เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ก (อังกฤษ: F-117 Nighthawk) เป็นอากาศยานโจมตีภาคพื้นดินล่องหนที่อดีตเคยถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศสหรัฐ มันได้ทำการบินครั้งแรกในปีพ.ศ. 2524 และเข้าปฏิบัติการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526[1] โลกได้รู้จักกับเอฟ-117เอในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2531[3]
เอฟ-117 ไนท์ฮอว์ก | |
---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |
บทบาท | เครื่องบินโจมตีล่องหน[1] |
ชาติกำเนิด | สหรัฐ |
บริษัทผู้ผลิต | ล็อกฮีด ล็อกฮีด มาร์ติน |
สถานะ | ปลดประจำการแล้ว |
ผู้ใช้งานหลัก | กองทัพอากาศสหรัฐ |
จำนวนที่ผลิต | 64 (วายเอฟ-117เอ 5 ลำและเอฟ-117เอ 59 ลำ) |
ประวัติ | |
เริ่มใช้งาน | 15 ตุลาคม พ.ศ. 2526 |
เที่ยวบินแรก | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2524 |
ปลดประจำการ | 22 เมษายน พ.ศ. 2551[2] |
พัฒนาจาก | ล็อกฮีด แฮฟบลู |
ผลงานของชรังค์ เวิร์คส์และการพัฒนาแฮฟบลูทำให้มันกลายเป็นอากาศยานลำแรกที่ใช้เทคโนโลยีการล่องหน เอฟ-117เอมีชื่อเสียงมากในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534
กองทัพอากาศได้ปลดประจำการเอฟ-117 ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551[2] โดยสาเหตุหลักคือการปรากฏตัวของเอฟ-22 แร็พเตอร์[4][5]และบี-2 สปิริทที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
การพัฒนา
เอฟ-117 เกิดขึ้นหลังจากการรบในสงครามเวียดนาม เมื่อมีความกังวลต่อขีปนาวุธพื้นสู่อากาศของโซเวียตมากขึ้น เพราะเครื่องบินทิ้งระเบิดหลายลำถูกมันยิงตก[6]
ในพ.ศ. 2507 ปโยทร์ ยา. ยูฟิมท์เซฟ (Pyotr Ya. Ufimtsev) นักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้เขียนเรื่อง "Method of Edge Waves in the Physical Theory of Diffraction" ซึ่งเขาได้แสดงให้เห็นว่าการสะท้อนของเรดาร์นั้นขึ้นอยู่กับรูปร่างของวัตถุ ไม่ใช่ขนาด[7] เขายังได้ขยายงานทางทฤษฎีโดยนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่ออาร์โนลด์ ซอมเมอร์ฟีลด์[8][9][10] ยูฟิมท์เซฟได้สาธิตว่าเขาสามารถคำนวณส่วนแบ่งของเรดาร์ตามผิวหน้าของปีกตลอดจนขอบปีกได้ ข้อสรุปคือแม้ว่าเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่าก็สามารถล่องหนได้ อย่างไรก็ดีการออกแบบของเครื่องบินจะทำให้มันสูญเสียหลักอากาศพลศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ในทศวรรษที่ 1960 ก็ยังไม่สามารถควบคุมการบินของเครื่องบินอย่างเอฟ-117 หรือบี-2 สปิริทได้ อย่างไรก็ตามในทศวรรษต่อมา เมื่อล็อกฮีดประเมินเอกสารของยูฟิมท์เซฟ คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ก็ได้ก้าวหน้าไปอย่างมาก และเริ่มมีการพัฒนาเครื่องบินล่องหนขึ้น[11]
ซีเนียร์เทรนด์
เอฟ-117 เป็นโครงการลับจนถึงทศวรรษที่ 1980[12] โครงการเริ่มขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ด้วยเครื่องต้นแบบที่ถูกเรียกว่า"โฮพเลสไดมอนด์" (Hopeless Diamond)[13][14] ในปีพ.ศ. 2520 ล็อกฮีดได้ผลิตต้นแบบไป 60% ภายใต้สัญญาแฮฟบลู โครงการแฮฟบลูเป็นการสาธิตเทคโนโลยีการล่องหนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519-2522 ความสำเร็จของโครงการแฮฟบลูนำไปสู่การสร้าง"ซีเนียร์เทรนด์" (Senior Trend) ของกองทัพอากาศสหรัฐ[15][16] เป็นโครงการที่สร้างเอฟ-117
การตัดสินใจที่จะสร้างเอฟ-117เอเกิดขึ้นในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 และล็อกฮีดก็ได้สัญญาในการพัฒนาโครงการ รู้จักกันในชื่อ"ชรัง เวิร์คส์" (Skunk Works) ในเบอร์แบงค์รัฐแคลิฟอร์เนีย[17] โครงการนำโดยเบน ริช เขาได้เรียกบิล ชโรเดอร์ นักคณิตศาสตร์และเดนีส โอเวอร์โฮลเซอร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เพื่อสานต่องานของยูฟิมท์เซฟ พวกเขาได้ออกแบบโครงการคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าเอคโค่ ซึ่งทำให้มันสามารถออกแบบเครื่องบินที่แบนราบได้ ซึ่งถูกทำให้กระจายการสะท้อนของเรดาร์ถึง 99%[11][18][19]
เอฟ-117 ทำการบินครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2524 เพียง 31 เดือนหลังจากที่มีการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบ เอฟ-117เอลำแรกถูกส่งมอบในปี 2525 และได้ไฟเขียวให้ปฏิบัติการได้ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2526[20] กองทัพอากาศปฏิเสธการมีตัวตนของมันจนถึงปีพ.ศ. 2531 เมื่อมีรูปถ่ายถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2533 เครื่องบินสองลำได้บินเข้าฐานทัพอากาศเนลลิสในรัฐเนวาดา ท่ามกลางการมองเห็นของคนหนึ่งหมื่นคน การพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบทำให้เกิด"วายเอฟ-117เอ"ขึ้นมา[21] มีการผลิตเอฟ-117 ขึ้นมาทั้งสิ้น 59 ลำซึ่งถูกส่งมอบตลอดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2533[22]
ตามที่กองทัพอากาศสหรัฐกล่าวเอาไว้ว่า "การจัดการโดยศูนย์ระบบอากาศพลศาสตร์ที่ฐานทัพอากาศไรท์-แพทเตอร์สันในโอไฮโอ ได้ผสมผสานเทคโนโลยีการล่องหนเข้ากับการพัฒนาและการผลิตในปัจจุบันเพื่อให้ใช้เครื่องบินได้อย่างรวดเร็วที่สุด... โครงการเอฟ-117 นั้นได้แสดงให้เห็นว่าอากาศยานล่องหนสามารถถูกออกแบบให้มีความไว้ใจได้และใช้งานได้ง่าย"[1] สถิติการดูแลรักษาเครื่องบินเทียบได้กับเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธีแบบอื่น เอฟ-117 นั้นอยู่ในแนวหน้าของเทคโนโลยีในโครงการพัฒนาระบบอาวุธซึ่งอยู่ที่แพลนท์ 42 ในปาร์มเดลรัฐแคลิฟอร์เนีย
เอฟ-117 หลายลำถูกทาสีเทาในช่วงทดลองเพื่อทดสอบความมีประสิทธิภาพในการล่องหนของเอฟ-117 ในตอนกลางวัน ในปีพ.ศ. 2547-2548 ได้มีโครงการพัฒนาอายุการใช้งานของเอฟ-117 หลายครั้ง รวมทั้งการพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกส์อากาศ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (March 2009) |
การตั้งชื่อ
เครื่องบินที่ปฏิบัติการได้จะได้รับชื่อว่า"เอฟ-117เอ"[23] เครื่องบินที่ก้าวหน้าส่วนใหญ่ของสหรัฐจะใช้การตั้งชื่อแบบหลังปี 1962 ซึ่งจะใช้ "F" ที่หมายถึงเครื่องบิบขับไล่อากาศสู่อากาศ "B" ที่หมายถึงเครื่องบินทิ้งระเบิด "A" ที่หมายถึงเครื่องบินโจมตี (ตัวอย่างเช่น เอฟ-15 บี-2 และเอ-6) เครื่องบินขับไล่ล่องหนที่มีการโจมตีภาคพื้นดินเป็นหลักจึงไม่ควรใช้ "F"
การใช้"เอฟ-117" นั้นดูเหมือนว่ามีเพื่อชี้ให้เห็นว่ามันได้รับชื่อเช่นนั้นอย่างเป็นทางการก่อนระบบตั้งชื่อปี 1962 สมมติฐานคือเพื่อเปิดเผยมันต่อสาธารณะ ว่ามันน่าจะได้ใช้ชื่อว่าเอฟ-19 ซึ่งเป็นชื่อที่ยังไม่ถูกใช้ อย่างไรก็ตามมันก็ไม่มีเครื่องบินลำใดที่ใช้ชื่อ "100" หลังจากที่มีเอฟ-111 เครื่องบินของโซเวียตที่ถูกยึดได้ก็ถูกใช้ชื่อเป็นเอฟเมื่อถูกใช้โดยนักบินทดสอบของสหรัฐ
เมื่อมีเครื่องบินต่างสัญชาติบินอยู่ในบริเวณทางใต้ของเนวาดา เครื่องบินที่ถูกยึดมาจึงถูกเรียกทางวิทยุว่า 117 มันถูกใช้โดยหน่วยบิน"เรดแฮทส์/เรดอีเกิลส์ที่5588 ซึ่งมักบินเครื่องบินมิกอยู่ในบริเวณดังกล่าว การเรียกเช่นนั้นไม่มีสาเหตุอะไรและชื่อเอฟ-19 ก็ถูกพิจารณาโดยกองทัพอากาศ เป็นที่เห็นได้ชัดว่าการเรียก "117" ทางวิทยุนั้นได้กลายมาเป็นธรรมเนียมและเมื่อล็อกฮีดผลิตเครื่องบินออกมา เอฟ-117 ก็ถูกใช้เพื่อปิดบัง[24]
สารคดีทางโทรทัศน์ได้สัมภาษณ์สมาชิกอาวุโสจากทีมผู้สร้างเอฟ-117เอโดยกล่าวว่านักบินต้องการที่จะบินเครื่องบินใหม่มีแรงดึงดูดที่จะบินมันเมื่อใช้ชื่อ"F"มากกว่า"B"หรือ"A"[25]
เอฟ-117เอ็น ซีฮอว์ก
ในต้นทศวรรษที่ 1990 ล็อกฮีดได้เริ่มทำการพัฒนาเครื่องเอฟ-117 ที่สามารถใช้บนเรืออบรรทุกเครื่องบินได้โดยใช้ชื่อว่า"ซีฮอว์ก"เมื่อโครงการเอ/เอฟเอ็กซ์ถูกยกเลิกไป ข้อเสนอถูกยื่นให้กับกระทรวงกลาโหม ผู้ที่ไม่ค่อยสนใจในความสามารถในการบินเดี่ยวของเครื่องบินแบบดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อมันต้องใช้เงินจากโครงการเทคโนโลยีเครื่องบินโจมตีก้าวหน้า เครื่องบินใหม่นี้จะแตกต่างจากเอฟ-117 ในหลายๆ ด้าน รวมทั้งห้องนักบินแบบพิเศษ ปีกที่ลู่น้อยกว่า และหางแบบใหม่[26] รุ่น"เอ็น"นั้นจะใช้เครื่องยนต์ใหม่คือเจเนรัล ไดนามิกส์ เอฟ414 นอกจากนั้นเครื่องบินจะสามารถเลือกใช้จุดติดอาวุธได้มากมาย ทำให้มันสามารถบรรทุกอาวุธได้เพื่ออีก 8,000 ปอนด์ และเรดาร์ใหม่ที่สามารถจัดการกับเป้าหมายในอากาศได้ ด้วยบทบาทนั้นเอฟ-117เอ็นจะสามารถใช้ขีปนาวุธเอไอเอ็ม-120 แอมแรมได้อีกด้วย[26][27]
หลังจากที่ถูกนำออกโดยกองทัพเรือ ล็อกฮีดก็ยอมทำการเปลี่ยนข้อเสนอซึ่งรวมทั้งความสามารถในการใช้สันดาปและความหลากหลายในการทำภารกิจของเอฟ-117เอ็น ทำให้มันไม่ได้เป็นแค่เพียงเครื่องบินโจมตีเท่านั้น[27] เพื่อเพิ่มความน่าสนใจล็อกฮีดยังได้ให้ข้อเสนอของ"เอฟ-117บี"ซึ่งจะคล้ายกับเอฟ-117เอ็นแต่ใช้บนบกแทน แบบดังกล่าวถูกเสนอให้กับกองทัพอากาศของสหรัฐและอังกฤษ[28] เอฟ-117เอ็นรุ่นใหม่นี้ถูกเรียกว่า"เอ/เอฟ-117เอ็กซ์"[29] ทั้งเอฟ-117เอ็นและเอฟ-117บีไม่มีใครซื้อมัน
การออกแบบ
ด้วยขนาดประมาณเอฟ-15 เอฟ-117เอที่นั่งเดียวนั้นมีขุมกำลังเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบแฟนไร้สันดาปรุ่นเอฟ404 และระบบควบคุมการบิน มันสามารถทำการ[การเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ|เติมเชื้อเพลิงทางอากาศ]]ได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ระบฟลาย-บาย-ไวร์ และส่วนอื่นๆ จึงถูกดัดแปลงมาจากเอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท และเอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล
ผลข้างเคียงจากความสามารถในการล่องหนของมันคือพลังขับเครื่องยนต์ที่เบาลง เพราะเสียส่วนรับและปล่อยลม ปีกที่มีอัตราทำมุมที่ต่ำมาก และปีกที่ลู่ถึง 50 องศาเพื่อลดคลื่นเรดาร์[30] ด้วยการออกแบบเหล่านี้และการที่มันไม่มีตัวทำสันดาป เอฟ-117 จึงมีความเร็วที่จำกัด
เอฟ-117 มีระบบนำร่องและระบบโจมตีที่ซับซ้อนโดยทำงานร่วมกับระบบอิเลคทรอนิกอากาศแบบดิจิทัล มันไม่มีเรดาร์ ซึ่งเพื่อลดการส่งสัญญาณ มันอาศัยการนำทางจากจีพีเอสและระบบนำร่องเฉื่อยที่แม่นยำ ภารกิจจะถูกจัดการโดยระบบวางแผนอัตโนมัติซึ่งสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติในทุกรูปแบบภารกิจโจมตี รวมทั้งการปล่อยอาวุธ เป้าหมายจะถูกจับเป้าโดยระบบอินฟราเรดจับภาพความร้อน โดยมันจะต้องอาศัยเลเซอร์ซึ่งเป็นตัวหาระยะและกำหนดเป้าหมายให้กับระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์
ห้องเก็บอาวุธของเอฟ-117 สามารถบรรทุกอาวุธได้ 2,300 กิโลกรัม อาวุธโดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์แบบจีบียู-10 จีบียู-12 หรือจีบียู-27 ระเบิดทะลุทะลวงแบบบีแอลยู-109 สองลูก หรือระเบิดเจแดมสองลูก
ประวัติการใช้งาน
ในช่วงปีแรกๆ ของโครงการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527-2535 กองบินของเอฟ-117เอได้ตั้งฐานอยู่ที่สนามบินในเนวาดา ที่ซึ่งมันทำหน้าที่ในฝูงบินยุทธวิธีที่ 4450 เพราะว่าเอฟ-117 ยังคงเป็นความลับอยู่ในตอนนั้น ฝูงบินยุทธวิธีที่ 4450 จึงถูกย้ายไปที่ฐานทัพอากาศเนลลิสในเนวาดาโดยใช้เครื่องเอ-7 คอร์แซร์ 2 ฝูงบินถูกรวมเข้ากับฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 37 ในปีพ.ศ. 2532 ในพ.ศ. 2535 ทั้งกองบินถูกย้ายไปที่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมนที่นิวเม็กซิโก ที่ซึ่งมันทำหน้าที่ภายใต้ฝูงบินขับไล่ที่ 49
นักบินของเอฟ-117 เรียกตัวเองว่า"แบนดิทส์" (Bandits) นักบินแต่ละคนที่ต้องบินเอฟ-117 จะมีหมายเลขของตัวเอง อย่าง "แบนดิท 52" นั่นหมายถึงอันดับที่พวกเขาบินเอฟ-117 เป็นครั้งแรก[31]
เอฟ-117 ถูกใช้หลายครั้งในสงคราม ภารกิจแรกของมันคือการรุกรานปานามาของสหรัฐในปีพ.ศ. 2532[32] ในช่วงนั้นมีเอฟ-117เอสองลำที่ทิ้งระเบิดสองลูกใส่สนามบินริโอฮาโต
ในสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปีพ.ศ. 2534 เอฟ-117เอได้ทำการบินประมาณ 1,300 ครั้งและทำแต้มด้วยการโจมตีเป้าหมายสำคัญไป 1,600 เป้าหมายในอิรัก [1] ในขณะที่ทำการบินไป 6,905 ชั่วโมง[33] เอฟ-117 มีเพียง 2.5% ของเครื่องบินสหรัฐในอิรักแต่มันก็ทำการโจมตีไปมากกว่า 40% ของเป้าหมายทางยุทธศาสตร์[34] "ในขณะทำภารกิจนักบินเอฟ-117เอได้ทิ้งระเบิดนำวิถีไปกว่า 2,000 ตันโดยมีอัตราการโดนเป้าหมายมากกว่า 80% แม้ว่าฝูงบินขับไล่ยุทธวิธีที่ 37 และเครื่องบินสเตลท์อีก 42 ลำจะเป็นเพียง 2.5% ของเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีทั้งหมดของพันธมิตรในสงครามอ่าว เอฟ-117เอก็ได้รับงานมากกว่า 31% ของการทิ้งระเบิดทั้งหมดใส่อิรักตลอด 24 ชั่งโมง"[33] ในสงครามมันทำงานไม่ค่อยดีนักในการทิ้งสมาร์ทบอมบ์ใส่เป้าหมายทางทหาร โดยมีอัตราการโดนเป้าหมายเพียง 40% เท่านั้น[35]
มันเป็นเครื่องบินในไม่กี่ลำของสหรัฐและกองกำลังผสมที่เข้าโจมตีแบกแดด อีกพวกหนึ่งคือเอฟ-16 ซึ่งได้โจมตีแบกแดดในช่วงกลางวันของวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2534 ในภารกิจ"แพ็คเกจ คิว" (Package Q) อันเป็นการบินโจมตีครั้งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในสงคราม[36]
ตั้งแต่ที่ถูกย้ายไปยังฐานทัพอากาศฮอลโลแมนในปีพ.ศ. 2535 เอฟ-117เอและนักบินทั้งชายและหญิงของฝูงบินขับไล่ที่ 49 ก็ถูกวางพลที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้มากกว่าหนึ่งครั้ง ในการเดินทางครั้งแรกเอฟ-117 ได้บินตั้งแต่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมนไปคูเวตโดยไม่หยุดพัก โดยใช้เวลาไปประมาณ 18.5 ชั่วโมง เป็นสถิติสำหรับเครื่องบินขับไล่หนึ่งที่นั่งที่ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้[1]
มันถูกใช้ในปฏิบัติการแอลไลด์ฟอร์ซในปีพ.ศ. 2542 ปฏิบัติการเอ็นดัวริ่งฟรีดอมในปีพ.ศ. 2544 และปฏิบัติการปลดปล่อยอิรักในปีพ.ศ. 2546
การสูญเสีย
เอฟ-117 ลำหนึ่งถูกยิงตกขณะทำการรบกับกองทัพเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2542 ในสงครามคอซอวอ กองพันที่ 3 แห่งกรมขีปนาวุธป้องกันอากาศที่ 250 ภายใต้การบัญชาการของผู้พันซอลทาน ดานิ (Zoltán Dani)[37], ที่มีระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานแบบไอซาเยฟ เอส-125 เนวา ได้ยิงเอฟ-117เอที่มีชื่อรหัสว่า"เวก้า 31" หมายเลข 82-0806 ตก[38][39] ตามที่ผู้บัญชาการนาโต้เวสลีย์ คลาร์กและนายพลคนอื่นๆ กล่าว การป้องกันทางอากาศของเซอร์เบียได้ตรวจพบเอฟ-117 โดยใช้เรดาร์ของพวกเขาด้วยความยาวคลื่นที่มากกว่าปกติ ทำให้พวกมันถูกมองเห็นในเรดาร์ไม่นานก่อนถูกยิงตก
ตามที่รายงานเอสเอ-3 จำนวนมากถูกยิงจากระยะ 8 ไมล์ห่างออกไป มีลูกหนึ่งที่ระเบิดใกล้กับเอฟ-117เอจนทำให้นักบินต้องดีดตัวออก แม้ว่ามันยังคงเป็นความลับ แต่ก็เชื่อกันว่าเอฟ-117 ไม่มีเรดาร์เตือนภัย มันดูเหมือนว่านักบินจะเห็นขีปนาวุธเพราะเปลวไฟของมัน ด้วยระยะขนาดนนี้และผสมกับความเร็วนักบินจึงมีเวลาเพียง 6 วินาทีที่จะหาทางออกก่อนถูกยิง ตามการสัมภาษณ์ ซอลทาน ดานิเคลื่อนย้ายตำแหน่งขีปนาวุธของเขาบ่อยมาก และมีคนคอยตรวจหาเอฟ-117 และเครื่องบินลำอื่นๆ ของนาโต้ เขาได้ดัดแปลงเรดาร์จับเป้าของเขาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับของมัน [39] ผู้บัญชาการและทหารที่ประจำเครื่องยิงขีปนาวุธคาดเดาจากการบินของเอฟ-117เอก่อนหน้าจากเรดาร์ที่ยากที่จะเห็นและติดตั้งขีปนาวุธและคนชี้เป้าตามนั้น เชื่อกันว่าทหารประจำเอสเอ-3 และคนชี้เป้าสามารถบอกตำแหน่งและติดตามเอฟ-117เอได้ อาจด้วยระบบอินฟราเรดและระบบมองกลางคืน เขาอ้างว่าขีปนาวุธของเขาได้ยิงเอฟ-16 ตกเช่นเดียวกัน[39]
นักบินของเอฟ-117 รอดและได้รับการช่วยเหลือโดยหน่วยพลร่อมของสหรัฐ ซากของเอฟ-117 ไม่ได้ถูกทำลายทิ้ง เพราะว่าไม่มีสื่อในพื้นที่นั้น เซอร์เบียได้นำบุคคลากรของรัสเซียมาตรวจสอบซากที่เหลือ เป็นการเปิดเผยเทคโนโลยีอายุ 25 ปีของสหรัฐ[40] ซากถูกนำไปแสดงที่พิพิธภัณฑ์การบินในเบลเกรดใกล้กับสนามบินเบลเกรดนิโคลา เทสลา มีการระบุชื่อนักบินผิดพลาดอย่างมาก ในขณะที่"ผู้กองเคน วิซ ดเวลล์"เป็นชื่อที่ปรากฏบนฝาครอบห้องนักบิน ต่อมาก็มีการเปิดเผยว่านักบินที่บินเครื่องลำนั้นคือผู้หมวดโคล เดล เซลโค[41][42]
จากแหล่งข้อมูลบางแห่งของอเมริกากล่าวว่าเอฟ-117เอลำที่สองได้รับความเสียหายในภารกิจเดียวกัน ประมาณวันที่ 30 เมษายน[43] แม้ว่าเครื่องบินจะสามารถบินกลับฐานได้ มันก็ไม่ขึ้นบินอีกเลย[44][45]
การปลดประจำการ
แม้ว่ามันจะถูกผลิตมาเพื่อการรบ เอฟ-117 ก็ถูกออกแบบด้วยเทคโนโลยีที่ล้าสมัยของทศวรรษที่1970 เทคโนโลยีล่องหนของมันด้อยกว่าบี-2 สปิริทและเอฟ-22 แร็พเตอร์ นอกจากนั้นการออกแบบที่ใช้เหลี่ยมมุมก็หมดไปเมื่อเทคโลโยลีใหม่ๆ เกิดขึ้นมา โครงการตัดทุนในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ได้เสนอให้ปลดประจำการเอฟ-117 ทั้งกองบินในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อนำเงินไปซื้อเอฟ-22เอเพิ่ม โครงการดังกล่าวบังคับให้ปลดประจำการเครื่องบิน 10 ลำในปีพ.ศ. 2550 และอีก 42 ลำที่เหลือในปีพ.ศ. 2551 และกล่าวว่ากองทัพอากาศยังมีเครื่องบินชนิดอื่นที่สามารถทำหน้าที่แทนมันได้ อย่าง บี-2 เอฟ-22 และแจสม์[46] เดิมทีกองทัพอากาศได้วางแผนว่าจะปลดประจำการเอฟ-117 ในปีพ.ศ. 2554 ต่อมากองทัพอากาศได้ตัดสินใจที่จะปลดประจำการเอฟ-117 เร็วกว่านั้นเพื่อเพิ่มทุนในการพัฒนาเครื่องบินลำอื่น[31] สิ่งนี้จะเป็นการประหยัดงบประมาณไป 1.7 พันล้านดอลลาร์[47]
ในปลายปี 2549 กองทัพอากาศได้ปิดโรงเรียนนักบินเอฟ-117[48] และประกาศว่าเอฟ-117 ถูกปลดประจำการ[49] เครื่องบินหกลำแรกถูกปลดประจำการในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 หลังจากเสร็จสิ้นพิธีที่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมน นายพลเดวิด โกลด์เฟน ผู้บัญชาการฝูงบินขับไล่ที่ 49 กล่าวในงานว่า "เมื่อเครื่องบินเหล่านี้ถูกนำมาใช้จนถึงวันนี้ วงจรได้สิ้นสุดลงแล้ว หน้าที่ของพวกมันในการป้องกันชาติของเขาได้เสร็จสิ้นแล้ว ภารกิจของพวกมันสมบูรณ์และทำงานได้ดี เราส่งพวกมันไปยังที่พำนักสุดท้าย บ้านที่พวกมันคุ้นเคย บ้านหลังแรกและหลังเดียวนอกฮอลโลแมน"[50]
ไม่เหมือนกับเครื่องบินส่วนใหญ่ของกองทัพอากาศซึ่งถูกปลดประจำการไปยังฐานทัพอากาศเดวิส-มอนแธน เอฟ-117 ถูกปลดประจำการไปยังสนามบินทดสอบระยะโทนาปาห์ ที่โทนาปาห์ปีกของพวกมันจะถูกนำออกและตัวเครื่องจะถูกเก็บไว้ในโรงเก็บเครื่องบิน[50] ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีการรายงานว่าเอฟ-117 ลำสุดท้ายที่ทำหน้าที่จะถูกเก็บในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551 ในที่ที่มันทำการบินเป็นครั้งแรก[31] เอฟ-117 ถูกปลดประจำการในช่วงพิธีกรรมที่ปาร์มเดลและโทนาปาห์ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2551[2] เครื่องบินสี่ลำยังคงบินต่อหลังเดือนเมษายนโดยฝูงบินทดสอบที่ 410 ที่ปาร์มเดลสำหรับการบินทดสอบต่อไป เมื่อเริ่มเดือนสิงหาคมก็เหลืออยู่สองลำจากนั้นลำสุดท้ายก็ออกจากปาร์มเดลในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551[51] เมื่อเครื่องบินลำสุดท้ายบินออก ฝูงบินที่ 410 ก็ถูกยุบลงและจัดทำพิธีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551[52]
เครื่องบินที่จัดแสดง
เครื่องวายเอฟ-117เอลำแรกปัจจุบันอยู่ที่ฐานทัพอากาศเนลลิส รัฐเนวาดา (36°13′38.00″N 115°3′33.28″W) และสามารถมองเห็นได้จากด้านนอก วายเอฟ-117เอลำที่สองอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศแห่งสหรัฐ ที่ฐานทัพอากาศไรท์-แพทเตอร์สัน รัฐโอไฮโอ วายเอฟ-117เอ ลำที่สามอยู่ที่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมน วายเอฟ-117เอ ลำที่สี่อยู่ที่แพลนท์ 42 ในปาร์มเดล รัฐแคลอปอร์เนีย ชิ้นส่วนของเอฟ-117เอที่ถูกยิงตกอยู่ที่พิพิธภัณฑ์การบินในกรุงเบลเกรด[53]
รายละเอียด[54]
- ลูกเรือ 1 นาย
- ความยาว 20.09 เมตร
- ระยะระหว่างปลายปีกทั้งสอง 13.20 เมตร
- ความสูง 3.78 เมตร
- พื้นที่ปีก 73 ตารางเมตร
- น้ำหนักเปล่า 13,380 กิโลกรัม
- น้ำหนักพร้อมอาวุธ 23,800 กิโลกรัม
- ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนเจเนรัล อิเลคทรอก เอฟ404-เอฟ102 สองเครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 10,600 ปอนด์
- ความเร็วสูงสุด 0.92 มัค (993 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
- พิสัย 1,720 กิโลเมตร
- เพดานบินทำการ 45,000 ฟุต
- น้ำหนักที่ปีกบรรทุก 330 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
- อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก 0.40
- อาวุธ
- ช่องเก็บอาวุธภายในสองจุด แต่ละจุดติดตั้งอาวุธได้หนึ่งอย่าง รวมทั้งสิ้นเป็นสองอย่าง
- ระเบิด
- บีแอลยู-109
- จีบียู-10 เพฟเวย์ 2
- จีบียู-12 เพฟเวย์ 2
- จีบียู-27 เพฟเวย์ 3
- เจแดม
ดูเพิ่ม
- การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
- ล็อกฮีด แฮฟบลู
- ซี ชาโดว์
- อากาศยานที่เทียบเท่า
- เอ็มบีบี แลมพีไรเด
- บี-2 สปิริท
- บีเออี เรพลิกา
อ้างอิง
- อ้างอิง
- Pae, Peter. "Stealth fighters fly off the radar", Los Angeles Times, 23 April 2008. Retrieved: 27 April 2008.
- Cunningham, Jim. "Cracks in the Black Dike, Secrecy, the Media and the F-117A." เก็บถาวร 2016-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Air & Space Power Journal, Fall 1991. Retrieved: 19 March 2008.
- "F-117: A long, storied history that is about to end", Air Force Print News, 28 October 2006.
- Shea, Christopher. "Now you see it..." Boston Globe, 4 February 2007. Retrieved: 11 March 2009.
- F-117A Nighthawk. Air-Attack.com.
- ""Method of Edge Waves in the Physical Theory of Diffraction"" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-25. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- Stealth Technology เก็บถาวร 2009-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Centennial of Flight.
- UCI Ufimtsev, Pyotr Ya. "Method of Edge Waves in the Physical Theory of Diffraction." Journal of the Moscow Institute for Radio Engineering, 1964.
- Ireton, Major Colin T. "Filling the Stealth Gap." Air and Space Power Journal Fall 2006.
- "The Advent, Evolution, and New Horizons of United States Stealth Aircraft". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-02-16. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- Rich 1994, pp. 26-27.
- "F-117 History" เก็บถาวร 2012-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. F-117 Stealth Fighter Association. Retrieved: 20 January 2007.
- "Senior Trend". Vectorsite.net, 1 April 2008.
- Rich 1994, p. 71.
- ""The Secrets of Stealth" on Discovery Military Channel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-03. สืบค้นเมื่อ 2009-09-17.
- "F-117A Nighthawk." AirAttack.com.
- Stealth Aircraft เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Centennial of Flight.
- "DOD 4120.15-L - Addendum", United States Department of Defense December 2007.
- Donald 2003, p. 98.
- "DOD 4120.15-L: Model Designation of Military Aerospace Vehicles" เก็บถาวร 2004-11-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. United States Department of Defense, 12 May 2004, p. 38. Retrieved: 20 January 2007.
- Miller 1990
- "Stealth and Beyond: Air Stealth (TV-series)". The History Channel, 2006. Retrieved: 19 March 2008.
- Navy still not interested in F-117N; JAST plan due tomorrow (1993). Aerospace Daily. Vol. 167, No. 52; p. 426
- Morrocco, John D. Lockheed Returns to Navy with new F-117N Design (1994). ‘’Aviation Week & Space Technology”. Vol. 140, No. 10; p. 26.
- Lockheed Martin targets RAF and USN for F-117 (1995). Flight International. 28 Jun 1995.
- Skunk Works official touts A/F-117X as Navy stealth option (1994). Aerospace Daily. Vol. 171, No. 56; p. 446
- Sweetman, Bill. "Unconventional Weapon." เก็บถาวร 2012-07-19 ที่ archive.today Air & Space, December 2007/January 2008. Retrieved: 19 March 2008.
- Topolsky, Joshua. "Air Force's stealth fighters making final flights." CNN.com, 11 March 2008. Retrieved: 11 March 2009.
- Crocker 2006, p. 382.
- Weapons: F-117A Stealth, PBS Frontline
- "Navy Looks On with Envy at Air Force Stealth Display." New York Times.
- Fisk 2006, p. 650.
- "Who shot down F-117?" เก็บถาวร 2009-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Defence Aviation, 8 February 2007. Retrieved: 11 March 2009.
- How to Take Down an F-117, Strategy Page, 21 November 2005.
- "Serb discusses 1999 downing of stealth." USAToday.com, 26 October 2005. Retrieved: 1 July 2009.
- Smith, Charles R. "Russia Offers India $8 Billion Weapons Deal" เก็บถาวร 2007-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, NewsMax.com 12 December 2001. Retrieved: 20 January 2007.
- Dorr, Robert F. "USAF Fighter Force at 60". AirForces Monthly magazine, October 2007.
- Riccioni, Colonel Everest E. "Description of our Failing Defence Acquisition System." Project on government oversight, 8 March 2005. Note: "This event, which occurred during the Kosovo conflict on 27 March, was a major blow to the US Air Force. The aircraft was special: an F-117 Nighthawk stealth bomber that should have been all but invisible to the Serbian air defences. And this certainly wasn't a fluke—a few nights later, Serb missiles damaged a second F-117."
- Nixon, Mark. "Gallant Knights, MiG-29 in Action during Allied Force." AirForces Monthly magazine, January 2002.
- "Program Budget Decision 720." เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Department of Defense.
- Tiron, Roxana. "New Mexico Air Force base at crossroads." เก็บถาวร 2017-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Hill, 22 February 2006. Retrieved: 11 March 2009.
- "F-117 pilot school closes." เก็บถาวร 2012-07-17 ที่ archive.today Air Force Times. Retrieved: 20 มกราคม พ.ศ. 2550.
- Bates, Staff Sergeant Matthew. "F-117: A long, storied history that is about to end." US Air Force, 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549.
- Barrier, Terri. "F-117A retirement bittersweet occasion." Aerotech News and Review, 16 March 2007.
- Radecki, Alan. "F-117’s final formation fling". Flight International, 8 August 2008. Retrieved: 11 March 20009.
- "410th FLTS 'Baja Scorpions' closes historic chapter." US Air Force, Edwards AFB, 5 August 2008.
- Daly, M. "Tape Reveals Stealth of Our Ukrainian Pal." Daily News. Retrieved: 2 January 2008.
- Lockheed F-117A Nighthawk fact sheet. National Museum of the US Air Force.
- บรรณานุกรม
แหล่งข้อมูลอื่น
- ข้อมูลเอฟ-117เอ ไนท์ฮอว์กจากกองทัพอากาศสหรัฐ
- ฝูงบินขับไล่ที่ 49 ที่ฐานทัพอากาศฮอลโลแมน
- F-117A.com - เว็บไซต์ Black Jet (เนื้อหาครอบคลุม)
- บทความเกี่ยวกับเอฟ-117และบทความเรื่องสเตลท์ในเว็บไซต์ Centennial of Flight เก็บถาวร 2009-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เอฟ-117เอ ไนท์ฮอว์กใน AirAttack.com
- เอฟ-117เอ ไนท์ฮอว์กใน FAS.org
- เอฟ-117 ใน Vectorsite.net
- "Filling the Stealth Gap," ใน Air and Space Power Journal Fall ปี 2006 เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The Advent, Evolution, and New Horizons of United States Stealth Aircraft เก็บถาวร 2003-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "The Secrets of Stealth" ใน Discovery Military Channel เก็บถาวร 2007-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Austrian Radar Plots on acig.org
- ซีเอ็นเอ็น-เครื่องบินสหรัฐตก นักบินปลอดภัย 27 มีนาคม พ.ศ. 2542
- เอฟ-117 ตกที่งานแสดงในบัลติมอร์ ปีพ.ศ. 2540 เก็บถาวร 2008-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- (เยอรมัน) บทความของออสเตรเลียเกี่ยวกับการสกัดกั้นของเอฟ-117
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.