คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

เจนละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจนละ
Remove ads

อาณาจักรเจนละ หรือภาษาจีนว่า เจินล่า (จีนตัวย่อ: 真腊; จีนตัวเต็ม: 真臘; พินอิน: Zhēnlà; เวด-ไจลส์: Chen-la), ภาษาเขมรว่า เจนฬา (เขมร: ចេនឡា, อักษรโรมัน: Chénla, เสียงอ่านภาษาเขมร: [ceːnlaː]), และภาษาเวียดนามว่า เจินหลัป (เวียดนาม: Chân Lạp) เป็นชื่อที่เอกสารจีนใช้เรียกรัฐซึ่งมาทีหลังอาณาจักรฟูนาน และมาก่อนอาณาจักรพระนคร ดำรงอยู่ในพื้นที่อินโดจีนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในเอกสารบันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละที่โจว ต้ากวาน (周達觀) ขุนนางจีน เขียนขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็ยังปรากฏชื่อนี้อยู่[3] ชื่อนี้ยังปรากฏในแผนที่เหมา คุน อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์นิพนธ์สมัยใหม่ใช้ชื่อนี้เฉพาะเจนละในช่วงปลายศตวรรษที่ 6 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 เท่านั้น[3] นักประวัติศาสตร์เรียกประวัติศาสตร์กัมพูชาในช่วงเวลานี้เป็น สมัยก่อนพระนคร[4] มีข้อถกเถียงว่าเจนละเคยเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียวหรือไม่ หรือเป็นเพียงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของผู้บันทึกเอกสารจีน นักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบันเห็นว่า เจนละเป็นรัฐต่าง ๆ ที่มารวมกลุ่มกันอย่างหลวม ๆ และชั่วคราวในสมัยก่อนพระนคร[5][6]

ข้อมูลเบื้องต้น อาณาจักรเจนละ, เมืองหลวง ...
Remove ads

เอกสารของราชวงศ์สุย (隋朝) ระบุว่า ฟูนันซึ่งส่งทูตมาในช่วง ค.ศ. 616–617 นั้นมีเมืองขึ้นเมืองหนึ่งนามว่า "เจนละ" ภายหลัง ผู้นำเจนละยกทัพไปตีฟูนันได้สำเร็จ ไม่เป็นเมืองขึ้นอีกต่อไป[7] และเอกสารอื่น ๆ นำข้อความนี้ไปอ้างถึง ซึ่งก็เป็นที่โต้แย้งเรื่องความถูกต้องแม่นยำมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970[8]

เจนละเหมือนฟูนันตรงที่มาได้ที่ตั้งอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ตรงเส้นทางการค้าทางน้ำสายมณฑลอินโด (Indosphere) กับสายมณฑลวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก (East Asian cultural sphere) ตัดกันพอดี ทำให้เจนละมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสังคมอยู่เป็นเวลานาน ทั้งเป็นเหตุให้เจนละรับระบบการเขียนจารึกของราชวงศ์ปัลลวะและราชวงศ์จาลุกยะแห่งอินเดียใต้มาใช้[9][10]

ชนชั้นปกครองในเจนละนั้น ที่มาที่ไปเป็นอย่างไรยังไม่แน่ชัด ไมเคิล วิกเกอรี (Michael Vickery) นักประวัติศาสตร์ ขนานนามพวกเขาว่า "ประมุขแห่งดงรัก" (Dângrêk Chieftains) เพราะอาศัยอยู่แถบเหนือและใต้ของพนมดงรัก และสร้างศิลาจารึกไว้หลายหลักซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคนี้ มีเนื้อหาว่าด้วยวงศ์วานของพวกเขาซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแผ่อำนาจทางการเมือง[11] จารึกภาษาสันสกฤตหลักหนึ่งจาก Vãl Kantél ในสทึงแตรง (ស្ទឹងត្រែង สฺทึงแตฺรง) มีข้อความสื่อว่า ผู้นำคนหนึ่งนาม "วีรวรรมัน" (Vīravarman) ใช้แนวคิดเทวราชาและหริหระของศาสนาฮินดูในการปกครอง[12]

เอกสารจีนชื่อ ซินถังชู (新唐書) กล่าวว่า ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 รัฐเจนละแตกแยกออกเป็นเจนละบก (陸真臘) กับเจนละน้ำ (水真臘)[13] แล้วภายในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 เจนละน้ำก็ตกเป็นเมืองขึ้นของชวา ผู้ปกครองคนสุดท้ายของเจนละน้ำนั้นเชื่อว่าถูกประหาร ทำให้สิ้นราชวงศ์ แล้วเจนละน้ำก็ผนวกเข้ากับชวาในราว ค.ศ. 790 ส่วนชัยวรรมันที่ 2 (ជ័យវរ្ម័នទី២ ชัยวรฺมันที ๒) ผู้นำท้องถิ่น รวมรวบดินแดนทั้งหลายที่เหลือไปก่อตั้งเป็นจักรวรรดิเขมรใน ค.ศ. 802[14]

Remove ads

รากศัพท์

สรุป
มุมมอง

"เจนละ" หรือ "เจินล่า" เป็นชื่อรัฐแห่งหนึ่งซึ่งส่งบรรณาการมาให้จักรพรรดิจีน[15] แต่คำนี้ไม่ปรากฏในภาษาเขมรเก่า (Old Khmer)[16]

นิรุกติศาสตร์พื้นบ้าน (folk etymology) พยายามเชื่อมโยงคำว่า "เจนละ" (真臘) ในภาษาจีนให้แปลว่า "ขี้ผึ้งบริสุทธิ์" (pure beeswax) ซึ่งน่าจะมาจากการที่ภูมิภาคนี้มีสินค้าอย่างหนึ่งเป็นขี้ผึ้งบริสุทธิ์ ตามที่เอกสารจีนพรรณนาไว้[17][18] มีผู้เสนอว่าชื่อนี้หมายถึง "สยามพ่าย" เนื่องจากเจินล่าสามารถสร้างใหม่ตามรูปสะกดสมัยราชวงศ์ถังเป็น Tsienliäp ซึ่งคล้ายกับคำว่า "เสียบเรียบ" (សៀមរាប เสียมราบ) มักระบุความหมายเป็น "สยามแพ้ราบคาบ"[19][20] อย่างไรก็ตาม มีผู้ชี้ให้เห็นว่าที่มาของชื่อนี้มีปัญหา เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างสยามกับกัมพูชาเกิดขึ้นหลายศตวรรษหลังจากมีการใช้ชื่อนี้เป็นครั้งแรก ดังนั้น ไมเคิล วิกเกอรีจึงโต้แย้งว่าความหมายดั้งเดิมของทั้งสองชื่อนั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แม้ว่าชื่อเจนละกับเสียมเรียบอาจมีความเกี่ยวข้องกัน[19][20]

ส่วนปีเตอร์ แฮร์ริส (Peter Harris) เห็นว่า "เจนละ" น่าจะแปลว่า "จามราบคาบ" มากกว่า "สยามราบคาบ" เพราะคำว่า "เจนละ" ในภาษาจีนเขียนได้อีกอย่างว่า "จั้นล่า" (占臘) และคำว่า "จั้น" นี้จีนใช้เรียกจาม แฮร์ริสยังอ้างถึงเอกสาร หมิงฉื่อ (明史) ที่ระบุว่า ในรัชศกชิ่ง-ยฺเหวียน (慶元) ของจักรพรรดิหนิงจง (寧宗) แห่งราชวงศ์ซ่ง (宋朝) ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 1195–1200 นั้น กัมพูชาขับไล่ชาวจามออกไปจากดินแดน จึงได้ครองดินแดน เป็นเหตุให้ดินแดนนี้เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น "จั้นล่า" แต่ในช่วงราชวงศ์ยฺเหวียน (元朝) คำนี้ก็กลายเป็น "เจินล่า" (เจนละ) ไป[20]แม่แบบ:Page number needed

เจนละอาจเป็นที่รู้จักผ่านชื่ออื่น ๆ เช่น เหวินตาน (文單 สร้างใหม่เป็น Muntal อาจเป็นมณฑล) หรือ Tatsuo Hoshino Po-Lou รายงานว่า เหวินตานคือเมืองหลวงของเจนละ[21]

พระมหากษัตริย์เจนละซึ่งใช้ประเพณีปกครองแบบเทวราชาของฮินดูนั้น[22] มักใช้พระนามที่มีคำว่า "วรรมัน/วรรมัม" (varman/varmam) อันแปลว่า มีเกราะ หรือมีเครื่องคุ้มกัน เช่น "ชัยวรรมัน" (่jayavarman) แปลว่า มีชัยชนะเป็นเกราะ ธรรมเนียมนี้เป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายมนุสัมฤติ (मनुस्मृति มนุสฺมฺฤติ) บัญญัติไว้สำหรับชนชั้นกษัตริย์[23]

Remove ads

ประวัติ

สรุป
มุมมอง

ความเป็นมาของเจนละค่อนข้างคลุมเครือ เจนละเดิมน่าจะเป็นหนึ่งในศูนย์อำนาจทางภูมิภาคของรัฐฟูนัน โดยมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่ง แล้วแยกตัวออกจากฟูนันในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ส่วนประเด็นทางภูมิศาสตร์เกี่ยวกับเจนละ เช่น อาณาเขต, การขยายอาณาเขต, ศูนย์กลางทางศาสนา, และศูนย์กลางทางการเมือง รวมถึงประเด็นความเป็นรัฐเดี่ยวหรือเป็นรัฐต่าง ๆ ที่มารวมกลุ่มกันนั้น นักวิชาการยังไม่ลงรอยกัน[24][25]

เอกสารจีนระบุว่า เจนละเป็นรัฐหนึ่งรัฐ แต่ไมเคิล วิกเกอรี นักประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่า จีนน่าจะใช้คำว่า "เจนละ" เรียกรัฐหลาย ๆ รัฐรวมกันเหมือนเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการจัดหมวดหมู่ผู้คนที่มีลักษณะบางประการร่วมกัน โดยมิได้สนใจว่า รัฐเหล่านี้แตกต่างกันประการใด[26]

สำหรับการแยกตัวของเจนละจากฟูนันนั้น ตามเอกสารจีนแล้ว ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 6 ผู้นำของเจนละ คือ ภววรรมันที่ 1 (ភវវរ្ម័នទី១ ภววรฺมันที ๑) และมเหนทรวรรมัน (មហេន្ទ្រវរ្ម័ន มเหนฺทฺรวรฺมัน) รวมกำลังกันไปตีฟูนัน และพิชิตฟูนันได้สำเร็จ[27][28]

เอกสาร ซินถังชู ของราชวงศ์ถังว่า เมื่อสิ้นรัชศกเฉินหลง (神龍) ของจักรพรรดิจงจง (中宗) แห่งราชวงศ์ถัง ซึ่งตรงกับ ค.ศ. 705–707 นั้น ปรากฏว่า เจนละแตกแยกออกเป็นสองส่วน คือ เจนละบกกับเจนละน้ำ เป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความวุ่นวายทางการเมืองเหมือนที่เคยเป็นมาก่อนบรรพกษัตริย์ฟูนันและเจนละจะหลอมรวมแผ่นดินเป็นอันหนึ่งอันเดียว ต่อมาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 8 ราชวงศ์ไศเลนทร์ (Shailendra dynasty) จากเกาะชวามาปล้นและยึดครองเจนละน้ำได้สำเร็จ แต่ไมเคิล วิกเกอรี เห็นว่า การที่จีนแบ่งเจนละออกเป็นเจนละบกกับเจนละน้ำนี้ชวนให้เข้าใจผิด เพราะเดิมทีก็ไม่มีรัฐอันหนึ่งอันเดียวอยู่แล้ว อย่างน้อยก็จนกว่าจะก่อตั้งจักรวรรดิเขมรใน ค.ศ. 802[29]

จำนวนจารึกที่เคยสร้างขึ้นอย่างมากในคริสต์ศตวรรษที่ 7 กลับลดลงอย่างยิ่งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 บ่งบอกว่า เวลานั้น เจนละเสื่อมโทรมลงเต็มทีแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นเพราะความขัดแย้งภายใน และปัญหาภายนอกที่มาจากการโจมตีของราชวงศ์ไศเลนทร์ อย่างไรก็ดี ปรากฏว่า ผู้นำท้องถิ่นคนหนึ่ง คือ ชัยวรรมันที่ 2 สามารถก่อตั้งรัฐที่เรียกว่า "จักรวรรดิเขมร" ใน ค.ศ. 802 ทำให้ช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายยุติลง

Remove ads

ศูนย์กลางการเมือง

ในทางวิชาการนั้น ฌอร์ฌ เซแด็ส‎ (George Cœdès) และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งร่วมสมัยกับเขา อ้างอิงเอกสารของราชวงศ์สุยที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์เจนละประทับอยู่ใกล้ภูเขานามว่า "Ling-jia-bo-po" และเห็นว่า "Ling-jia-bo-po" มาจากคำว่า "Lingaparvata" (ลิงคบรรพต; "ภูเขาลึงค์") และวัดภู (ວັດພູ) ในแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว ก็มีโบราณสถานเขมรที่สอดคล้องกับลักษณะที่เอกสารจีนพรรณนาไว้พอดี จึงสรุปว่า วัดภูก็คือศูนย์กลางของเจนละ[30][31][32] แต่นักวิชาการปัจจุบัน เช่น ไมเคิล วิกเกอรี และโกลด ฌัก (Claude Jacques) ไม่เห็นด้วย เพราะไม่ใช่วัดภูแห่งเดียวที่มีลักษณะสอดคล้องกับความเป็น "ลิงคบรรพต" ทว่า หลักฐานต่าง ๆ ในยุคเจนละก็มีเหลือไม่มากพอจะให้ได้ข้อยุติ[33]

ส่วนตำนานกัมพูชาว่า นักบวชนาม "กัมวุสวยัมภุวะ" (កម្វុស្វយម្ភុវ กมฺวุสฺวยมฺภุว) ได้รับสตรีนาม "เมระ" (Mera) มาจากพระศิวะ นักบวชและสตรีดังกล่าวสมสู่กันจนเกิดบุตร คือ ศรุตวรรมัน (Śrutavarman) และศรุตวรรมันมีบุตรนาม "เศรษฐวรรมัน" (Sreshthavarman) ซึ่งเป็นที่มาของนครที่เรียกว่า "เศรษฐปุระ" (ស្រេស្ឋបុរ เสฺรสฺฐบุร) และมีผู้เชื่อมโยงว่า เศรษฐปุระเป็นศูนย์กลางของเจนละอันตั้งอยู่ ณ ลิงคบรรพตนั้น[34]

รายพระนามพระมหากษัตริย์

ลำดับ กษัตริย์ ครองราชย์
(ค.ศ.)
1 พระเจ้าศรุตวรมัน ป. 550–555
2 พระเจ้าเศรษฐวรมัน ป. 555–560
3 พระเจ้าวีรวรมัน ป. 560–575
4 พระนางกัมพุชราชลักษมี ป. 575–580
5 พระเจ้าภววรมันที่ 1 ป. 580–600
6 พระเจ้ามเหนทรวรมัน ป. 600–616
7 พระเจ้าอิศานวรมันที่ 1 ป. 616–635
8 พระเจ้าภววรมันที่ 2 ป. 639–657
9 พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ป. 657–681
10 พระนางเจ้าชัยเทวี ป. 681–713
แยกเป็นเจนละบก-น้ำ
11 พระเจ้าบุษกรักษา [fr] ป. 713–730
12 พระเจ้าสามภูวรมัน [fr] ป. 730–760
13 พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 1 [fr] ป. 760–770
14 พระเจ้ามหิปติวรมัน ป. 770–780
15 พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ป. 780–802

ข้อมูล:[35][2]

Remove ads

อ้างอิง

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads