปัจจุบันที่นี่ยังคงเป็นแหล่งจาริกแสวงบุญสำคัญของชาวฮินดูและเป็นหนึ่งในจุดหมายของเส้นทางจาริกที่มีขึ้นทุก ๆ ปีที่เรียกว่า จันทรภาคเมลา ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์[6]
คำว่า โกณารัก (Konark) มาจากการรวมคำภาษาสันสกฤตสองคำคือ โกณ (Kona; มุม/เทวดา) และ อารก (Arka; พระอาทิตย์)[9] ความหมายของ โกณ ในที่นี้นั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อาจสื่อถึงตำแหน่งที่เป็นตะวันออกเฉียงใต้ของมนเทียรหรืออาจของสูรยมนเทียรอื่น ๆ ในอนุทวีป[11] ส่วนคำว่า อรกะ หมายถึงเทพเจ้าแห่งพระอาทิตย์ของฮินดู พระสูรยะ[9]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.