เยอรมนีตะวันออก (อังกฤษ: East Germany) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมัน: Deutsche Demokratische Republik[g]; อังกฤษ: German Democratic Republic[h]) เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่ดำรงอยู่ในช่วงปี 1949 ถึงปี 1990 โดยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเยอรมันที่ถูกปกครองโดยอดีตสหภาพโซเวียต หลังจากการยึดครองเยอรมนีของกองทัพโซเวียตสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีตะวันออกเป็นประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ ในช่วงสงครามเย็น โดยเยอรมนีตะวันออกได้นิยามตัวเองว่าเป็นรัฐสังคมนิยม "ของคนงานและชาวนา"[7] และเขตที่ถูกยึดครอง ได้รับการปกครองโดยกองกำลังโซเวียตในตอนท้ายของสงครามโลกครั้งที่สอง เขตยึดครองโซเวียตตามข้อตกลงพ็อทซ์ดัมซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแนวโอเดอร์–ไนเซอ เขตยึดครองโซเวียตล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก แต่ไม่รวมถึง เป็นผลให้เบอร์ลินตะวันตกยังคงอยู่นอกเขตอำนาจของเยอรมนีตะวันออก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี Deutsche Demokratische Republik | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1949–1990 | |||||||||
ดินแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (ประเทศเยอรมนีตะวันออก) โดยก่อตั้งในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1949 จนกระทั่งถูกยุบในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 | |||||||||
สถานะ | สมาชิกกติกาสัญญาวอร์ซอ (1955–1989) รัฐบริวารของสหภาพโซเวียต (1949–1989)[1] สมาชิกคอมิคอน (1950–1990)[2] | ||||||||
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | เบอร์ลินตะวันออก[a] (โดยพฤตินัย) | ||||||||
ภาษาราชการ | เยอรมัน ซอร์เบีย (ในส่วนของเขตเดรสเดินและเขตค็อทบุส) | ||||||||
ศาสนา | ดูศาสนาในประเทศเยอรมนีตะวันออก | ||||||||
เดมะนิม | ชาวเยอรมันตะวันออก | ||||||||
การปกครอง | สหพันธ์ ลัทธิมากซ์-เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม (1949–1952) รัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์-เลนิน รัฐพรรคการเมืองเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม (1952–1989) รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา (1989–1990) | ||||||||
เลขาธิการ | |||||||||
• ค.ศ. 1946–1950[b] | วิลเฮ็ล์ม พีคกับอ็อทโท โกรเทอโวล[c] | ||||||||
• ค.ศ. 1950–1971 | วัลเทอร์ อุลบริชท์ | ||||||||
• ค.ศ. 1971–1989 | เอริช ฮ็อนเน็คเคอร์ | ||||||||
• ค.ศ. 1989[d] | เอก็อน เคร็นทซ์ | ||||||||
ประมุขแห่งรัฐ | |||||||||
• 1949–1960 (คนแรก) | วิลเฮ็ล์ม พีค | ||||||||
• 1990 (คนสุดท้าย) | ซาบีเนอ แบร์คมัน-โพล | ||||||||
หัวหน้ารัฐบาล | |||||||||
• ค.ศ. 1949–1964 (คนแรก) | อ็อทโท โกรเทอโวล | ||||||||
• ค.ศ. 1990 (คนสุดท้าย) | โลทาร์ เดอ เม็ซซีแอร์ | ||||||||
สภานิติบัญญัติ | หอประชารัฐ (สภาสูง) หอประชาชน (สภาล่าง) | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามเย็น | ||||||||
• ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ | 7 ตุลาคม 1949 | ||||||||
16 มิถุนายน ค.ศ. 1953 | |||||||||
14 พฤษภาคม 1955 | |||||||||
4 มิถุนายน 1961 | |||||||||
• สนธิสัญญาพื้นฐาน กับประเทศเยอรมนีตะวันตก | 13 มิถุนายน 1973 | ||||||||
18 กันยายน ค.ศ. 1973 | |||||||||
13 ตุลาคม ค.ศ. 1989 | |||||||||
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 | |||||||||
12 กันยายน ค.ศ. 1990 | |||||||||
3 ตุลาคม 1990 | |||||||||
พื้นที่ | |||||||||
• รวม | 108,333 ตารางกิโลเมตร (41,828 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1950 | 18,388,000[e][3] | ||||||||
• 1970 | 17,068,000 | ||||||||
• 1990 | 16,111,000 | ||||||||
149 ต่อตารางกิโลเมตร (385.9 ต่อตารางไมล์) | |||||||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 1989 (ประมาณ) | ||||||||
• รวม | 525.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] | ||||||||
• ต่อหัว | 42,004 ดอลลาร์สหรัฐ[4] | ||||||||
เอชดีไอ (1989) | 0.953[5] สูงมาก | ||||||||
สกุลเงิน |
| ||||||||
เขตเวลา | (UTC+1) | ||||||||
ขับรถด้าน | ขวา | ||||||||
รหัสโทรศัพท์ | +37 | ||||||||
โดเมนบนสุด | .dd[f][6] | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ประเทศเยอรมนี | ||||||||
ธงชาติเยอรมนีตะวันออกที่นำมาใช้ใน ค.ศ. 1949 คล้ายกับธงของประเทศเยอรมนีตะวันตก ใน ค.ศ. 1959 รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้ตีพิมพ์ธงใหม่พร้อมกับเพลงชาติ เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างตะวันออกและตะวันตก |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีก่อตั้งขึ้นในเขตโซเวียต ขณะที่สหพันธรัฐจัดตั้งขึ้นในสามเขตตะวันตก เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต[8] เจ้าหน้าที่ยึดครองโซเวียตได้เริ่มถ่ายโอนความรับผิดชอบในการบริหารให้กับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนีในปี 1948 และเริ่มมีบทบาทเป็นรัฐเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 อย่างไรก็ตามกองทัพโซเวียตยังคงกำลังอยู่ในประเทศตลอดช่วงสงครามเย็น จนถึง 1989 เยอรมนีตะวันออกถูกปกครองโดยพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี แม้ว่าพรรคอื่น ๆ ในนามขององค์กรพันธมิตรแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติเยอรมนี[9] พรรคเอกภาพสังคมนิยมยังได้บังคับให้ทุกโรงเรียนต้องสอนแนวคิดลัทธิมากซ์ - เลนิน และภาษารัสเซีย[10]
เศรษฐกิจมีการวางแผนจากส่วนกลางและเป็นของรัฐมากขึ้น[11] ราคาที่อยู่อาศัยสินค้าพื้นฐานและบริการถูกกำหนดโดยนักวางแผนของรัฐบาลกลางมากกว่าการเพิ่มขึ้นและลดลงตามอุปสงค์และอุปทาน และได้รับเงินอุดหนุนอย่างมาก แม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามอย่างมหาศาลให้กับสหภาพโซเวียต แต่ก็กลายเป็นเศรษฐกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในกลุ่มตะวันออก การอพยพไปทางเยอรมนีตะวันตกเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากผู้อพยพหลายคนเป็นเยาวชนที่มีการศึกษาดีทำให้เศรษฐกิจของประเทศอ่อนแอลง รัฐบาลเสริมสร้างพรมแดนด้านเยอรมนีตะวันตกและในปี 1961 รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้สร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นมา หลายคนที่พยายามหลบหนีจะถูกสังหารโดยเจ้าหน้าที่ชายแดน หรือโดนกับดักหลุมพรางเช่นทุ่นระเบิดเป็นต้น[12]
ในปี 1989 ปัญหาทางสังคม, เศรษฐกิจ และการเมืองที่มากขึ่นในเยอรมนีตะวันออกและต่างประเทศได้นำไปสู่การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและการจัดตั้งรัฐบาลที่มุ่งมั่นในการเปิดเสรี ส่งผลให้เกิดการจัดการเลือกตั้งเสรีขึ้นเป็นครั้งแรกในเยอรมนีตะวันออกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 1990[13] นำไปสู่การเจรจาระหว่างเยอรมนีทั้งสองประเทศ และ ชาติมหาอำนาจอีกสี่ชาติที่เคยยึดครองเยอรมนีในอดีต จึงก่อให้เกิดการลงนามในข้อตกลงของ สนธิสัญญาสองบวกสี่ (สนธิสัญญาว่าด้วยการตกลงขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับดินแดนเยอรมนี) ณ กรุงมอสโก สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1990 โดยให้อำนาจอธิปไตยอย่างสมบูรณ์แก่ประเทศเยอรมนีที่รวมกันใหม่ และเยอรมนีได้รวมตัวกันอีกครั้งเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1990 และกลายเป็นรัฐอธิปไตยอย่างเต็มที่อีกครั้ง ผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์คนสุดท้ายของเยอรมนีตะวันออกคือ เอก็อน เคร็นทซ์ ได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาก่ออาชญากรรมในช่วงสงครามเย็นหลังเยอรมนีรวมประเทศ
ด้านภูมิศาสตร์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีติดกับทะเลบอลติกไปทางทิศเหนือ สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ไปทางทิศตะวันออก, เชโกสโลวาเกียไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และเยอรมนีตะวันตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตก ภายในเยอรมนีตะวันออกยังมีล้อมนอกรอบเขตโซเวียตของเบอร์ลินภายใต้การยึดครองของสัมพันธมิตร เรียกว่า เบอร์ลินตะวันออก ซึ่งได้กลายเป็นเมืองหลวงในทางพฤตินัย นอกจากนี้ยังมีล้อมรอบสามเขตที่ยึดครองโดยสหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสถูกเรียกว่า เบอร์ลินตะวันตก ทั้งสามเขตถูกครอบครองโดยประเทศตะวันตกถูกปิดผนึกออกจากส่วนที่เหลือของเยอรมนีตะวันออกโดยกำแพงเบอร์ลินจากการก่อสร้างในปี 1961 จนกระทั่งถูกทุบลงในปี 1989
ข้อตกลงการตั้งชื่อ
ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Deutsche Demokratische Republik (สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี) มักจะย่อด้วยคำว่า DDR ทั้งสองคำจะถูกใช้ในเยอรมนีตะวันออก ด้วยการใช้ที่เพิ่มมากขึ่นของรูปแบบย่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เยอรมนีตะวันออกได้ถือว่าชาวเยอรมันตะวันตกและชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นชาวต่างชาติหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่สองในปี ค.ศ. 1968 ชาวเยอรมันตะวันตกและรัฐบุรุษต่างได้หลีกเลี่ยงการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการและใช้คำย่อ แทนที่จะใช้คำอื่นๆ เช่น ออสโซน (โซนตะวันออก)[14] Sowjetische Besatzungszone (เขตการยึดครองของโซเวียต; มักจะย่อด้วยคำว่า SBZ) และ sogenannte DDR[15] (หรือ "เรียกว่า GDR")[16]
ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองในเบอร์ลินตะวันออกที่ถูกเรียกว่า Pankow (ที่นั่งของกองบัญชาการแห่งกองทัพโซเวียตในเยอรมนีตะวันออกที่ถูกเรียกว่า Karlshorst[17]) เมื่อเวลาผ่านไป, อย่างไรก็ตาม, คำย่อว่า DDR ยังถูกใช้มากขึ้นเรื่อยๆโดยชาวเยอรมันตะวันตกและสื่อเยอรมันตะวันตก[18]
คำว่า Westdeutschland (เยอรมนีตะวันตก) เมื่อถูกใช้โดยชาวเยอรมันตะวันตกที่เกือบตลอดที่อ้างอิงไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเยอรมนีตะวันตก และไม่ใช่พื้นที่ภายในเขตแดนของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี อย่างไรก็ตาม, การใช้คำนี้ยังไม่ถูกเสมอไป จากตัวอย่างเช่น ชาวเบอร์ลินตะวันตกมักใช้คำว่า Westdeutschland เพื่อกล่าวถึงสหพันธ์สาธารณรัฐ[19] ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง, Ostdeutschland (เยอรมนีตะวันออก) เป็นการใช้คำเพื่ออ้างอิงถึงดินแดนทั้งหมดทางตะวันออกของแม่น้ำเอ็ลเบอ (แม่น้ำเอ็ลเบอตะวันออก) เป็นผลสะท้อนให้เห็นในผลงานของนักสังคมนิยม มักซ์ เวเบอร์และนักทฤษฎีการเมือง คาร์ล ซมิตต์[20][21][22][23][24]
ประวัติศาสตร์
การอธิบายถึงผลกระทบภายในของระบอบในเยอรมนีตะวันออก จากภาพรวมของประวัติศาสตร์เยอรมนีในระยะเวลาอันยาวนาน นักประวัติศาสตร์ เจอร์ฮาร์ด เอ. ริตเตอร์ (ค.ศ. 2002) ได้แย้งว่า รัฐเยอรมนีตะวันออกได้ถูกกำหนดโดยสองกองกำลังหลักคือ ฝ่ายคอมมิวนิสต์สายโซเวียตในมือข้างหนึ่งและขนบประเพณีเยอรมันได้ผ่านการคัดกรองผ่านประสบการณ์ระหว่างสงครามของคอมมิวนิสต์ในด้านอื่น ๆ มันได้ถูกจำกัดโดยตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพของความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้นของฝ่ายตะวันตก ซึ่งชาวเยอรมันตะวันออกได้เปรียบเทียบกับประเทศของตน การเปลี่ยนแปลงที่ได้กระทำโดยคอมมิวนสต์เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดมากที่สุดในการสิ้นสุดของทุนนิยมและการเปลี่ยนแปลงโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ในยุทธภิวัตน์ของสังคม และในแรงผลักดันทางการเมืองของระบบการศึกษาและสื่อ ในทางกลับกัน มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ที่มีอิสระในด้านทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีพวิศวกรรม คริสจักรนิกายโปรเตสแตนต์ และในวิถีชีวิตของชนชั้นกลางหลายคน นโยบายทางสังคม ได้กล่าวว่า Ritter กลายเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมที่สำคัญในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาและสังคมนิยมแบบผสมผสานและส่วนดั้งเดิมเกี่ยวกับความเท่าเทียม
การกำเนิด
ที่การประชุมยัลตาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตร (สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียต) ได้เห็นตกลงกันว่าจะแบ่งแยกประเทศของนาซีเยอรมนีที่ได้พ่ายแพ้ไปแล้วให้กลายเป็นเขตยึดครอง และแบ่งแยกกรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี ท่ามกลางอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นกัน ในช่วงแรกการสร้างเขตยึดครองทั้งสาม ได้แก่ อเมริกัน อังกฤษ และโซเวียต ต่อมาเขตยึดครองของฝรั่งเศสได้ถูกแบ่งแยกออกมาจากเขตอเมริกันและอังกฤษ
การก่อตั้ง ปี ค.ศ. 1949
การปกครองของพรรคคอมมิวสต์ เป็นที่รู้จักกันคือ พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (SED) ถูกก่อตั้งในเดือนเมษายน ค.ศ. 1946 จากการรวมตัวกันระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์เยอรมนี (KPD) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) โดยอาณัติของโจเซฟ สตาลิน อดีตทั้งสองฝ่ายเป็นคู่แข่งที่มีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อพวกเขาได้เคลื่อนไหวก่อนที่นาซีได้รวมรวมอำนาจไว้ทั้งหมดและได้ถูกประกาศว่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายได้สร้างความวุ่นวายต่อพวกเขา การรวมตัวกันของทั้งสองฝ่ายกลายเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ใหม่ของนักสังคมนิยมเยอรมันในการเอาชนะศัตรูทั่วไปของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ถือเสียงส่วนใหญ่ที่มีอำนาจควบคุมนโยบายทั้งหมด SED เป็นพรรคที่ปกครองจากตลอดระยะเวลาของรัฐเยอรมนีตะวันออก มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ซึ่งกองกำลังทหารยังคงรักษาการณ์ในเยอรมนีตะวันออกจนกระทั่งได้ถูกยุบลงในปี ค.ศ. 1991 (สหพันธรัฐรัสเซียยังคงให้กองกำลังทหารยังคงรักษาการณ์ในสิ่งที่เคยเป็นเยอรมนีตะวันออกจนถึง ค.ศ. 1994) ด้วยวัตถุประสงค์ที่ได้ระบุไว้ว่าเพื่อตอบโต้ฐานที่มั่นของนาโต้ในเยอรมนีตะวันตก นักประวัติศาสตร์ได้ถกเถียงกันว่า การตัดสินใจในการจัดตั้งประเทศที่แยกจากกันได้ถูกริเริ่มโดยสหภาพโซเวียตหรือ SED
ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกได้ถูกก่อตั้งและได้รับเอกราชจากผู้ยึดคีอง สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมันได้ถูกก่อตั้งในเยอรมนีตะวันออกในปี ค.ศ. 1949 การสร้างทั้งสองรัฐขึ้นในปี ค.ศ. 1945 ส่วนหนึ่งของเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1952 (ในสิ่งที่กลายเป็นที่รู้จักกันคือ โน้ตสตาลิน) สตาลินได้ยื่นข้อเสนอให้รวมประเทศเยอรมนีด้วยนโยบายความเป็นกลาง, ด้วยปราศจากเงื่อนไขใดๆเกี่ยวกับนโยบายทางเศรษฐกิจและด้วยการรับประกันสำหรับ"สิทธิมนุษย์และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเสรีภาพในการพูด กดดัน การชักชวนทางศาสนา, ความเชื่อมั่นทางการเมือง และการชุมนุม" และเคลื่อนไหวอย่างเสรีของพรรคประชาธิปไตยและองค์กร ตอนนี้ได้ถูกปิดลง การรวมประเทศไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความเป็นผู้นำของเยอรมนีตะวันตก และอำนาจของนาโต้ได้ปฏิเสธข้อเสนอโดยอ้างว่าเยอรมนีควรที่จะเข้าร่วมนาโต้และการเจรจาต่อรองกับสหภาพโซเวียตจะถูกมองว่าเป็นการยอมจำนน มีการอภิปรายหลายครั้งเกี่ยวกับมีโอกาสที่จะรวมตัวอีกครั้งหรือไม่ซึ่งพลาดในปี ค.ศ. 1952
ในปี ค.ศ. 1949 โซเวียตได้หันไปควบคุมเยอรมนีตะวันออกเหนือต่อพรรคเอกภาพสังคมนิยม ผู้นำโดย วิลเฮ็ล์ม พีค (ค.ศ. 1876-1960) ซึ่งเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี และดำรงตำแหน่งจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม ในขณะที่ผู้บริหารส่วนใหญ่ได้สมมุติโดยเลขาธิการใหญ่ วัลเทอร์ อุลบริชท์ ผู้นำสังคมนิยม อ็อทโท โกรเทอโวล (ค.ศ. 1894-1964) เป็นนายกรัฐมนตรีจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรม
รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกได้ประณามความล้มเหลวของเยอรมนีตะวันตกในทำให้เกิดการขจัดและละทิ้งความเกี่ยวข้องกับอดีตนาซีที่จำคุกเป็นจำนวนมาก และขัดขวางไม่ให้พวกเขากลับมาสู่ตำแหน่งรัฐบาลอีก พรรคเอกภาพสังคมนิยมได้กำหนดเป้าหมายหลักของการกำจัดร่องรอยของระบอบฟาสซิสต์ทั้งหมดของเยอรมนีตะวันออก พรรคเอกภาพสังคมนิยมได้อ้างว่าจะสนับสนุนการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยและการปกป้องเสรีภาพส่วนบุคคลในการสร้างสังคมนิยม
เขตยึดครอง
ในการประชุมยัลตาและพ็อทซ์ดัม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จัดตั้งกองกำลังทหารยึดครองร่วมกันและบริหารประเทศเยอรมนีผ่านสภาควบคุมฝ่ายสัมพันธมิตร (ACC) สี่มหาอำนาจ (สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ สหภาพโซเวียต และฝรั่งเศส) รัฐบาลทหารที่มีประสิทธิภาพจนถึงฟื้นฟูอธิปไตยของเยอรมัน ในเยอรมนีตะวันออก เขตยึดครองของโซเวียต (SBZ – Sowjetische Besatzungszone) ประกอบด้วยห้ารัฐ (Länder) เมคเลินบวร์ค-ฟอร์พ็อมเมิร์น บรันเดินบวร์ค แซกโซนี ซัคเซิน-อันฮัลท์ และทูรินเจีย
หมายเหตุ
- ไม่ยอมรับโดยสามอำนาจ: ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ
- พรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนีก่อตั้งในเยอรมนีภายใต้การยึดครองของโซเวียต ก่อนการก่อตั้งประเทศเยอรมนีตะวันออก
- ถึงแม้ว่า .dd ถูกใช้ในฐานะรหัสไอเอสโอสำหรับเยอรมนีตะวันออก มันไม่ถูกใช้ก่อนที่ประเทศนี้ถูกรวมกับฝั่งตะวันตก
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.