แก่งคอย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสระบุรี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่มากที่สุดในจังหวัด เป็นเมืองแห่งชุมทางรถไฟ เป็นทางแยกเชื่อมต่อรถไฟสายอีสานเหนือและสายอีสานใต้ โดยสายอีสานใต้จะตัดผ่านไปยังจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ ปลายทางจังหวัดอุบลราชธานี และสายอีสานเหนือจะวกออกไปยังลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ข้ามเทือกเขาไปทางตะวันตกของจังหวัดนครราชสีมา เข้าจังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี ปลายทางจังหวัดหนองคาย อีกทั้งยังเป็นเส้นทางที่จะแยกออกไปยังทางรถไฟสายตะวันออกลงไปถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา

ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอแก่งคอย, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอแก่งคอย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
  อักษรโรมันAmphoe Kaeng Khoi
Thumb
คำขวัญ: 
ถิ่นหลวงพ่อลาคู่เมือง รุ่งเรืองอุตสาหกรรม แก่งงามล้ำลำน้ำป่าสัก พระตำหนักวังสีทา รำลึก ร.๕ ผาเสด็จ เขตป่าเขางาม นามเมืองแก่งคอย
Thumb
แผนที่จังหวัดสระบุรี เน้นอำเภอแก่งคอย
พิกัด: 14°35′12″N 100°59′54″E
ประเทศ ไทย
จังหวัดสระบุรี
พื้นที่
  ทั้งหมด801.1 ตร.กม. (309.3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
  ทั้งหมด101,364 คน
  ความหนาแน่น126.53 คน/ตร.กม. (327.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 18110, 18260 (เฉพาะตำบลทับกวาง)
รหัสภูมิศาสตร์1902
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอแก่งคอย ถนนพระพายัพ ตำบลแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 18110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ปิด

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอแก่งคอย มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

Thumb
พื้นที่ป่าไม้ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในอำเภอแก่งคอย

อำเภอแก่งคอย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2370 ในขณะนั้น ยังใช้ชื่อเรียกหน่วยงานการปกครองระดับอำเภอว่า "แขวง" อยู่โดยมีหลวงพลกรมการเป็น ผู้ปกครองแขวงคนแรก และมีที่ทำการแขวงอยู่ที่บ้านตาลเดี่ยวในปี พ.ศ. 2440 (ร.ศ. 116) ได้มีการใช้พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ คือจัดตั้งอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านขึ้น ที่ทำงานของรัฐบาลในอำเภอเรียกว่า "ที่ว่าการอำเภอ" ซึ่งมีผลทำให้แก่งคอยจัดตั้งขึ้นเป็น อำเภอแก่งคอย ในปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ. 117)

ชื่อ "แก่งคอย" มาจากบริเวณลำน้ำป่าสักบริเวณด้านหน้าวัดเป็นแก่งหินใหญ่ขวางลำน้ำ แม่น้ำป่าสักเป็นเส้นทางสัญจรค้าขายจากเพชรบูรณ์ ชัยบาดาล แก่งคอย สระบุรี เสาไห้ พระนครศรีอยุธยา มาตั้งแต่ในอดีต ในหน้าแล้งน้ำน้อยแก่งหินที่ขวางทำให้เรือสัญจรไม่สะดวกจะต้องจอดคอยที่บริเวณเหนือแก่ง เป็นที่มาการเรียกแม่น้ำป่าสักช่วงนี้ว่า "แก่งคอย" ภายหลังเมื่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ในพระราชดำริ มีการควบคุมระดับน้ำทำให้ในหน้าแล้งก็ยังมีระดับน้ำท่วมบริเวณแก่งหินอยู่

บางตำนานเชื่อกันว่า แก่งคอยเดิมมีชื่อว่า "แร้งคอย" เนื่องจากเป็นปากทางเข้าสู่เขาใหญ่ มีผู้คนจำนวนมากล้มตายจากไข้ป่าจนมีนกแร้งมาเฝ้าคอยเพื่อกินศพเป็นจำนวนมาก เป็นอำเภอที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานเซรามิก เคมีภัณฑ์ เป็นต้น[1] และยังเป็นชุมทางรถไฟที่สำคัญ ประกอบกับมีถนนมิตรภาพตัดผ่าน ทำให้มีโรงงานจำนวนมากและมีประชากรแฝงเข้ามาทำงานจำนวนมาก

  • วันที่ 25 กันยายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลบ้านลาว อำเภอแก่งคอย เป็น ตำบลทับกวาง และเปลี่ยนชื่อตำบลหลุบเลา อำเภอแก่งคอย เป็น ตำบลตาลเดี่ยว[2]
  • วันที่ 14 ตุลาคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่อำเภอชัยบาดาล นอกจากตำบลคำพราน จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับจังหวัดลพบุรี และท้องที่ตำบลคำพราน ให้มาขึ้นกับอำเภอแก่งคอย[3]
  • วันที่ 26 ธันวาคม 2487 จัดตั้งเทศบาลตำบลแก่งคอย ในท้องที่บางส่วนของตำบลแก่งคอย[4]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลตาลเดี่ยว แยกออกจากตำบลแก่งคอย และตั้งตำบลท่าตูม แยกออกจากตำบลบ้านธาตุ[5]
  • วันที่ 3 สิงหาคม 2491 โอนพื้นที่หมู่ 1 (ในขณะนั้น) ของตำบลแก่งคอย ไปตั้งเป็นหมู่ 9 ของตำบลบ้านป่า และโอนพื้นที่หมู่ 2,3,4,5 (ในขณะนั้น) ของตำบลแก่งคอย ไปตั้งเป็นหมู่ 8,7,9,10 ของตำบลตาลเดี่ยว ตามลำดับ[6]
  • วันที่ 4 กรกฎาคม 2504 ตั้งตำบลหนองบัว แยกออกจากตำบลคำพราน และตำบลหินซ้อน[7][8][9]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2505 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[10] เพื่อนำไปจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอพัฒนานิคม[11] ขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี
  • วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลมวกเหล็ก ในท้องที่บางส่วนของตำบลมวกเหล็ก[12]
  • วันที่ 23 พฤษภาคม 2510 ตั้งตำบลแสลงพัน แยกออกจากตำบลหินซ้อน[13]
  • วันที่ 31 ธันวาคม 2511 แยกพื้นที่ตำบลมวกเหล็ก ตำบลคำพราน และตำบลแสลงพัน อำเภอแก่งคอย มาตั้งเป็น อำเภอมวกเหล็ก[14] โดยไม่ผ่านการตั้งเป็นกิ่งอำเภอ
  • วันที่ 3 ตุลาคม 2512 จัดตั้งนิคมสร้างตนเอง ในท้องที่ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย[15]
  • วันที่ 26 ตุลาคม 2514 ตั้งตำบลชะอม แยกออกจากตำบลชำผักแพว[16]
  • วันที่ 4 เมษายน 2515 จัดตั้งสุขาภิบาลทับกวาง ในท้องที่ทั้งหมดของตำบลทับกวาง[17]
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2531 ตั้งตำบลท่ามะปราง แยกออกจากตำบลชำผักแพว[18]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลทับกวาง เป็นเทศบาลตำบลทับกวาง[19] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลแก่งคอย เป็นเทศบาลเมืองแก่งคอย
  • วันที่ 20 สิงหาคม 2555 ยกฐานะจากเทศบาลตำบลทับกวาง เป็นเทศบาลเมืองทับกวาง

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอแก่งคอยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 14 ตำบล 117 หมู่บ้าน

1.แก่งคอย(Kaeng Khoi)-8.บ้านป่า(Ban Pa)11 หมู่บ้าน
2.ทับกวาง(Thap Kwang)10 หมู่บ้าน9.ท่าตูม(Tha Tum)4 หมู่บ้าน
3.ตาลเดี่ยว(Tan Diao)11 หมู่บ้าน10.ชะอม(Cha-om)11 หมู่บ้าน
4.ห้วยแห้ง(Huai Haeng)12 หมู่บ้าน11.สองคอน(Song Khon)11 หมู่บ้าน
5.ท่าคล้อ(Tha Khlo)11 หมู่บ้าน12.เตาปูน(Tao Pun)7 หมู่บ้าน
6.หินซ้อน(Hin Son)9 หมู่บ้าน13.ชำผักแพว(Cham Phak Phaeo)10 หมู่บ้าน
7.บ้านธาตุ(Ban That)5 หมู่บ้าน14.ท่ามะปราง(Tha Maprang)5 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอแก่งคอยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองแก่งคอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแก่งคอยทั้งตำบล
  • เทศบาลเมืองทับกวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับกวางทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลตาลเดี่ยว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตาลเดี่ยวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแห้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยแห้งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคล้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าคล้อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินซ้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินซ้อนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านป่าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านธาตุและตำบลท่าตูมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชะอมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสองคอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสองคอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเตาปูนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชำผักแพว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชำผักแพวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่ามะปราง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ามะปรางทั้งตำบล

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.