Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย (สกุลเดิม: หิญชีระนันทน์ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2463 – 31 มกราคม พ.ศ. 2561) เป็นนักเขียน นักแปล ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเทศอินเดีย มีชื่อเสียงจากหนังสือและบทความเกี่ยวกับประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นผลงานร่วมกับกรุณา กุศลาสัย ซึ่งเป็นสามี ได้รับการเชิดชูเกียรติ รางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2544 ศาสตราจารย์พิเศษ เรืองอุไร กุศลาสัย ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2560
เรืองอุไร กุศลาสัย | |
---|---|
เกิด | 21 มิถุนายน พ.ศ. 2463[1] อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี |
เสียชีวิต | 31 มกราคม พ.ศ. 2561 (97 ปี)[2] กรุงเทพมหานคร[3] |
นามปากกา | เรืองอุไร หิญชีระนันทน์ กมลากร ก.ร.ร. โกศล นิรุกติ กรุณา กุศลาสัย-เรืองอุไร จูตะเสน กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย |
อาชีพ | นักเขียน, นักแปล, ครู |
คู่สมรส | กรุณา กุศลาสัย (2492 – 2552) |
เรืองอุไร กุศลาสัย เดิมชื่อ อุไร หิญชีระนันทน์ เกิดที่ตำบลศิริราช อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นบุตรีของอำมาตย์ตรี พระสอนถูกระบอบ (เรือง หิญชีระนันทน์) กับนางบุญเรือน สอนถูกระบอบ (สกุลเดิม สิงหบุระอุดม) ต่อมาพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) เปลี่ยนให้เป็น "เรืองอุไร" เมื่อ พ.ศ. 2485 จบการศึกษาจากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง โรงเรียนเบญจมราชาลัย และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรับราชการครูที่โรงเรียนฝึกหัดครูมัธยม (สถาบันราชภัฏจันทรเกษม) และโรงเรียนบพิตรภิมุข จนกระทั่งเกษียณอายุ[4]
เรืองอุไร สมรสครั้งแรกโดยเปลี่ยนมาใช้ชื่อสกุลเป็น เรืองอุไร จูตะเสน แต่ต่อมาได้สมรสครั้งที่สองกับกรุณา กุศลาสัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2492 จนกระทั่งสามีเสียชีวิต ทั้งสองมีบุตร-ธิดาด้วยกันสองคนคือ พันโทหญิง ทันตแพทย์หญิง อังศิกา และกัมปนาท กุศลาสัย[5]
เรืองอุไร เสียชีวิตในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 เมื่อเวลา 06.00 น. ด้วยโรคชราที่บ้านพักส่วนตัว สิริอายุ 97 ปี[2]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.