อำเภอพัฒนานิคม

อำเภอในจังหวัดลพบุรี ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอพัฒนานิคม

พัฒนานิคม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลพบุรี จัดตั้งขึ้นโดยโอนพื้นที่ของ 4 อำเภอ คือ อำเภอโคกสำโรง อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และอำเภอแก่งคอย อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มาจัดตั้ง และเป็นอำเภอที่ตั้งของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นพื้นที่จัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดลพบุรี

ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอพัฒนานิคม, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอพัฒนานิคม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
  อักษรโรมันAmphoe Phatthana Nikhom
Thumb
คำขวัญ: 
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์งามตระการ สูงตระหง่านเขาพระยาเดินธง ดงน้ำผึ้งโคนมไก่เนื้อ งามมากเหลือทุ่งทานตะวัน พิพิธภัณฑ์บ้านโป่งมะนาว
Thumb
แผนที่จังหวัดลพบุรี เน้นอำเภอพัฒนานิคม
พิกัด: 14°51′21″N 100°59′24″E
ประเทศ ไทย
จังหวัดลพบุรี
พื้นที่
  ทั้งหมด517.0 ตร.กม. (199.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
  ทั้งหมด68,928 คน
  ความหนาแน่น133.32 คน/ตร.กม. (345.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 15140, 15220 (เฉพาะตำบลช่องสาริกาและดีลัง) , 18220 (เฉพาะตำบลห้วยขุนราม)
รหัสภูมิศาสตร์1602
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอพัฒนานิคม ถนนลพบุรี-วังม่วง ตำบลพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี 15140
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ปิด

ประวัติ

  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2505 โอนพื้นที่ตำบลดีลัง อำเภอโคกสำโรง มาขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี โอนพื้นที่ตำบลมะนาวหวาน ตำบลโคกสลุง อำเภอชัยบาดาล มาขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี[1] และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่ตำบลช่องสาริกา อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โอนพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[2]
  • วันที่ 13 มีนาคม 2505 แยกพื้นที่ตำบลดีลัง ตำบลมะนาวหวาน ตำบลโคกสลุง ตำบลช่องสาริกา และตำบลหนองบัว อำเภอเมืองลพบุรี มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอพัฒนานิคม ขึ้นกับอำเภอเมืองลพบุรี[3]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม 2506 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอพัฒนานิคม อำเภอเมืองลพบุรี เป็น อำเภอพัฒนานิคม[1]
  • วันที่ 21 เมษายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลพัฒนานิคม ในท้องที่บางส่วนของตำบลดีลัง[4]
  • วันที่ 19 กรกฎาคม 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลแก่งเสือเต้น ในท้องที่บางส่วนของตำบลหนองบัว[5]
  • วันที่ 21 สิงหาคม 2516 ตั้งตำบลพัฒนานิคม แยกออกจากตำบลดีลัง[6]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2517 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดลพบุรี กับจังหวัดสระบุรี โดยโอนพื้นที่หมู่ 12,13,15 (ในขณะนั้น) ของตำบลธารเกษม อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ไปขึ้นกับตำบลช่องสาริกา อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี[7]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม 2517 ตั้งตำบลห้วยขุนราม แยกออกจากตำบลมะนาวหวาน[8]
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2519 ตั้งตำบลชอนน้อย แยกออกจากตำบลช่องสาริกา และตำบลหนองบัว[9]
  • วันที่ 29 มิถุนายน 2525 ตั้งตำบลน้ำสุด แยกออกจากตำบลห้วยขุนราม[10]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลพัฒนานิคม และสุขาภิบาลแก่งเสือเต้น เป็นเทศบาลตำบลพัฒนานิคม และเทศบาลตำบลแก่งเสือเต้น ตามลำดับ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอพัฒนานิคมมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

สรุป
มุมมอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอพัฒนานิคมแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 89 หมู่บ้าน ได้แก่

1.พัฒนานิคม(Phatthana Nikhom)14 หมู่บ้าน6.ชอนน้อย(Chon Noi)5 หมู่บ้าน
2.ช่องสาริกา(Chong Sarika)13 หมู่บ้าน7.หนองบัว(Nong Bua)11 หมู่บ้าน
3.มะนาวหวาน(Manao Wan)8 หมู่บ้าน8.ห้วยขุนราม(Huai Khun Ram)11 หมู่บ้าน
4.ดีลัง(Di Lang)7 หมู่บ้าน9.น้ำสุด(Nam Sut)9 หมู่บ้าน
5.โคกสลุง(Khok Salung)11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอพัฒนานิคมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลแก่งเสือเต้น ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองบัว
  • เทศบาลตำบลพัฒนานิคม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพัฒนานิคม
  • เทศบาลตำบลดีลัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดีลังทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลเขาพระยาเดินธง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพัฒนานิคม (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพัฒนานิคม)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช่องสาริกา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่องสาริกาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมะนาวหวาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะนาวหวานทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสลุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสลุงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชอนน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชอนน้อยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลแก่งเสือเต้น)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขุนราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยขุนรามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำสุด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำสุดทั้งตำบล

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.