เซอร์เอ็ดเวิร์ด ริชาร์ด จอร์จ ฮีธ (อังกฤษ: Edward Richard George Heath) เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษที่ทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 ถึง ค.ศ. 1974 และผู้นำของพรรคอนุรักษนิยมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ถึง ค.ศ. 1975 เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาสหราชอาณาจักร เป็นเวลา 50 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 ถึง ค.ศ. 2001

ข้อมูลเบื้องต้น นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร, กษัตริย์ ...
เอ็ดเวิร์ด ฮีธ
Thumb
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
19 มิถุนายน 1970  4 มีนาคม 1974
กษัตริย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
ก่อนหน้าฮาโรลด์ วิลสัน
ถัดไปฮาโรลด์ วิลสัน
หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม
ดำรงตำแหน่ง
28 กรกฎาคม 1965  11 กุมภาพันธ์ 1975
ก่อนหน้าเซอร์ อเล็ค ดักลาส-ฮูม
ถัดไปมาร์กาเรต แทตเชอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เอ็ดเวิร์ด ริชาร์ด จอร์จ ฮีธ

9 กรกฎาคม ค.ศ. 1916(1916-07-09)
บรอดสแตร์ส, เคนต์, อังกฤษ
เสียชีวิต17 กรกฎาคม ค.ศ. 2005(2005-07-17) (89 ปี)
ซอลส์บรี, วิลต์เชอร์, อังกฤษ
ที่ไว้ศพอาสนวิหารซอลส์บรี
พรรคการเมืองพรรคอนุรักษนิยม
ศิษย์เก่าวิทยาลัยบัลลิออล ออกซ์ฟอร์ด
รางวัล
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกสหราชอาณาจักร
ยศพันโท
ผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่สอง
ปิด

ชีวิตวัยเด็ก

เอ็ดเวิร์ด ฮีธ เกิดเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1916 ณ บ้านเลขที่ 54 ถนนอัลบิออน บรอดสแตร์ส ค.ศ. 1916 เป็นบุตรของวิลเลียม จอร์จ ฮีธ กับ อีดิธ แอนน์ ฮีธ เขาได้รับการศึกษาจาก โรงเรียนชาแธมเฮาส์ ในเมืองแรมส์เกต และในปี ค.ศ. 1935 เขาได้รับทุนการศึกษาในการเรียนต่อยังวิทยาลัยบัลลิออล เมืองออกซ์ฟอร์ด[1]

ฮีธ ได้รับรางวัลทุนการศึกษาออร์แกนของวิทยาลัยในเทอมแรก (ก่อนหน้านี้เขาเคยพยายามหาทุนศึกษาออร์แกนที่ วิทยาลัยเซนท์แคเทอรีนส์ และ วิทยาลัยเคเบิล) ซึ่งทำให้เขาสามารถเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้จนถึงปีสี่ ในที่สุดเขาก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองในสาขาปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1939

การทำงาน

สมาชิกรัฐสภา (ค.ศ. 1950 - ค.ศ. 1965)

ฮีธได้กล่าวสุนทรพจน์ครั้งแรกในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1950 ซึ่งเขาได้ยื่นเรียกร้องต่อรัฐบาลพรรคแรงงานให้เข้าร่วมปฏิญญาชูมาน ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขตเบ็กซ์ลีย์ เขาได้กล่าวสุนทรพจน์อย่างกระตือรือร้นเพื่อสนับสนุนผู้สมัครรุ่นใหม่ของเขตดาร์ทฟอร์ดซึ่งอยู่ใกล้เคียง อย่างมาร์กาเรต รอเบิตส์ หรือที่ปัจจุบันรู้จักกันในนามมาร์กาเรต แทตเชอร์[2]

เขาได้รับการแต่งตั้งโดย วินสตัน เชอร์ชิล ให้เป็นกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 เขายังดำรงตำแหน่งกรรมการประสานงานรัฐบาลหลังจากการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 1951 ก่อนจะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 1955 ในสมัยรัฐบาลของแอนโทนี อีเดน

ตามธรรมเนียมที่วิปไม่พูดในรัฐสภา ฮีธจึงสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งเกี่ยวกับวิกฤตการณ์คลองสุเอซได้ ในการประกาศลาออกของอีเดน ฮีธได้ส่งรายงานเกี่ยวกับความคิดเห็นของส.ส.พรรคอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับผู้ที่จะมาสืบทอดตำแหน่งของอีเดนที่เป็นไปได้ รายงานนี้สนับสนุน ฮาโรลด์ แมคมิลแลน และช่วยให้แมคมินแลนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนมกราคม ค.ศ. 1957 ต่อมาแมคมิลแลนได้แต่งตั้งให้ ฮีธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานรัฐบาล ฮีธ ได้เข้าร่วมคณะรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการ หลังจากชนะการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม 1959

ในปี ค.ศ. 1960 แมคมิลแลนได้แต่งตั้ง ฮีธ ลอร์ดผู้รักษาพระราชลัญจกร ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการเจรจาเพื่อรักษาความพยายามแรกของสหราชอาณาจักรในการเข้าร่วมประชาคมยุโรป หลังจากการเจรจาอย่างกว้างขวาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อตกลงโดยละเอียดเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตรของสหราชอาณาจักรกับประเทศในเครือจักรภพ เช่น นิวซีแลนด์ การเข้ามาของอังกฤษถูกคัดค้านโดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกล ในงานแถลงข่าวเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1963 ซึ่งทำให้ฮีธซึ่งเป็นผู้สนับสนุนงานเป็นสมาชิกในตลาดร่วมของยุโรปสำหรับสหราชอาณาจักรผิดหวังเป็นอย่างมาก ก่อนที่เขาจะประสบความสำเร็จในการนำสหราชอาณาจักรเข้าร่วมประชาคมยุโรปเมื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในทศวรรษต่อมา[3][4]

หลังจากความพ่ายแพ้ครั้งนี้ ความอัปยศครั้งใหญ่สำหรับนโยบายต่างประเทศของแมคมิลแลน ฮีธไม่ได้เป็นคู่แข่งในการเป็นผู้นำพรรคในการเกษียณอายุของมักมิลลันในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1963 ภายใต้รัฐบาลของ เซอร์ อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์ เขาเป็นประธานหอการค้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงธุรกิจ พลังงาน และ นโยบายอุตสาหกรรม และดูแลการยกเลิกการรักษาราคาขายปลีก

ผู้นำฝ่ายค้าน (ค.ศ. 1965 - ค.ศ. 1970)

หลังจากที่พรรคอนุรักษ์นิยมแพ้การเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1964 ฮิวม์ที่ได้พ่ายแพ้ได้เปลี่ยนกฎการเป็นผู้นำพรรคให้มีการลงคะแนนเสียงโดย ส.ส. แล้วจึงลาออก ในปีต่อมา ฮีธซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีเงาในขณะนั้น และเพิ่งได้รับการประชาสัมพันธ์ที่ดีจากการเป็นผู้นำในการต่อสู้กับร่างกฎหมายการเงินของแรงงาน ชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคโดยไม่คาดคิด โดยได้รับคะแนน 150 คะแนน ชนะเรจินัลด์ เมาด์ลิง ซึ่งได้ 133 คะแนน และอีนอช โพเวลล์ซึ่งได้ 15 คะแนน[5] ทำให้ฮีธกลายเป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมที่อายุน้อยที่สุดและดำรงตำแหน่งต่อไปหลังจากความพ่ายแพ้ของพรรคในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1966

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1968 อีนอช โพเวลล์ได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง "แม่น้ำแห่งเลือด" ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์การอพยพไปยังสหราชอาณาจักร หลังจากนั้นไม่นานฮีธได้โทรศัพท์หา มาร์กาเรต แทตเชอร์ เพื่อแจ้งเธอว่าเขากำลังจะไล่พาวเวลล์ออกจากรัฐบาลเงา เธอจำได้ว่าเธอ "คิดจริง ๆ ว่าควรปล่อยให้สิ่งต่างๆ เย็นลงในตอนนี้ แทนที่จะทำให้วิกฤติรุนแรงขึ้น" วันรุ่งขึ้น ฮีธไล่พาวเวลล์ออกไป ทำให้พรรคอนุรักษ์นิยมฝ่ายขวาหลายคนประท้วงคัดค้านการไล่โพเวลล์ออก[6] และฮีธก็ไม่เคยพูดกับโพเวลล์อีกเลย[7]

นายกรัฐมนตรี(ค.ศ. 1970 - ค.ศ. 1975)

การเลือกตั้ง ค.ศ. 1970

เมื่อการเลือกตั้งทั่วไปใกล้เข้ามาในปี ค.ศ. 1970 เอกสารนโยบายของพรรคอนุรักษ์นิยมก็หลุดออกมาจากโรงแรมเซลส์ดอนพาร์ก ว่าจะมีการเสนอนโยบายที่เน้นตลาดเสรีเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานและปัญหาเงินเฟ้อของประเทศ[8] ฮีธกล่าวว่าสุดสัปดาห์ที่เซลส์ดอนเป็นเพียงการยืนยันนโยบายที่มีการพัฒนาจริงตั้งแต่เขากลายเป็นผู้นำของพรรคอนุรักษ์นิยม ฮาโรลด์ วิลสัน นายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน ตอบโต้โดยคิดว่าเอกสารดังกล่าวเป็นผู้แพ้คะแนนเสียง และขนานนามว่าเป็นผลงานของเซลส์ดอน แมน ตาม พลิตดาวน์แมน มนุษย์ที่มีการคาดว่าเป็นมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์[9] หลังจากนั้นพรรคอนุรักษ์นิยมของฮีธก็ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ. 1970 โดยได้จำนวนสมาชิกสภาไป 330 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคแรงงานได้จำนวนสมาชิกสภาไป 287 ที่นั่ง คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประกอบด้วย มาร์กาเรต แทตเชอร์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์) วิลเลียม ไวท์ลอว์(ประธานสภาผู้แทนราษฎร) และอดีตนายกรัฐมนตรี อเล็ก ดักลัส-ฮิวม์(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ)[10]

รัฐสวัสดิการ

ในช่วงปีแรกที่ดำรงตำแหน่งของฮีธ มีการเรียกเก็บภาษีที่สูงขึ้นเพื่อประโยชน์ของรัฐสวัสดิการ เช่น อาหารกลางวันในโรงเรียน แว่นตา ทันตกรรม และยา มีการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิค่ารักษาพยาบาลโดยจะมีการจ่ายให้หลังจาก เจ็บป่วยไป 3 วันแล้ว [11] และจากการบีบงบประมาณการศึกษา การจัดหานมโรงเรียนฟรีสำหรับเด็กอายุ 8 ถึง 11 ปีจึงสิ้นสุดลง (ฮาโรลด์ วิลสันได้ตัดารจัดหานมโรงเรียนฟรีสำหรับวัยรุ่นไปแล้ว) หนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ขนานนามว่า มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นว่า "มาร์กาเร็ต แทตเชอร์: ผู้ฉกฉวยนม"[12] แม้จะมีมาตรการเหล่านี้ รัฐบาลของฮีธก็สนับสนุนให้การใช้จ่ายด้านสวัสดิการเพิ่มขึ้นอย่างมาก

บทบัญญัติจัดทำขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติประกันแห่งชาติ พ.ศ. 2513 (บำเหน็จบำนาญและเบี้ยเลี้ยงของผู้สูงอายุและหญิงม่าย) สำหรับเงินบำนาญที่จะจ่ายให้กับคนชราที่ได้รับการยกเว้นจากโครงการบำเหน็จบำนาญก่อนปี ค.ศ. 1948 และได้รับการยกเว้นจากโครงการที่ครอบคลุมซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1948 ผู้คนประมาณ 100,000 คนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยครึ่งหนึ่งได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมภายใต้โครงการประกันสังคม พระราชบัญญัติยังได้ปรับปรุงโครงการเงินบำนาญของแม่ม่ายด้วยการแนะนำอัตราเริ่มต้นที่ 30 ชิลลิงต่อสัปดาห์สำหรับผู้หญิงที่เป็นม่ายเมื่ออายุ 40 ปี และเพิ่มขึ้นเป็นอัตราเต็ม 5 ปอนด์เมื่ออายุ 50 ปี[13]

มีการให้การสนับสนุนสำหรับการสร้างโรงเรียนอนุบาลและได้มีการเปิดตัวโครงการลงทุนในอาคารเรียนระยะยาว และมีการจัดตั้งกองทุนครอบครัวขึ้นเพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่มีเด็กที่มีภาวะพิการแต่กำเนิด[14] ในขณะที่มีนำเสนอสิทธิของผู้พิการหลายแสนคนที่มีความทุพพลภาพซึ่งไม่ได้เกิดจากสงครามหรือจากการบาดเจ็บทางอุตสาหกรรม มีการเสนอเบี้ยเลี้ยงสำหรับผู้ที่ต้องการการดูแลที่บ้าน สิทธิกรณีทุพพลภาพสำหรับผู้ป่วยระยะยาว การจ่ายเงินสงเคราะห์บุตรที่สูงขึ้นกรณีทุพพลภาพ สิทธิของหญิงม่ายสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 - 50 ปี เงินอุดหนุนที่มีการปรับสำหรับการกวาดล้างในสลัมก็มีให้ ในขณะที่มีการแนะนำค่าเช่าสำหรับผู้เช่าส่วนตัว [41] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 การให้สิทธิ์ในการศึกษาแก่เด็กทุกคนที่มีกลุ่มอาการดาวน์เป็นครั้งแรก[15] และปรับการศึกษาภาคบังคับจากจนถึงเมื่ออายุครบ 15 ปี เป็นจนถึงเมื่ออายุครบ 16 ปี[16]

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.