Loading AI tools
เขื่อนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขื่อนบางปะกง[lower-alpha 1] หรือ เขื่อนทดน้ำบางปะกง เป็นเขื่อนดินแบบปิดกั้นลำน้ำสำหรับป้องกันน้ำเค็มที่รุกล้ำเข้ามาจากปากแม่น้ำ และรักษาน้ำจืดที่อยู่เหนือเขื่อนไว้สำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตร อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน
เขื่อนบางปะกง | |
---|---|
หอคอยอาคารระบายน้ำของเขื่อน (19 ตุลาคม พ.ศ. 2547) | |
ชื่อทางการ | โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนบางปะกง |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ที่ตั้ง | ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา |
พิกัด | 13.7075°N 101.1371°E |
เริ่มก่อสร้าง | พ.ศ. 2539 |
เปิดดำเนินการ | 6 มกราคม พ.ศ. 2543 |
งบก่อสร้าง | 5,232 ล้านบาท |
เจ้าของ | กรมชลประทาน |
เขื่อนและทางน้ำล้น | |
ปิดกั้น | แม่น้ำบางปะกง |
ความสูง | 24 เมตร (เขื่อนหลัก) 7 เมตร (ลำน้ำเดิม) สันเขื่อน 39 เมตร (รทก.) |
ความยาว | 2,500 เมตร (เขื่อนหลัก) 1,600 เมตร (ลำน้ำเดิม) |
อ่างเก็บน้ำ | |
อ่างเก็บน้ำ | เขื่อนดินปิดกั้นลำน้ำ ประเภทแบ่งโซน |
ปริมาตรกักเก็บน้ำ | 248 ล้าน ลบ.ม. |
สะพาน | |
ช่องถนน | 2 ช่องจราจร (เขื่อนหลักและลำน้ำเดิม) |
แม่น้ำบางปะกงเป็นพื้นที่ราบลุ่มขนาดประมาณ 17,600 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 11 ล้านไร่) โดยมีต้นกำเนิดมาจากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรีไหลมาบรรจบกันบริเวณอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อพื้นที่ราบลุ่มมีการพัฒนามากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการเกษตร ทำให้ความต้องการน้ำจืดมีสูงขึ้น จึงมีการกำหนดแผนพัฒนาลุ่มน้ำบางปะกง โดยมีวัตถุประสงค์ในการกักเก็บปริมาณน้ำจืดและป้องกันน้ำเค็ม โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับในการพัฒนาเขื่อนบางปะกง และอ่างเก็บน้ำคลองสียัดเป็นอันดับต้น ๆ ของโครงการ เพื่อใช้ในการรักษาน้ำจืดสำหรับอุปโภคบริโภค ภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม จึงได้มีการวางแผนศึกษาการพัฒนาร่วมกันเมื่อปี พ.ศ. 2533 กับองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JICA[1]
สภาพปัญหาหลักก็คือ แม่น้ำบางปะกงประสบปัญหาน้ำเค็มหนุนสูง เมื่อหมดฤดูฝนในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงมาน้อย ทำให้น้ำเค็มนั้นหนุนขึ้นไปถึงจังหวัดปราจีนบุรี สามารถวัดค่าความเค็มบริเวณที่ตั้งเขื่อนบางปะกงได้ถึง 20 ppt หรือเกลือ 20 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร เมื่อถึงช่วงฤดูฝนในช่วงเดือนพฤษภาคม น้ำจืดจะไหลดันน้ำเค็มกลับไปยังปากแม่น้ำบางปะกง เป็นประจำทุก ๆ ปี รวมถึงบางครั้งมีปริมาณมากจนกระทั่งไหล่บ่าท่วมพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ[1] จึงสามารถใช้ประโยชน์จากน้ำจืดได้เพียงช่วงเดือนกรกฎาคม - ตุลาคม (4 เดือน) เท่านั้น จึงได้มีแนวคิดในการสร้างเขื่อนบางปะกงขึ้นมาเพื่อกักเก็บน้ำจืดไว้สำหรับการอุปโภคบริโภคและป้องกันการหนุนสูงของน้ำเค็ม[2]
โครงการเขื่อนบางปะกง ได้รับการอนุมัติในหลักการและเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2539 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2542 ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 5,232 ล้านบาท ซึ่งรวมค่าที่ดินที่ใช้ในการเวนคืนแล้ว 900 ล้านบาท และเริ่มเปิดปิดประตูเขื่อนเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543
เขื่อนบางปะกง เป็นเขื่อนรูปแบบเขื่อนผันน้ำในรูปแบบปิดกั้นลำน้ำเดิม คือแม่น้ำบางปะกง โดยขุดคลองลัดขึ้นมาเพื่อบังคับการไหลของน้ำให้ผ่านมายังจุดที่ต้องการคือตัวเขื่อน และตัวแม่น้ำเดิมได้สร้างทำนบดินปิดกั้นไว้พร้อมกับประตูระบายน้ำ ตัวเขื่อนประกอบด้วยประตูระบายน้ำขนาดใหญ่จำนวน 5 ช่อง แบ่งเป็นชนิดบานเดี่ยวจำนวน 3 บาน สำหรับระบายน้ำ และบานคู่จำนวน 2 บาท สำหรับควบคุมระดับน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนบางปะกง โดยใช้การควบคุมทางไกลผ่านอาคารควบคุมบนตลิ่งทางด้านขวาของเขื่อน[1]
นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง ความสามารถสูบได้เครื่องละ 4 ลบ.ม./วินาที เพื่อสูบน้ำเข้าสู่โครงข่ายชลประทานในพื้นที่ โดยมีพื้นที่ชลประทานอยู่ในโครงการทั้งหมด 92,000 ไร่[1]
เขื่อนบางปะกง อยู่ห่างจากปากแม่น้ำบางปะกงประมาณ 71 กิโลเมตร มีขนาดความจุของอ่างเก็บน้ำ 248 ล้าน ลบ.ม. ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ เขื่อนหลัก และเขื่อนบริเวณลำน้ำเดิม มีรายละเอียด[2] ดังนี้
เขื่อนบางปะกง เป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้สำหรับทำเกษตรกรรมให้กับเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอบางปะกง รวมไปถึงอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และเป็นแหล่งน้ำไว้สำหรับสนับสนุนในพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาบางพลวง และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษานครนายก[4][5]
เขื่อนบางปะกงมีศักยภาพในการป้องกันน้ำเค็มที่รุกล้ำมาจากปากแม่น้ำบางปะกง และรักษาทรัพยากรน้ำจืดซึ่งอยู่เหนือเขื่อน ด้วยการชะลอปริมาณการไหลของน้ำจืดและน้ำเค็มจากทั้งสองทิศทาง ร่วมกับการปล่อยน้ำจืดจากเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน คืออ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำคลองระบบ และพิจารณาการใช้น้ำจาก เขื่อนขุนด่านปราการชล อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา อ่างเก็บน้ำพระปรง อ่างเก็บน้ำคลองพระสะทึง เพื่อประคองสถานการณ์และรักษาน้ำจืดในพื้นที่เหนือเขื่อนจนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝนเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภคและผลิตน้ำประปา[6][7]
เขื่องบางปะกง เป็นอีกแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากทัศนียภาพของเขื่อนและบานประตูระบายน้ำที่สวยงาม มีลักษณะคล้ายกับประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถชมได้จากบนสะพานข้ามแม่น้ำ[8]บางปะกงที่ขนานไปกับแนวของเขื่อน มีประชาชนมักมาพักผ่อนหย่อยใจด้วยการตกปลาอยู่บนสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ซึ่งตัวเขื่อนบางปะกงนั้นอยู่ใกล้เคียงกับวัดสมานรัตนาราม
หลังจากเริ่มใช้งานเขื่อนด้วยการเปิดปิดประตูน้ำเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543 ก็ประสบปัญหาขึ้นมา 2 ปัญหาในคราวแรก คือ ปัญหาแรก การคาดว่าจะสามารถเปิดปิดประตูเพื่อเก็บกักน้ำจืดสำหรับการอุปโภคบริโภคบริเวณเหนือเขื่อน แต่กลับเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียขึ้นมาแทน เนื่องจากน้ำไม่มีการไหลเวียน และปัญหาที่สอง การปิดประตูเขื่อนในคืนข้างแรมที่เกิดน้ำลด ทำให้บริเวณใต้เขื่อนไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ ทำให้เกิดการพังทลายของตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำ เมื่อถึงข้างขึ้น น้ำก็จะล้นและเข้าท่วมบ้านเรือนและคลองต่าง ๆ ทำให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรของพื้นที่ใต้เขื่อน ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ท้ายเขื่อนกว่า 65,590 คนจากพื้นที่ 17 ตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา[3]
เนื่องจากปัญหานี้เอง ทำให้ช่วงแรก กรมชลประทานจึงจำเป็นต้องเปิดประตูระบายน้ำ เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ[3]
จากการศึกษาของอาจารย์นวนน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะ[3] พบว่าเขื่อนบางปะกงส่งผลกระทบแบ่งออกเป็น 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ
หลังจากการเปิดใช้งานเขื่อนบางปะกงและมีผู้ได้รับผลกระทบข้างต้น กรมชลประทานจึงได้มีการศึกษาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อาทิ การซ่อมแซมตลิ่งช่วงที่เสียหาย การขุดลอกคูคลองสาขาต่าง ๆ ของแม่น้ำบางปะกง การจัดทำโครงการบำบัดน้ำก่อนปล่อยของผู้เลี้ยงสุกร[1]
นอกจากนี้ยังมีการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ ผ่านการจัดประชุม 3 ขั้นตอน[1] คือ
จากการรับฟังความคิดเห็นข้างตน กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาชนได้ทางออกเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาแต่ละด้าน 4 ด้าน[1] คือ
หลังจากดำเนินการตามแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้ทำประชาพิจารณ์แล้วนั้น สามารถช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการหรี่บานประตูระบายน้ำให้ระดับน้ำอยู่ในจุดที่กำหนดใกล้เคียงกับธรรมชาติที่สุด ที่ทำควบคู่กับการบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำที่อยู่เหนือเขื่อน ประกอบไปด้วย เขื่อนขุนด่านปราการชล อ่างเก็บน้ำคลองสียัด และอ่างเก็บน้ำอื่น ๆ รวมถึงข้อมูลจากระบบโทรมาตรในสถานีต่าง ๆ ทั้งเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน ข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ และข้อมูลทางอุทกวิทยาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมการทำงานของบานประตูระบายน้ำแบบอัตโนมัติในการควบคุมระดับน้ำเหนือเขื่อนและท้ายเขื่อน[1]
ส่วนของปัญหาด้านระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม หลังจากการดำเนินการแก้ไขปัญหา พบว่าระบบนิเวศกลับมาดีขึ้น มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงขึ้นโดยเป็นระบบนิเวศในรูปแบบของน้ำกร่อย มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น พบแพลงตอนพืชที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด รวมถึงค่าความเค็มกลับมาที่น้อยกว่า 1 ppt.[2] และใช้รูปแบบการหรี่ประตูในการควบคุมปริมาณน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยไม่ได้ใช้งานตัวเขื่อนและประตูระบายน้ำอย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างที่ออกแบบมาตั้งแต่ต้น[7]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.