แมนเชสเตอร์ (อังกฤษ: Manchester, /ˈmæntʃɪstər/)[1] เป็นนครและโบโรมหานคร ในเทศมณฑลเกรเทอร์แมนเชสเตอร์ ตอนเหนือของประเทศอังกฤษ มีประชากรในปี ค.ศ. 2013 จำนวน 514,417 คน[2] ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสองของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีมากถึง 2.55 ล้านคน[3] แมนเชสเตอร์ติดต่อกับที่ราบเชชเชอร์ทางทิศใต้ ติดต่อกับเทือกเขาเพนไนน์ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก ตัวเมืองของแมนเชสเตอร์นั้นมีแนวโน้มขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง โดยมีสภานครแมนเชสเตอร์ เป็นหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อมูลเบื้องต้น แมนเชสเตอร์ Manchester, ประเทศ ...
แมนเชสเตอร์

Manchester
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เมืองจากระยะไกล, บีดัมทาวเวอร์, ศาลแพ่งแมนเชสเตอร์, โรงแรมมิดแลนด์, วันแอนเจิลสแควร์, ศาลาว่าการเมืองแมนเชสเตอร์
ตามเข็มนาฬิกาจากด้านบน: เมืองจากระยะไกล, บีดัมทาวเวอร์, ศาลแพ่งแมนเชสเตอร์, โรงแรมมิดแลนด์, วันแอนเจิลสแควร์, ศาลาว่าการเมืองแมนเชสเตอร์
ตราราชการของแมนเชสเตอร์
ตราอาร์ม
สมญา: 
"คอตโตนอโพลิส", "แวร์เฮาส์ ซิตี",
แมดเชสเตอร์, "เดอะ เรนนี ซิตี"
คำขวัญ: 
"Concilio Et Labore" "ด้วยปัญญาและอุตสาหะ"
แผนที่แสดงตำแหน่งของแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ
แผนที่แสดงตำแหน่งของแมนเชสเตอร์ในอังกฤษ
ประเทศสหราชอาณาจักร
แคว้นอังกฤษ
ภาคนอร์ทเวสต์อิงแลนด์
เทศมณฑลทางพิธีการเกรตเตอร์แมนเชสเตอร์
ก่อตั้งคริสต์ศตวรรษที่ 1
ได้สถานะเมืองค.ศ. 1301
ได้สถานะนคร29 มีนาคม ค.ศ. 1853
การปกครอง
  สภาปกครองสภานครแมนเชสเตอร์
พื้นที่
  นคร44.7 ตร.กม. (17.3 ตร.ไมล์)
  เขตเมือง243.4 ตร.กม. (94.0 ตร.ไมล์)
ความสูง38 เมตร (125 ฟุต)
ประชากร
 (กลางปี ค.ศ. 2016)
  นคร541,300 คน
  ความหนาแน่น12,000 คน/ตร.กม. (31,000 คน/ตร.ไมล์)
  เขตเมือง2,553,379 คน
  รวมปริมณฑล2,794,000 คน
  เชื้อชาติ
  • ผิวขาว 66.7%
  • เอเชียใต้ 14.4%
  • ผิวดำ 8.6%
  • เชื้อสายผสม 4.7%
  • จีน 2.7%
  • อาหรับ 1.9%
  • อื่น ๆ 1.2%
เดมะนิมแมนคูเนียน (Mancunian)
เขตเวลาเวลามาตรฐานกรีนิช
  ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+1 (เวลาฤดูร้อนบริเตน)
เขตรหัสไปรษณีย์M, WA (บางส่วน)
เขตรหัสโทรศัพท์0161
รหัส ISO 3166GB-MAN
เว็บไซต์manchester.gov.uk
ปิด

บันทึกประวัติศาสตร์ของแมนเชสเตอร์เริ่มต้นจากการตั้งถิ่นฐานและการก่อสร้างป้อมปราการในยุคโรมัน ชื่อว่า มามูคิอุม หรือ แมนคูเนียม ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 79 ปีหลังคริสตกาล บริเวณเนินเขาใกล้จุดบรรจบของแม่น้ำเมดล็อกกับแม่น้ำเออร์เวลล์ ซึ่งอยู่ในเทศมณฑลแลงคาเชอร์ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาพื้นที่ทางตอนใต้ของแม่น้ำเมอร์ซีย์ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเชสเชียร์ในช่วงศตวรรษที่ 20[4] ตลอดเวลาในยุคกลาง แมนเชสเตอร์ยังคงเป็นเมืองแมนเนอร์เล็ก ๆ แต่เริ่มขยายตัวขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์เมื่อราวย่างเข้าศตวรรษที่ 19 ความเจริญรุ่งเรืองจากการผลิตสิ่งทอในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้มีการพัฒนาของเมืองอย่างรวดเร็ว[5] และส่งผลให้แมนเชสเตอร์กลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก[6]

แมนเชสเตอร์ได้รับฐานะนครเมื่อปี ค.ศ. 1853 ซึ่งเป็นนครของอังกฤษแห่งในรอบสามร้อยปี คลองเดินเรือสมุทรแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นคลองเดินเรือที่ยาวที่สุดในโลกในขณะนั้น เปิดใช้ในปี ค.ศ. 1894 ทำให้มีท่าเรือแมนเชสเตอร์ เชื่อมต่อเมืองไปยังทะเลเป็นระยะทาง 36 ไมล์ (58 กิโลเมตร) ไปทางทิศตะวันตก ความเจริญมั่งคั่งได้ซบเซาลงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องมาจากการเลิกสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต (en:deindustrialisation) แต่การลงทุนได้กลับมาเริ่มต้นจากเหตุระเบิดในแมนเชสเตอร์ ค.ศ. 1996 ซึ่งนำไปสู่การฟื้นฟูเมืองครั้งใหญ่

ในปี ค.ศ. 2014 เครือข่ายวิจัยโลกาภิวัฒน์และนครโลก (en:Globalization and World Cities Research Network) ได้จัดแมนเชสเตอร์เป็นนครโลกระดับบีตา และทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ หากไม่นับลอนดอน[7] แมนเชสเตอร์เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาเยือนมากที่สุดอันดับสามในสหราชอาณาจักร รองจากลอนดอน และเอดินบะระ[8] และได้การยอมรับจากหลายฝ่ายว่าเป็นเมืองรองของสหราชอาณาจักร[9][10] แมนเชสเตอร์เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงจากการกีฬา ขนส่ง ดนตรี ธุรกิจขนาดใหญ่ ผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม วัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม สื่อ และอุตสาหกรรม มีสถานีรถไฟแมนเชสเตอร์ลิเวอร์พูลโรดเป็นสถานีรถไฟขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองแห่งแรกของโลก และมีนักวิทยาศาสตร์ในเมืองที่แยกอะตอมได้เป็นครั้งแรก และพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเก็บโปรแกรมได้ (en:Manchester Small-Scale Experimental Machine) เครื่องแรกของโลก

ชื่อเมือง

ชื่อแมนเชสเตอร์มาจากชื่อในภาษาละติน คือ Mamucium หรือ Mancunium ซึ่งยังคงเป็นคำที่ใช้เรียกชาวเมืองแมนเชสเตอร์อยู่ คือ แมนคูเนียน (Mancunians, /mæŋkˈjuːnɪənz/) มีการสันนิษฐานว่าเป็นการถอดคำเดิมในภาษาไบรโตนิกเป็นอักษรละติน ซึ่งอาจมาจากคำว่า mamm- ("เต้านม" หมายถึง "เนินรูปเต้านม") หรืออาจมาจากคำว่า mamma ("แม่" หมายถึง เทพธิดาแห่งแม่น้ำเมดล็อก) โดยความหมายทั้งสองปรากฏในภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาไบรโตนิก นั่นคือ คำว่า mam หมายถึง "เต้านม" ในภาษาไอริช และหมายถึง "แม่" ในภาษาเวลส์[11] และมีการเติมคำปัจจัย -chester ซึ่งมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า คือ ceaster ("ป้อมปราการ; เมืองที่มีกำแพงป้องกัน")[12]

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ยุคเริ่มต้น

แมนเชสเตอร์ไม่มีหลักฐานการอยู่อาศัยของยุคก่อนประวัติศาสตร์มากนัก มีเพียงการค้นพบชุมชนกสิกรรมขนาดใหญ่ระหว่างการก่อสร้างลานวิ่งที่สองของท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์[13]

มีการตั้งรกรากในแมนเชสเตอร์แล้วในยุคโรมันเป็นอย่างช้า[14] นายพลโรมัน ไนอุส ยูลิอุส อากริโคลา (Gnaeus Julius Agricola) ได้ก่อสร้างป้อมที่มีชื่อว่า มามูคิอุม ราว 70 ปีหลังคริสตกาล ที่บริเวณเนินเขา ซึ่งแม่น้ำเมดลอกและแม่น้ำเออร์เวลล์ มาบรรจบกัน ฐานของป้อมรุ่นสุดท้ายยังคงปรากฏอยู่ที่คาสเซิลฟิลด์ ชาวโรมันถอนตัวออกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 และการตั้งถิ่นฐานได้ย้ายไปยังจุดที่แม่น้ำเออร์เวลล์และแม่น้ำเอิร์กบรรจบกันตั้งแต่ก่อนชัยชนะของชาวนอร์แมนที่อังกฤษในปีพ.ศ. 1609[15]

Thumb
แผนที่เมืองแมนเชสเตอร์ราว ค.ศ. 1650

โทมัส เดอลาแวร์ เจ้าคฤหาสน์ ได้ก่อตั้งโบสถ์ของวิทยาลัยขึ้นสำหรับตำบลในปีพ.ศ. 1964 โดยปัจจุบันเป็นมหาวิหารแมนเชสเตอร์ และสถานที่วิทยาลัยได้เป็นที่ตั้งของห้องสมุดเชแทมและโรงเรียนดนตรีเชเทม[13][15]

ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 แมนเชสเตอร์มีช่างทอผ้าชาวฟลามส์ไหลบ่ามาจำนวนมาก โดยมักถือว่าเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมสิ่งทอในภูมิภาค[16] แมนเชสเตอร์กลายมาเป็นศูนย์กลางสำคัญของการผลิตและค้าขายขนแกะและลินิน

เริ่มมีการใช้ฝ้ายปริมาณมากในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่ 17 โดยเริ่มต้นที่ผ้าฝ้ายผสมลินินเนื้อหยาบ แต่เมื่อประมาณกลางศตวรรษที่ 18 ผ้าฝ้ายบริสุทธิ์ก็เริ่มมีการผลิตและก็ได้เป็นวัสดุสำคัญแทนที่ขนสัตว์[15] แม่น้ำเออร์เวลล์และเมอร์ซีย์สามารถแล่นเรือผ่านได้ในปี พ.ศ. 2279 เปิดเส้นทางจากแมนเชสเตอร์ไปยังท่าเรือนฝั่งเมอร์ซีย์ คลองบริดจ์วอเทอร์ (Bridgewater canal) เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2304 นำถ่านหินจากเหมืองที่เวอร์สลีย์มายังใจกลางแมนเชสเตอร์ คลองนี้ขยายต่อไปยังเมอร์ซีย์ในปีพ.ศ. 2319 การแข่งขันและประสิทธิภาพที่พัฒนาขึ้นทำให้ต้นทุนถ่านหินและค่าขนส่งฝ้ายดิบลดลงถึงครึ่งหนึ่ง[15][13] แมนเชสเตอร์กลายมาเป็นตลาดสำคัญของสิ่งทอจากเมืองรอบๆ[15] ตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า เปิดขึ้นในปีพ.ศ. 2272[17] และคลังสินค้าจำนวนมาก ช่วยพัฒนาการพานิชย์ของเมือง ในปีพ.ศ. 2323 ริชาร์ด อาร์กไรท์ (Richard Arkwright) เริ่มก่อสร้างโรงฝ้ายแห่งแรกของแมนเชสเตอร์[13][17]

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปั่นฝ้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่แลงคาเชอร์ใต้และเชสเชอร์เหนือ เขตรอบนอกของแมนเชสเตอร์ และในช่วงหนึ่งแมนเชสเตอร์ได้เป็นศูนย์กลางการผลิตฝ้ายที่มีการผลิตมากที่สุด[18] และในเวลาต่อมา เป็นตลาดสินค้าฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก[15][19] แมนเชสเตอร์มีฉายาว่า "คอตตอโนโพลิส" และ "แวร์เฮาส์ซิตี" ในยุควิกตอเรีย[18]

แมนเชสเตอร์พัฒนาอุตสาหกรรมในหลากหลายสาขา ทำให้ได้รับยกย่องว่า ในปี พ.ศ. 2378 "แมนเชสเตอร์เป็นเมืองอุตสาหกรรมแรกและที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่างไม่มีข้อสงสัย"[19] ธุรกิจทางวิศวกรรมเริ่มแรกเกี่ยวข้องกับการค้าฝ้าย แต่ภายหลังขยายไปยังการผลิตทั่วไป อุตสาหกรรมเคมีก็เริ่มต้นจากการผลิตน้ำยาฟอกสีและย้อมสี และจึงขยายไปยังสาขาอื่น การค้าขายได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจการเงิน เช่น การธนาคารและการประกันภัย การค้าขายและประชากรที่เพิ่มขึ้นจำเป็นต้องมีระบบขนส่งและจัดจำหน่าย ทำให้มีการขยายระบบคลอง และแมนเชสเตอร์กลายมาเป็นเมืองปลายทางหนึ่งในทางรถไฟโดยสารระหว่างเมืองสายแรกของโลก นั่นคือทางรถไฟลิเวอร์พูล-แมนเชสเตอร์ การแข่งขันระหว่างการขนส่งหลากหลายรูปแบบทำให้ต้นทุนการขนส่งต่ำ[15] ในปีพ.ศ. 2421 จีพีโอ หรือสำนักงานไปรษณีย์ ให้บริการโทรศัพท์ครั้งแรกกับบริษัทในแมนเชสเตอร์[20]

มีการขุดคลอง แมนเชสเตอร์ ชิป เคอนาล (Manchester Ship Canal) ช่วยให้เรือจากมหาสมุทรตรงเข้าสู่ท่าเรือแมนเชสเตอร์ได้ โดยนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลกเกิดขึ้นบนชายฝั่งคลองนี้ที่แทรฟฟอร์ดพาร์ก[15] ในฐานะศูนย์กลางของระบอบทุนนิยม ก็ได้มีการจลาจลจากกลุ่มชนชั้นแรงงาน แมนเชสเตอร์เป็นหัวข้อศึกษาในเรื่อง ความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงานในอังกฤษ (Die Lage derarbeitenden Klasse in England) ของฟรีดริช เองเงิลส์ โดยเองเงิลส์ได้ใช้เวลาพอสมควรในและรอบๆแมนเชสเตอร์[21] จำนวนโรงปั่นฝ้ายในแมนเชสเตอร์ขึ้นถึงจุดสูงสุด 108 แห่งในปีพ.ศ. 2396[18] ในปีพ.ศ. 2456 ร้อยละ 65 ของฝ้ายในโลกผลิตขึ้นในบริเวณนี้ แต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งลดโอกาสการส่งออกในเวลาต่อมา[15]

สงครามโลกครั้งที่สอง

Thumb
ตู้ไปรษณีย์ที่รอดจากเหตุการณ์ระเบิด บนตู้มีแผ่นป้ายเขียนว่า "ตู้ไปรษณีย์นี้แทบไม่ได้รับความเสียหายในวันที่ 15 มิถุนายน 1996 เมื่อบริเวณนี้ถูกระเบิดทำลายอย่างหนัก ตู้นี้ถูกนำออกระหว่างการฟื้นฟูใจกลางเมือง และนำมาตั้งไว้ที่เดิมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 1999"

บริเวณแมนเชสเตอร์มีการระดมกำลังอย่างหนัก เช่นเดียวกับส่วนอื่นๆของสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แมนเชสเตอร์เป็นเป้าหมายหลักแห่งหนึ่งของกองทัพอากาศเยอรมนี และการโจมตีทางอากาศได้ขยายไปยังเป้าหมายพลเรือนด้วย พื้นที่ส่วนใหญ่ของศูนย์กลางเมืองถูกทำลาย มีผู้เสียชีวิต 376 คนและบ้านถึง 30,000 หลัง[22] มหาวิหารแมนเชสเตอร์เป็นที่หนึ่งที่โดนโจมตีอย่างหนัก โดยต้องใช้เวลาฟื้นฟูถึง 20 ปี[23]

หลังจากสงครามสงบลง อุตสาหกรรมและการค้าฝ้ายยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง และตลาดแลกเปลี่ยนได้ปิดตัวลงในพ.ศ. 2511[15] ในปีพ.ศ. 2506 ท่าเรือแมนเชสเตอร์เป็นท่าเรืออันดับสามของประเทศ[24] มีการจ้างงานกว่า 3,000 คน แต่คลองไม่สามารถรองรับเรือบรรทุกขนาดใหญ่ได้ การจราจรจึงลดลง และท่าเรือต้องปิดในปีพ.ศ. 2525[25] อุตสาหกรรมหนักซบเซาลงตั้งแต่ช่วงหลังปีพ.ศ. 2500 และลดจำนวนลงอย่างมากหลังการปฏิรูปเศรษฐกิจในรัฐบาลของมาร์กาเรต แทตเชอร์ (ตั้งแต่พ.ศ. 2522) แมนเชสเตอร์มีงานน้อยลงถึง 150,000 งานระหว่างปีพ.ศ. 2504 และ 2526[15]

การฟื้นฟูเริ่มต้นขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 2530 โดยมีสิ่งใหม่ๆเช่น เมโทรลิงก์ บริดจ์วอเทอร์คอนเสิร์ตฮอลล์ และแมนเชสเตอร์อีฟนิงนิวส์อารีนา การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มชื่อเสียงในต่างประเทศ[26]

เหตุการณ์ระเบิด

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2540 กลุ่มกองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ (ไออาร์เอ หรือพีไออาร์เอ) วางระเบิดขนาดใหญ่ใกล้ห้างสรรพสินค้าใจกลางเมือง มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 200 คน สร้างความเสียหายอย่างหนักแก่อาคารโดยรอบ มีการจ่ายเงินประกันภัยสูงถึงกว่าสี่ร้อยล้านปอนด์[27]

จากการลงทุนหลังเหตุระเบิดและคอมมอนเวลท์เกมส์ครั้งที่ 17 ศูนย์กลางของเมืองแมนเชสเตอร์ได้มีการปฏิรูปหลายสิ่ง[26] มีหลายแห่งที่สร้างขึ้นหรือปรับปรุงใหม่ และได้กลายมาเป็นแหล่งชอปปิ้งและบันเทิงยอดนิยม แมนเชสเตอร์แอมเดลเป็นศูนย์การค้ากลางเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร[28]

การปกครอง

ภูมิศาสตร์

Thumb
แม่น้ำเออร์เวลล์มองจากสะพานแบล็กไฟเออส์
ข้อมูลเบื้องต้น แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ, แมนเชสเตอร์ (วิธีอ่าน) ...
แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
แมนเชสเตอร์ (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
69
 
6
1
 
 
50
 
7
1
 
 
61
 
9
3
 
 
51
 
12
4
 
 
61
 
15
7
 
 
67
 
18
10
 
 
65
 
20
12
 
 
79
 
20
12
 
 
74
 
17
10
 
 
77
 
14
8
 
 
78
 
9
4
 
 
78
 
7
2
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: Climate-Charts.com
ปิด

แมนเชสเตอร์ตั้งอยู่ที่พิกัด 53°28′0″N 2°14′0″W ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือระยะทาง 160 ไมล์ (260 กิโลเมตร) ตั้งอยู่ในพื้นที่แอ่งกระทะติดต่อกับเทือกเขาเพนไนน์ทางทิศเหนือและทิศตะวันออก เป็นเทือกเขาที่พาดตัวไปตามนอร์ทเทิร์นอิงแลนด์ และติตด่อกับที่ราบเชสเชอร์ทางทิศใต้ แมนเชสเตอร์อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของลิเวอร์พูล 35.0 ไมล์ (56.3 กิโลเมตร) และอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเชฟฟีลด์ 35.0 ไมล์ (56.3 กิโลเมตร) ทำให้นครแห่งนี้อยู่ตรงกลางระหว่างทั้งสองนคร ใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแมน้ำเออร์เวลล์ ใกล้จุดบรรจบกับแม่น้ำเมดล็อกและแม่น้ำเอิร์ก และอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างต่ำ คือ อยู่ระหว่าง 35 เมตร ถึง 42 เมตร (115 ฟุต ถึง 138 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล[29] แม่น้ำเมอร์ซีย์ไหลผ่านทางใต้ของแมนเชสเตอร์ ส่วนมากของเมืองชั้นใน โดยเฉพาะทางใต้ที่เป็นที่ราบ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเชิงเขาและทุ่งโล่งของเทือกเขาเพนไนนส์จากตึกสูงหลายที่ในเมือง ซึ่งมักจะปกคลุมด้วยหิมะในฤดูหนาว ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแมนเชสเตอร์มีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งแรกของโลก ซึ่งก็คือสภาพอากาศ ความใกล้ชิดกับท่าเรือทะเลของลิเวอร์พูล การใช้พลังงานจากแม่น้ำ และแหล่งสำรองถ่านหินที่อยูใกล้เคียง[30]

Thumb
นครแมนเชสเตอร์ แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ขยายเกินเขตเมือง
ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลภูมิอากาศของท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ ค่าระดับ: 69 m หรือ 226 ft (1981-2010) extremes (1958-2004), เดือน ...
ข้อมูลภูมิอากาศของท่าอากาศยานแมนเชสเตอร์ ค่าระดับ: 69 m หรือ 226 ft (1981-2010) extremes (1958-2004)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 14.3
(57.7)
16.5
(61.7)
21.7
(71.1)
25.1
(77.2)
26.7
(80.1)
31.3
(88.3)
32.2
(90)
33.7
(92.7)
28.4
(83.1)
25.6
(78.1)
17.7
(63.9)
15.1
(59.2)
33.7
(92.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 7.3
(45.1)
7.6
(45.7)
10.0
(50)
12.6
(54.7)
16.1
(61)
18.6
(65.5)
20.6
(69.1)
20.3
(68.5)
17.6
(63.7)
13.9
(57)
10.0
(50)
7.4
(45.3)
13.5
(56.3)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 4.5
(40.1)
4.6
(40.3)
6.7
(44.1)
8.8
(47.8)
11.9
(53.4)
14.6
(58.3)
16.6
(61.9)
16.4
(61.5)
14.0
(57.2)
10.7
(51.3)
7.1
(44.8)
4.6
(40.3)
10.0
(50)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 1.7
(35.1)
1.6
(34.9)
3.3
(37.9)
4.9
(40.8)
7.7
(45.9)
10.5
(50.9)
12.6
(54.7)
12.4
(54.3)
10.3
(50.5)
7.4
(45.3)
4.2
(39.6)
1.8
(35.2)
6.6
(43.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -12.0
(10.4)
-13.1
(8.4)
-9.7
(14.5)
-4.9
(23.2)
-1.7
(28.9)
0.8
(33.4)
5.4
(41.7)
3.6
(38.5)
0.8
(33.4)
-4.7
(23.5)
-7.5
(18.5)
-13.5
(7.7)
−13.5
(7.7)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 72.3
(2.846)
51.4
(2.024)
61.2
(2.409)
54.0
(2.126)
56.8
(2.236)
66.1
(2.602)
63.9
(2.516)
77.0
(3.031)
71.5
(2.815)
92.5
(3.642)
81.5
(3.209)
80.7
(3.177)
828.8
(32.63)
ความชื้นร้อยละ 87 86 85 85 85 87 88 89 89 89 88 87 88
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 13.1 9.7 12.3 11.2 10.4 11.1 10.9 12.0 11.1 13.6 14.1 13.5 142.9
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 6 5 3 2 0 0 0 0 0 0 1 3 20
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 52.5 73.9 99.0 146.9 188.3 172.5 179.7 166.3 131.2 99.3 59.5 47.1 1,416.2
แหล่งที่มา 1: Met Office[31] NOAA (relative humidity and snow days 1961-1990)[32]
แหล่งที่มา 2: KNMI[33]
ปิด

ประชากรศาสตร์

ข้อมูลเพิ่มเติม เปรียบเทียบข้อมูลประชากร ...
เปรียบเทียบข้อมูลประชากร[34][35]
สำมะโนประชากร 2544แมนเชสเตอร์มหานครแมนเชสเตอร์
(Greater Manchester)
อังกฤษ
ประชากรทั้งหมด441,2002,547,70049,138,831
เกิดในต่างประเทศ15.0%7.2%9.2%
ผิวขาว81.0%91.0%91.0%
เอเชีย9.1%5.7%4.6%
ผิวดำ4.5%1.2%2.3%
อายุ 75 ปีขึ้นไป6.4%7.0%7.5%
คริสต์62.4%74%72%
มุสลิม9.1%5.0%3.1%
ปิด

จากการสำรวจจำนวนประชากรในปีพ.ศ. 2544 แมนเชสเตอร์มีประชากร 392,819 คน ลดลงจากปีพ.ศ. 2534 9.2 เปอร์เซนต์ ในจำนวนนี้ ประมาณ 8.3 หมื่นคนอายุต่ำกว่า 16 ปี 2.85 แสนคนอายุระหว่าง 16-74 ปี และ 2.5 หมื่นคนอายุ 75 ปีขึ้นไป[36]

75.9 เปอร์เซนต์ของประชากรแมนเชสเตอร์ระบุว่าตนเกิดในสหราชอาณาจักร แมนเชสเตอร์มีอัตราการจ้างงานต่อประชากรต่ำเป็นลำดับสองของสหราชอาณาจักร โดยให้เหตุผลว่า มีประชากรที่เป็นนักศึกษาจำนวนมาก[36] จากการประมาณการกลางปี พ.ศ. 2549 แมนเชสเตอร์มีประชากรประมาณ 4.52 แสนคน เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในอังกฤษตะวันตกเฉียงเหนือ[37] ในประวัติศาสตร์ ประชากรของแมนเชสเตอร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงยุควิกตอเรีย โดยพุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 766,311 ในปีพ.ศ. 2474 ก่อนที่จะลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น[38]

เศรษฐกิจ

สถานที่สำคัญ

Thumb
บ้านแลงคาสเตอร์ในสถาปัตยกรรมแบบนีโอ-บารอก เป็นคลังสินค้าของเมืองที่สำคัญ

ตึกและอาคารของแมนเชสเตอร์มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย ตั้งแต่รูปแบบวิกตอเรีย ไปจนถึงรูปแบบร่วมสมัย การใช้อิฐแดงอย่างแพร่หลายทำให้เกิดลักษณะเฉพาะของเมือง ซึ่งสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เกิดจากสมัยที่แมนเชสเตอร์เป็นศูนย์กลางการค้าฝ้ายที่สำคัญของโลก[13]

บริเวณนอกใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์ มีอดีตโรงงานผลิตฝ้ายจำนวนมากซึ่งบางแห่งถูกทิ้งร้างนับตั้งแต่ปิดตัวลง ในขณะที่หลายแห่งได้รับการปรับปรุงใหม่กลายเป็นอพาร์ตเมนต์และสำนักงาน

Thumb
ศาลาว่าการแมนเชสเตอร์บริเวณจัตุรัสอัลเบิร์ต

ศาลาว่าการแมนเชสเตอร์ในจัตุรัสอัลเบิร์ตถูกสร้างขึ้นในสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก และถูกมองว่าเป็นอาคารรูปแบบวิกตอเรียที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ[39]

Thumb
อาคาร CIS ในแมนเชสเตอร์เคยเป็นอาคารที่สูงที่สุดในสหราชอาณาจักร ระหว่างปี ค.ศ. 1962-1963

แมนเชสเตอร์มีตึกระฟ้าจำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นในระหว่างปี ค.ศ. 1960 และ ค.ศ. 1970 ซึ่งตึกที่สูงที่สุดในปัจจุบัน คือ Deansgate Square South Tower มีความสูง 201 เมตร

การขนส่ง

วัฒนธรรม

Thumb
ศาลาว่าการเมืองแมนเชสเตอร์ เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมแบบวิกตอเรีย ที่พบในแมนเชสเตอร์ และเป็นที่ตั้งของสภาเมืองแมนเชสเตอร์

แมนเชสเตอร์มีชื่อเสียงมากในเรื่องชีวิตกลางคืน วัฒนธรรมคลับดีเจสมัยใหม่เริ่มขึ้นที่เมืองนี้ และคลับที่นี่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ การเริ่มต้นของดนตรีเฮาส์ แมดเชสเตอร์ซาวนด์ (Madchester sound) และดนตรีแนว Ibiza

ในเมืองมีโรงละคร ศูนย์แสดงงานศิลปะ และพิพิธภัณฑ์จำนวนมาก

ยกเว้นลอนดอนแล้ว แมนเชสเตอร์มีประชากรเกย์และเลสเบี้ยนมากที่สุดในประเทศ

ดนตรี

Thumb
สองพี่น้องตระกูลกัลลาเกอร์แห่งวงโอเอซิส

แมนเชสเตอร์เป็นต้นกำเนิดของวงดนตรีที่มีชื่อเสียงมากมาย ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับนานาชาติ ตัวอย่างเช่น นิวออร์เดอร์, เดอะสมิธส์, เดอะเคมิคอลบราเทอร์ส, เอ็มพีเพิล, แบดลีดรอนบอย, โอเอซิส, เอลโบว์, ซิมพลีเรด, เทกแดต และ เดอะสโตนโรสเซส

การศึกษา

กีฬา

แมนเชสเตอร์ เป็นเมืองที่เป็นที่รู้จักในฐานะเมืองกีฬา มีสโมสรพรีเมียร์ลีก 2 สโมสรที่ใช้ชื่อเมืองในชื่อของสโมสร คือ สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี และ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด โดยแมนเชสเตอร์ซิตีมีสนามเหย้าคือ สนามกีฬาซิตีออฟแมนเชสเตอร์ จุคนได้เกือบ 48,000 คน ส่วนแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีสนามเหย้าคือ โอลด์แทรฟฟอร์ด ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลสโมสรที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร จุคนได้ 74,140 คน ถือเป็นสนามกีฬาในอังกฤษแห่งเดียวที่เคยได้จัดการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2003 และยังเป็นสนามที่จัดซูเปอร์ลีกแกรนด์ไฟนอลของรักบี้ลีก สโมสรคริกเกตแลนคาเชียร์เคาน์ตี ก็ใช้สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดเป็นกีฬาเหย้าเช่นกัน[40]

สื่อ

ดูเพิ่ม

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

แมนเชสเตอร์เป็นที่ตั้งของสถานกงสุลที่มากที่สุดในสหราชอาณาจักรนอกกรุงลอนดอน การขยายตัวของการเชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมนำไปสู่การเปิดสถานกงสุลแห่งแรกในทศวรรษที่ 1820 และตั้งแต่นั้นมามีกงสุลมากกว่า 800 คนจากทั่วทุกมุมโลกได้ประจำอยู่ในแมนเชสเตอร์ โดยแมนเชสเตอร์เป็นเมืองที่ให้บริการกงสุลในพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอังกฤษ[43]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.