เยรูซาเลม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยรูซาเลม (อังกฤษ: Jerusalem), เยรูชาลัยม์ (ฮีบรู: יְרוּשָׁלַיִם ) หรือ อัลกุดส์ (อาหรับ: القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี โดยชาวคานาอันซึ่งเป็นชาวอาหรับโบราณที่อยู่ในกลุ่มชาติพันธ์หลักของชาวเซมิติก (วงศ์วานของเชม) ได้อพยพออกจากใจกลางคาบสมุทรอาหรับเข้ามาตั้งถิ่นฐานและสร้างชุมชนในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นเมืองเก่าของกรุงเยรูซาเลมตั้งแต่ราวสี่พันปีก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมได้กลายเป็นปราการแห่งความเชื่อในพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว นั่นคือพระเป็นเจ้าของอาดัมและของอับราฮัม ผู้เป็นปฐมศาสดาและปฐมบรรพบุรุษของชาวอาหรับและของชาวยิว ในปัจจุบัน ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน แต่การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
เยรูซาเลม | |
---|---|
จากบนซ้าย: ทัศนียภาพของเยรูซาเลมเมื่อมองจากทิศใต้, ตลาดในเขตเมืองเก่า, มามิลลามอลล์, รัฐสภาอิสราเอล, โดมแห่งศิลา, ปราการแห่งดาวิด, กำแพงประจิม | |
สมญา: อิร์ ฮาโกเดช (นครศักดิ์สิทธิ์) | |
พิกัด: 31°47′N 35°13′E | |
บริหารโดย | อิสราเอล |
อ้างสิทธิโดย | อิสราเอลและปาเลสไตน์[note 1] |
การตั้งรกราก | 4500 ปีก่อน ค.ศ. |
เมืองดาวิด | 1010 ปีก่อน ค.ศ. |
กำแพงเมืองเก่าในปัจจุบันถูกสร้าง | ค.ศ. 1541 |
การแบ่งเยรูซาเลมเป็นตะวันออก-ตะวันตก | ค.ศ. 1948 |
การผนวกรวมอิสราเอล | ค.ศ. 1967 |
กฎหมายเยรูซาเลม | ค.ศ. 1980 |
การปกครอง | |
• องค์กร | เทศบาลเยรูซาเลม |
• นายกเทศมนตรีฝ่ายอิสราเอล | Nir Barkat |
• นายกเทศมนตรีฝ่ายปาเลสไตน์ (เยรูซาเลมตะวันออก) | Zaki al-Ghul |
พื้นที่ | |
• ตัวเมือง | 125.15 ตร.กม. (48.32 ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล | 652 ตร.กม. (252 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 754 เมตร (2,474 ฟุต) |
ประชากร (2016) | |
• ตัวเมือง | 882,652 คน |
• ความหนาแน่น | 7,100 คน/ตร.กม. (18,000 คน/ตร.ไมล์) |
• รวมปริมณฑล[4] | 1,253,900 คน |
กลุ่มประชากร (ค.ศ. 2016)[5] | |
• ชาวยิว | 64% |
• ชาวอาหรับ | 35% |
• อื่น ๆ | 1% |
เขตเวลา | UTC+02:00 (IST, PST) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+03:00 (IDT, PDT) |
ไปรษณีย์ | 9XXXXXX |
รหัสโทรศัพท์ | +972-2 |
เว็บไซต์ | jerusalem.muni.il (Israeli) |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | นครเก่าเยรูซาเลมและกำแพงนคร |
ประเภท | มรดกโลกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์ | ii, iii, vi |
ขึ้นเมื่อ | ค.ศ. 1981 |
เลขอ้างอิง | 148 |
ตกอยู่ในภาวะอันตราย | ค.ศ. 1982 – ปัจจุบัน |
เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล ที่มาทีหลังได้มีการก่อสร้างขยายเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์[6] ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง[7] มีส่วนหนึ่งของเยรูซาเลมที่เรียกว่า "เมืองดาวิด" ปรากฏการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สี่พันปีก่อนคริสตกาลจากการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวคานาอันที่เป็นชาวอาหรับโบราณในกลุ่มชาติพันธ์เซมิติก กำแพงเมืองเยรูซาเลมซึ่งยังคงตั้งตะหง่านจนถึงปัจจุบันสร้างขึ้นในปี 1538 ในรัชกาลสุลัยมานผู้เกรียงไกร พื้นที่ภายในกำแพงเรียกว่าย่านเมืองเก่า ซึ่งแบ่งออกเป็นสี่เขตด้วยกันได้แก่ เขตอาร์มีเนีย, เขตยิว, เขตคริสเตียน และเขตมุสลิม[8] ย่านเมืองเก่านี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกในปีค.ศ. 1981 และยังเป็นหนึ่งในมรดกโลกที่กำลังตกอยู่ในภาวะอันตราย[9]
เยรูซาเลมได้รับขนานนามว่าเป็น "นครศักดิ์สิทธิ์" ของศาสนาทั้งสามในกลุ่มศาสนาอับราฮัมอันได้แก่ ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ซึ่งในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า เมื่อกษัตริย์ดาวิดทรงพิชิตเยรูซาเลมมาจากพวกเยบุส ก็ทรงสถาปนาเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอิสราเอล-ยูดาห์ ต่อมา กษัตริย์ซาโลมอน โอรสของกษัตริย์ดาวิด ทรงสร้างพระวิหารแรกขึ้นที่เมืองนี้ เหตุการณ์อันเกิดขึ้นในช่วงหนึ่งพันปีก่อนคริสตกาลนี้ได้ถือเป็นศูนย์รวมเชิงสัญลักษณ์ทั้งมวลของชาวยิว ความศักดิ์สิทธิ์ของเยรูซาเลมในศาสนาคริสต์มีทั้งที่ปรากฏในพันธสัญญาเดิมฉบับแปลเป็นกรีก (หนังสือ Septuagint)[10] ตลอดส่วนที่ถูกกล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ตอนพระเยซูถูกตรึงกางเขน ในศาสนาอิสลามนิกายซุนนีได้ถือว่าเยรูซาเลมเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุดเป็นลำดับสามรองจากนครมักกะฮ์และอัลมะดีนะฮ์[11] ในปีค.ศ. 610 เยรูซาเลมกลายเป็นชุมทิศแห่งแรกสำหรับการประกอบพิธีละหมาดของชาวมุสลิม[12] และสิบปีหลังจากนั้นศาสดานบีมุฮัมมัดได้เดินทางในยามค่ำคืนจากนครมักกะฮ์มายังกรุงเยรูซาเลมเพื่อขึ้นสู่สวรรค์ไปรับธรรมบัญญัติจากพระเป็นเจ้าให้ศรัทธาชนต้องนมัสการวันละห้าเวลา และพระเป็นเจ้าทรงกำหนดให้การนมัสการหรือการละหมาดนี้เป็นเสาหลักที่ค้ำจุนศาสนาของบุคคล ดังปรากฏในพระคัมภีร์อัลกุรอาน[13][14] และสถานที่ที่ ศาสดานบีมูฮัมมัดได้ขึ้นสู่สวรรค์เพื่อไปรับธรรมบัญญัติแห่งการนมัสการหรือการละหมาดนี้อยู่ตรงบริเวณที่เป็นโดมทองหรือโดมแห่งศิลา ส่วนบริเวณที่เป็นชุมทิศแรกสำหรับการนมัสการในศาสนาอิสลามนั้นคือบริเวณที่เป็นมัสยิดอัลอักศอ ด้วยบันทึกทางประวัติศาสตร์นี้เองทำให้เมืองเก่าเยรูซาเลมซึ่งมีพื้นที่เพียง 0.9 ตารางกิโลเมตร เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้างอันมีความสำคัญทางศาสนามากมาย โดยเฉพาะบนเนินพระวิหาร อันเป็นที่ตั้งของ กำแพงประจิม, โดมแห่งศิลา, มัสยิดอัลอักศอ
ปัจจุบัน สถานภาพของเยรูซาเลมยังเป็นประเด็นแกนกลางประเด็นหนึ่งในความขัดแย้งอิสราเอล–ปาเลสไตน์ ระหว่างสงครามอาหรับ–อิสราเอลปี 1948 เยรูซาเลมตะวันตกรวมอยู่ใบรรดาดินแดนที่ถูกอิสราเอลยึดและผนวกในภายหลังด้วย ส่วนเยรูซาเลมตะวันออก รวมทั้งนครเก่า ถูกจอร์แดนยึดและผนวกในภายหลัง ประเทศอิสราเอลยึดเยรูซาเลมตะวันออกจากจอร์แดนระหว่างสงครามหกวันปี 1967 แล้วผนวกเข้าเป็นเยรูซาเลมร่วมกับดินแดนแวดล้อมเพิ่มเติม กฎหมายเยรูซาเลมปี 1980 อันเป็นกฎหมายหลักพื้นฐานของอิสราเอลฉบับหนึ่ง อ้างถึงเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงอันแบ่งแยกมิได้ของประเทศ อำนาจทั้งสามฝ่ายของรัฐบาลอิสราเอลตั้งอยู่ในเยรูซาเลม รวมทั้งนัสเซต (รัฐสภาอิสราเอล) ทำเนียบนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดี และศาลสูงสุด ทว่า ประชาคมนานาชาติปฏิเสธการผนวกดังกล่าวว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายและถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครอง อิสราเอลมีการอ้างสิทธิ์อธิปไตยที่เข้มแข็งกว่าเหนือเยรูซาเลมตะวันตก ประชาคมนานาชาติ (เว้นแต่เพียงจากสหรัฐและสาธารณรัฐเช็ก) ไม่รับรองเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอล และนับแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 นครดังกล่าวไม่มีสถานทูตต่างประเทศ แม้ประธานาธิบดีสหรัฐเคยมีคำสั่งให้ย้ายสถานทูตไปเยรูซาเลมก็ตาม เยรูซาเลมยังเป็นที่ตั้งของสถาบันนอกภาครัฐของอิสราเอลที่มีความสำคัญด้วย เช่น มหาวิทยาลัยฮีบรู และพิพิธภัณฑ์อิสราเอล พร้อมทั้งอาคารแห่งหนังสือ
ลำดับเหตุการณ์
- 1900 ปีก่อน ค.ศ. ชาวคานาอัน กลุ่มชนชาวเซมิติกที่เป็นหนึ่งในชาวอาหรับโบราณได้อพยพออกมาจากใจกลางของคาบสมุทรอาหรับและเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นดินแดนปาเลสไตน์ ได้สร้างเมืองต่าง ๆ ขึ้น เช่น เจริโค เยรูซาเลม
- 965 - 922 ปีก่อน ค.ศ.: ซาโลมอน โอรสของกษัตริย์ดาวิดได้ปรับปรุงเมืองนี้และสร้างพระวิหารแห่งพระเจ้าสูงสุด
- 587 ปีก่อน ค.ศ.: ชาวบาบิโลเนียได้ยึดกรุงเยรูซาเลม ทำลายพระวิหารและนำชาวยิวไปเป็นทาสในบาบิโลน
- 538 ปีก่อน ค.ศ.: ชาวยิวได้กลับสู่กรุงเยรูซาเลมและสร้างพระวิหารขึ้นใหม่
- 332 ปีก่อน ค.ศ.: อเล็กซานเดอร์มหาราชได้ยึดกรุงเยรูซาเลม
- 168 ปีก่อน ค.ศ.: กษัตริย์อันติโอกุส เอปีฟาเนส ได้ทำลายกำแพงกรุงเยรูซาเลม
- 63 ปีก่อน ค.ศ.: ถูกโรมันเข้ายึดเมือง
- 37 ปีก่อน ค.ศ.: เฮโรดได้แต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ของชาวยิว พระองค์เป็นนักก่อสร้างและปรับปรุงกรุงเยรูซาเลมให้สวยงาม ได้สร้างกำแพงและพระวิหาร ขึ้นมาใหม่ให้สวยงามกว่าในสมัยของกษัตริย์ของเฮโรดนี้เป็นกรุงเยรูซาเลมที่พระเยซูเจ้าทรงรู้จัก
- ค.ศ. 70: เยรูซาเลมถูกทำลายโดยจักรพรรดิติตุส
- ค.ศ. 132 - 135: จักรพรรดิเอเดรียนได้สร้างกรุงเยรูซาเลมขึ้นใหม่ตามแบบของเมืองโรมัน ตั้งชื่อว่า "เอลีอา กาปีโตลียา" และสร้างสักการสถานแด่พระเท็จเทียมบนซากของสักการสถานของชาวยิว และของชาวคริสต์ และพวกยิวถูกห้ามเข้าเมืองเด็ดขาด หากจับได้จะมีโทษมีประหารชีวิต
- ค.ศ. 330: จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 มหาราชผู้กลับใจได้เปลี่ยนกรุงเยรูซาเลมให้เป็นเมืองคริสต์
- ค.ศ. 614: เปอร์เซียเข้ายึดกรุงเยรูซาเลมและทำลายวัดวาอารามต่าง ๆ
- ค.ศ. 636: เยรูซาเลมตกอยู่ภายในอำนาจของชาวอาหรับ ซึ่งได้รักษาอำนาจนี้ตลอดมาเป็นเวลา 500 ปี
- ค.ศ. 1099: เยรูซาเลมถูกยึดโดยครูเสดและกลับเป็นที่ตั้งของอาณาจักรละติน
- ค.ศ. 1187: เยรูซาเลมถูกยึดโดยชาวมุสลิมภายใต้การนำของเศาะลาฮุดดีน
- ค.ศ. 1517: เมืองตกอยู่ในเงื้อมมือของชาวเติร์ก และอยู่ในการปกครองของพวกเขาตลอด 400 ปี
- ค.ศ. 1917: พันธมิตรได้ยึดกรุงเยรูซาเลมและให้อยู่ใต้การปกครองของทหารอังกฤษ
- ค.ศ. 1948: สงครามอาหรับ-อิสราเอล; เยรูซาเลมถูกแบ่งดินแดนเป็นเยรูซาเลมตะวันตก ปกครองโดยอิสราเอล และเยรูซาเลมตะวันออก ปกครองโดยจอร์แดน และเป็นเมืองหลวงของประเทศอิสราเอลในส่วนที่เป็นเยรูซาเลมตะวันตก ระหว่างสงคราม 6 วัน ใน ค.ศ. 1967 เยรูซาเลมตะวันออกจึงตกอยู่ ภายใต้การปกครองของอิสราเอล และตามกฎหมายซึ่งออกใน ค.ศ. 1980 เยรูซาเลมจึงเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลอย่างเป็นทางการ
- ค.ศ. 1967: สงคราม 6 วัน; ชาวอิสราเอลได้ยึดกรุงเยรูซาเลมเก่า ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจอร์แดน สถานการณ์ปัจจุบันยังยืดเยื้ออยู่ และชาวอาหรับรับไม่ค่อยได้ด้านประวัติศาสตร์ของคริสตชน เริ่มตั้งแต่ปีที่ 33 ของสมัยปกครองของกษัตริย์เฮโรด
ภูมิศาสตร์
เยรูซาเลมตั้งอยู่บนที่ราบสูงทางตอนใต้ของเทือกเขาจูเดียน มีอาณาเขตติดกับทะเลเดดซี (Dead Sea) ทางด้านตะวันออก และข้างฝั่งแม่น้ำจอร์แดนเป็นเทือกเขาโมอาบ (Moab) ที่แห้งแล้ง ทางตะวันตกติดกับที่ราบชายฝั่งและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) ห่างจากชายฝั่ง 58 กิโลเมตร ถนนหลวงเป็นเส้นทางสู่เมืองเยริโค (Jericho) ห่างประมาณ 57.6 กิโลเมตร ไปทางตะวันออกทางเหนือมุ่ง สู่จอร์แดน และทะเลสาบกาลิลี ถนนอาลอน (Allon) หรือ ยิกัล (Yigal) ตัดผ่านทะเลทรายยูเดีย นำสู่เมืองสะมาเรีย
ภูมิอากาศ
ข้อมูลภูมิอากาศของเยรูซาเลม | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 23.4 (74.1) |
25.3 (77.5) |
27.6 (81.7) |
35.3 (95.5) |
37.2 (99) |
36.8 (98.2) |
40.6 (105.1) |
38.6 (101.5) |
37.8 (100) |
33.8 (92.8) |
29.4 (84.9) |
26 (79) |
40.6 (105.1) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 11.8 (53.2) |
12.6 (54.7) |
15.4 (59.7) |
21.5 (70.7) |
25.3 (77.5) |
27.6 (81.7) |
29 (84) |
29.4 (84.9) |
28.2 (82.8) |
24.7 (76.5) |
18.8 (65.8) |
14 (57) |
21.53 (70.75) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 9.8 (49.6) |
10.5 (50.9) |
13.1 (55.6) |
16.8 (62.2) |
21.0 (69.8) |
23.3 (73.9) |
25.1 (77.2) |
25.0 (77) |
23.6 (74.5) |
21.1 (70) |
16.3 (61.3) |
12.1 (53.8) |
18.14 (64.66) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 6.4 (43.5) |
6.4 (43.5) |
8.4 (47.1) |
12.6 (54.7) |
15.7 (60.3) |
17.8 (64) |
19.4 (66.9) |
19.5 (67.1) |
18.6 (65.5) |
16.6 (61.9) |
12.3 (54.1) |
8.4 (47.1) |
13.51 (56.32) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | -3.4 (25.9) |
-2.4 (27.7) |
-0.3 (31.5) |
0.8 (33.4) |
7.6 (45.7) |
11 (52) |
14.6 (58.3) |
15.5 (59.9) |
13.2 (55.8) |
9.8 (49.6) |
1.8 (35.2) |
0.2 (32.4) |
−3.4 (25.9) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 133.2 (5.244) |
118.3 (4.657) |
92.7 (3.65) |
24.5 (0.965) |
3.2 (0.126) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0.3 (0.012) |
15.4 (0.606) |
60.8 (2.394) |
105.7 (4.161) |
554.1 (21.815) |
ความชื้นร้อยละ | 61 | 59 | 52 | 39 | 35 | 37 | 40 | 40 | 40 | 42 | 48 | 56 | 45.8 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 12.9 | 11.7 | 9.6 | 4.4 | 1.3 | 0 | 0 | 0 | 0.3 | 3.6 | 7.3 | 10.9 | 62 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 192.9 | 243.6 | 226.3 | 266.6 | 331.7 | 381.0 | 384.4 | 365.8 | 309.0 | 275.9 | 228.0 | 192.2 | 3,397.4 |
แหล่งที่มา 1: Israel Meteorological Service[15][16][17][18] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: NOAA (sun, 1961–1990)[19] |
ประชากร
กรุงเยรูซาเลม มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เมืองโบราณแห่งนี้ชุมชนนับถือศาสนายูดาห์ คริสต์ศาสนา นิกายอาร์เมเนียน และชาวมุสลิม ชนชาวยิวต้องทนทุกข์ทรมานระหว่าง ค.ศ. 1974-48 และได้รับการบูรณะใหม่ แบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารให้บรรยากาศความเป็นชนชาติตะวันออก
ชาวอาหรับแต่งกายแบบดั้งเดิมและทันสมัย คริสตชนได้รับอิทธิพลการแต่งกายทั้งจากตะวันตกและตะวันออก ธรรมศาลา (Synagogue) คริสต์ศาสนสถาน มัสยิดและที่พักอาศัย มีรูปแบบต่าง ๆ กันซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมแบบโมเสก (Mosaic) กลิ่นเครื่องเทศ สัญลักษณ์ของการปรุงอาหารแบบตะวันออก เสียงระฆังโบสถ์ที่กังวานและยาวนาน สัญญาณเรียกให้มาสวดมนต์ในสุเหร่ามุสลิม และท่วงทำนองเสียงสวดมนต์ของชาวยิวที่กำแพงตะวันตก หรือกำแพงร้องไห้ (Western Wall, Wailing Wall) เพิ่มเสน่ห์และชีวิตชีวาแก่เมืองนี้ บรรยากาศเหล่านี้สัมผัสได้เฉพาะในส่วนที่เป็นเมืองเก่า นอกกำแพงเมืองเยรูซาเลมเต็มไปด้วยบรรยากาศความทันสมัยทั้งถนน เส้นทางคมนาคม ตึกสูง ห้างสรรพสินค้า ย่านธุรกิจ โรงเรียน ร้านอาหารและร้านกาแฟ
สถิติปี ค.ศ. 1993 มีประชากร 556,000 คน ในจำนวนนี้ 401,000 คน เป็นชาวยิว อาศัยในเยรูซาเลมใหม่ และอีก 139,000 คน อาศัยทางตะวันออกและเยรูซาเลมเก่า จำนวนนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม มีเพียง 16,000 คน นับถือศาสนาคริสต์
ปี ค.ศ. | จำนวนประชากร |
---|---|
1844 | 15,510 |
1876 | 25,030 |
1896 | 45,420 |
1922 | 62,578 |
1931 | 90,053 |
1944 | 157,000 |
1948 | 165,000 |
1967 | 263,307 |
1980 | 407,100 |
1985 | 457,700 |
1990 | 524,400 |
1995 | 617,000 |
2000 | 657,500 |
2005 | 706,400 |
2010 | 775,000 |
2012 | 933,113 |
อ้างอิง
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.