แกนิมีด (ดาวบริวาร)
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกนิมีด (อังกฤษ: Ganymede) เป็นดาวบริวารดวงหนึ่งของดาวพฤหัสบดี และเป็นดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีสนามแม่เหล็กสูง พื้นผิวหลายลักษณะแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่ชั้นผิวเปลือกอย่างซับซ้อนยาวนาน มีลักษณะสำคัญ 2 แบบ คือ พื้นที่เก่าแก่เป็นบริเวณมืดคล้ำเต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต ขรุขระ เป็นแอ่งลึก กับพื้นที่ใหม่เป็นบริเวณที่ราบเรียบ สว่างกว่า มีน้ำแข็งติดกับดินหิน บางพื้นที่เป็นรอยแยกยาวเหยียด
![]() | |
การค้นพบ | |
---|---|
ค้นพบโดย: | กาลิเลโอ กาลิเลอี ไซมอน มาริอุส |
ค้นพบเมื่อ: | 7 มกราคม ค.ศ. 1610 |
ชื่ออื่น ๆ: | Jupiter III |
ลักษณะของวงโคจร | |
รัศมีวงโคจรเฉลี่ย: | 1070400 km[1] |
ความเยื้องศูนย์กลาง: | 0.0013[1] |
คาบการโคจร: | 7.15455296 วัน[1] |
ความเอียง: | 0.20° (จากเส้นศูนย์สูตรของดาวพฤหัสบดี) [1] |
ดาวบริวารของ: | ดาวพฤหัสบดี |
ลักษณะทางกายภาพ | |
พื้นที่ผิว: | 8.72×107 km2 (0.171 ของโลก) [c] |
ปริมาตร: | 7.66×1010 km3 (0.0704 ของโลก) [d] |
มวล: | 1.4819×1023 kg (0.025 ของโลก) [2] |
ความหนาแน่นเฉลี่ย: | 1.936 g/cm3 (0.351 ของโลก)[2] |
ความโน้มถ่วง ที่ศูนย์สูตร: | 1.428 m/s2 (0.146 g) |
ความเร็วหลุดพ้น: | 2.741 km/s |
ความเอียงของแกน: | 0–0.33°[3] |
อัตราส่วนสะท้อน: | 0.43 ± 0.02[4] |
ลักษณะของบรรยากาศ | |
ความดันบรรยากาศ ที่พื้นผิว: | trace |
องค์ประกอบ: | ออกซิเจน[5] |
แกนิมีดเป็นหนึ่งในดวงจันทร์ของกาลิเลโอที่ค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อ 7 มกราคม ค.ศ. 1610 ตั้งชื่อตามเทพแกนิมีดในตำนานเทพเจ้ากรีก ผู้เป็นที่รักของเทพซูส
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.