บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Nation Group (Thailand) Public Company Limited) เป็นบริษัทสื่อสารมวลชนครบวงจรขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 โดยเริ่มออกหนังสือพิมพ์เดอะวอยซ์ออฟเดอะเนชั่นเป็นฉบับแรก และมีบุคคลสำคัญประกอบด้วยหม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร, สุทธิชัย หยุ่น, ธรรมนูญ มหาเปารยะ, เชวง จริยะพิสุทธิ์, ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์, และ ธนะชัย สันติชัยกูลในสลีนีเนึยนม่บ้,สทิ100

ข้อมูลเบื้องต้น ประเภท, รูปแบบ ...
บริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
ประเภทสื่อสารมวลชน
รูปแบบสื่อและสิ่งพิมพ์
ก่อนหน้าบจก.เดอะเนชั่น (2514-2519)
บจก.บิสซิเนส รีวิว (2519-2531)
บจก.เนชั่น พับลิชชิ่ง กรุ๊ป (2531-2536)
บมจ.เนชั่น พับลิชชิ่ง กรุ๊ป (2536-2539)
บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (2539 - 2565)
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม พ.ศ. 2514
ผู้ก่อตั้งหม่อมราชวงศ์สุนิดา กิติยากร, สุทธิชัย หยุ่น, ธรรมนูญ มหาเปารยะ, เชวง จริยะพิสุทธิ์
สำนักงานใหญ่
บุคลากรหลักมารุต อรรถไกวัลวที (ประธานกรรมการ)
ฉาย บุนนาค (ประธานคณะกรรมการบริหาร และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
[1]
[2]
ผลิตภัณฑ์หนังสือพิมพ์, ธุรกิจกระจายภาพและเสียง, ธุรกิจการศึกษา, ธุรกิจโรงพิมพ์, ธุรกิจขนส่ง และสื่อใหม่
บริษัทในเครือกรุงเทพธุรกิจ มีเดีย
คมชัดลึก มีเดีย
เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
ฯลฯ
เว็บไซต์www.nationgroup.com
ปิด

สิ่งพิมพ์และสื่อในเครือ

บริษัทในเครือ

#แบนสปอนเซอร์เนชั่น

ระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 โดยคณะประชาชนปลดแอกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เกิดกรณีผู้สื่อข่าวของเนชั่นทีวีแจ้งสังกัดว่ามาจากสถานีอื่น ทำให้ต้องออกแถลงการณ์ขออภัย อ้างว่าที่นักข่าวกระทำเช่นนั้นเพราะกลัวเกิดอันตรายจากผู้ชุมนุม[3] ทำให้เกิดกระแส #แบนสปอนเซอร์เนชั่น เป็นการดำเนินกิจกรรมของผู้บริโภคเพื่อให้ผู้สนับสนุนโฆษณาทางเนชั่นเลิกให้การสนับสนุน ด้านเนชั่นออกแถลงการณ์อีกครั้งขอไม่ให้แบนสปอนเซอร์โดยอ้างเหตุผลว่าทำให้บริษัทเหล่านี้เสียหายทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการนำเสนอข่าวของเนชั่น[4] แต่หลังจากนั้น ก็เริ่มมีผู้สนับสนุนที่เริ่มถอนตัวออกจากเนชั่นไป[5] ทำให้เนชั่นต้องมีการปฏิรูปองค์กรในช่วงเดือนพฤศจิกายน[6] และทำให้บุคลากรที่มีอุดมการณ์สุดโต่งในเนชั่นลาออกไปทั้งหมด และปัจจุบันบุคลากรกลุ่มดังกล่าวได้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์เพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมและสื่อสังคมออนไลน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว[7]

รายนามประธานกรรมการ

  1. พลตรี สัณห์ จิตรปฏิมา (พ.ศ. 2514-2517)
  2. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (พ.ศ. 2517-2519)
  3. นายพัทยา สายหู (พ.ศ. 2519-2521)
  4. นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ (พ.ศ. 2521-2523)
  5. คุณหญิงเบญจา แสงมลิ (พ.ศ. 2523-2524)
  6. นายบุญธรรม ทองไข่มุกต์ (พ.ศ. 2524-2526)
  7. พลตำรวจตรี ยงยุทธ อินทบุหรั่น (พ.ศ. 2526-2528)
  8. พลตำรวจเอก สุรพล จุลละพราหมณ์ (พ.ศ. 2528-2530)
  9. คุณหญิงอัมพร มีศุข (พ.ศ. 2530-2531)
  10. นายโมรา บุญยผล (พ.ศ. 2531-2533)
  11. พลเอก อัธยา แผ้วพาลชน (พ.ศ. 2533-2534)
  12. นายสุธี สิงห์เสน่ห์ (พ.ศ. 2534-2535)
  13. นายสุนทร เสถียรไทย (พ.ศ. 2535-2536)
  14. พลตำรวจตรี รังสิต ญาโณทัย (พ.ศ. 2536-2537)
  15. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม (พ.ศ. 2538-2539)
  16. นายวัลลภ ตันติกุล (พ.ศ. 2539-2541)
  17. พลตำรวจเอก ล้วน ปานรศทิพ (พ.ศ. 2541-2543)
  18. นายโอภาส อรุณินท์ (พ.ศ. 2543-2545)
  19. นายจุลกร สิงหโกวินท์ (พ.ศ. 2545-2548)
  20. นางฤดี จิวาลักษณ์ (พ.ศ. 2548-2550)
  21. นายธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ (พ.ศ. 2550-2553)
  22. นายเมธี ครองแก้ว (พ.ศ. 2553-2554)
  23. นายสุทธิชัย หยุ่น (พ.ศ. 2554-2558)
  24. นายเทพชัย หย่อง (พ.ศ. 2558-2560)
  25. นายมารุต อรรถไกวัลวที (พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน)

รางวัลที่ได้รับ

  • รางวัลบริษัทจดทะเบียนด้านนักลงทุนสัมพันธ์ยอดเยี่ยม พ.ศ. 2555

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.