เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ

เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ (ญี่ปุ่น: 佳子内親王; โรมาจิ: Kako Naishinnō; ประสูติ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2537) เป็นพระธิดาในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ กับเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะ[1] และเป็นพระภาติยะในสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ

ข้อมูลเบื้องต้น เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ, ประสูติ ...
เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ
เจ้าหญิงคาโกะ เมื่อ พ.ศ. 2562
ประสูติ29 ธันวาคม พ.ศ. 2537 (30 ปี)
โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระบิดาเจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ
พระมารดาเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ
ปิด

พระประวัติ

เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ ประสูติเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ณ โรงพยาบาลสำนักพระราชวัง กรุงโตเกียว เป็นพระบุตรองค์ที่สองในเจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ กับเจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ มีพระภคินีและพระอนุชาคือ มาโกะ โคมูโระ และเจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ ตามลำดับ

พระองค์เข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนประถมกากูชูอิงในเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 จนสำเร็จการศึกษาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 แล้วเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมหญิงกากูชูอิงในเดือนเมษายนปีเดียวกัน และสำเร็จการศึกษาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 หลังสำเร็จการศึกษาชั้นเตรียมอุดมก็ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ ณ วิทยาลัยทรีนิตีในดับลิน ประเทศไอร์แลนด์[2] โดยทรงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาสาขาศึกษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยกากูชูอิงในเดือนเมษายนปีถัดมา ครั้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ก็ทรงลาออกจากมหาวิทยาลัยเดิม แล้วทรงสอบเข้ามหาวิทยาลัยนานาชาติคริสเตียน คณะศิลปศาสตร์ [3] โดยทรงร่วมพิธีเปิดการศึกษาของมหาวิทยาลัยดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2558[4]

พ.ศ. 2560 เจ้าหญิงคาโกะตัดสินพระทัยเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในสหราชอาณาจักรเช่นเดียวกับเจ้าหญิงมาโกะพระภคินีในเดือนกันยายน โดยจะทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยลีดส์ สาขาศิลปะและจิตวิทยาเพราะทรงสนพระทัย[5] พระองค์สำเร็จการศึกษาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561[6]

พระกรณียกิจ

ในปี พ.ศ. 2546 เจ้าหญิงมาโกะและเจ้าหญิงคาโกะตามเสด็จพระชนกและชนนีเสด็จเยือนประเทศไทยด้วยพระชนกเป็นพระสหายคนสนิทของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือเป็นการเสด็จเยือนต่างประเทศครั้งแรกของเจ้าหญิงมาโกะและเจ้าหญิงคาโกะ[7]

พระองค์ตามเสด็จพระบิดามารดาและพระภคินีมาประเทศไทยในวันที่ 7-13 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง การรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และทรงร่วมวิจัยปักษีวิทยาของพระชนก[8]

เดือนกันยายน พ.ศ. 2562 เจ้าหญิงคาโกะเสด็จเยือนประเทศออสเตรียและประเทศฮังการีอย่างเป็นทางการ เพียงลำพังพระองค์เป็นครั้งแรก และทรงพบปะกับผู้นำประเทศเหล่านั้นด้วย[9] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 เจ้าหญิงคาโกะทรงงานนอกเวลาให้กับสหพันธ์คนหูหนวกญี่ปุ่น[10]

ความสนพระทัย

เจ้าหญิงคาโกะทรงสนพระทัยสเกตลีลาตั้งแต่ทรงศึกษาในระดับประถมศึกษา ในปี พ.ศ. 2555 พระองค์เป็นตัวแทนของสมาคมสเกตลีลาเมจิจิงงุไกเอ็ง (Meijijingu Gaien Figure Skating Club) และทรงเข้าร่วมการแข่งขันสเกตลีลาฤดูใบไม้ผลิ (Spring Cup Figure Skating Competition) ที่จัดขึ้นโดยสหพันธ์สเกตญี่ปุ่น ซึ่งพระองค์ติดอันดับของเขตชินจุกุ (ทีมบีหญิง-ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือมากกว่า)[11]

พระเกียรติยศ

ข้อมูลเบื้องต้น ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าหญิงคาโกะ, การทูล ...
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าหญิงคาโกะ
Thumb
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลเด็งกะ/เท็งกะ (殿下)
ปิด

พระอิสริยยศ

เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ มีฐานันดรศักดิ์ที่ อิมพีเรียลไฮนิส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

พงศาวลี

ข้อมูลเพิ่มเติม พงศาวลีของเจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ ...
ปิด

อ้างอิง

Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.