Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซีเปีย (อังกฤษ: Sepia) เป็นวงดนตรีไทย ในกลุ่มนักร้องแนวออลเทอร์นาทิฟ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ซีเปีย | |
---|---|
เจษฎา สุขทรามร และ ภานุ กันตะบุตร | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | ร็อก, ออลเทอร์นาทิฟร็อก, พังค์ร็อก |
ช่วงปี | 2537 - 2545 |
ค่ายเพลง | ร็อกซ์เรคคอร์ดส เบเกอรี่มิวสิค อินดี้คาเฟ่ |
สมาชิก | เจษฎา สุขทรามร (โอ๋) — ร้องนำ, กีต้าร์, คีย์บอร์ด, คอรัส ภานุ กันตะบุตร (ปาเดย์) — ร้องนำ, เบส, คอรัส เอกพงศ์ เชิดธรรม (เอก) — กลอง, เพอคัสชั่น |
อดีตสมาชิก | ทวิพล สุดารา (เอก) — ร้องนำ, คอรัส (พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2544) |
ซีเปียก่อตั้งโดย 2 สมาชิก คือ เจษฎา สุขทรามร และ ภานุ กันตะบุตร โดยชื่อวงนำมาจากสีซีเปีย อันเป็นสีประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันที่เจษฎาศึกษาเล่าเรียนอยู่ในเวลานั้น ซีเปียเป็นที่รู้จักจากเพลง "เกลียดตุ๊ด" และ "เดทก็อด" ในสมัยยุคออลเทอร์นาทิฟเฟื่องฟู ด้วยเนื้อหาบทเพลงที่รุนแรง เสียดสีสังคม ทำให้กลายมาเป็นเอกลักษณ์ของวง จนซีเปียกลายมาเป็นแรงบัลดาลใจให้กับวงใต้ดินหลาย ๆ วงในเวลาต่อมา[ต้องการอ้างอิง]
ในปี พ.ศ. 2537 ซีเปียได้ออกอัลบั้มแรกคืออัลบั้ม เกลียดตุ๊ด อันเป็นผลงานสร้างชื่อให้กับวงซีเปียเป็นอย่างมาก จากเพลง "เกลียดตุ๊ด" และ "เดทก็อด" อัลบั้มนี้สามารถทำยอดขายได้จำนวนมาก แต่กลับโดนโกงรายได้ พร้อมกับถูกแอบอ้างแสดงความเป็นเจ้าของเพลงจากคนใกล้ตัว[ต้องการอ้างอิง] ในปีต่อมา ซีเปีย เข้าสังกัดค่ายเบเกอรี่มิวสิค และมีเพิ่มสมาชิกอีก 2 คน ได้แก่ เอกพงศ์ เชิดธรรม และ ทวิพล สุดารา สืบเนื่องจากทั้งสองนั้นมีชื่อเล่นว่า เอก จึงกลายมาเป็นอัลบั้ม ทูเอกส์ อันหมายถึงสองเอก ด้วยความที่ถูกดูถูกในเรื่องของฝีมือจากอัลบั้มชุดที่แล้ว ซีเปียจึงแสดงความสามารถทางดนตรีอย่างสุดฝีมือในอัลบั้มนี้ โดยมีการนำเสนอเนื้อหาของเพลงแบบใหม่ ๆ[1] และได้รับการยกย่องว่าเป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดของวง และเป็นหนึ่งในอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมตลอดกาลของไทย[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ซีเปียได้ออกอัลบั้มบันทึกการแสดงสดในชื่อว่า เดอะเลดีออร์นแอนด์ทูเอกส์ ซึ่งบันทึกจากการแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับอรอรีย์ ซึ่งมียอดขายอัลบั้มไม่ตรงตามเป้าหมาย จึงยุติการร่วมงานกับเบเกอรี่มิวสิค[ต้องการอ้างอิง]
ปัจจุบันภานุ กันตะบุตร ไปเล่นเบสให้กับวง ทีโบน ส่วน เจษฎา สุขทรามร และเพื่อน ๆ ต่างแยกย้ายไปทำงาน
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2543 หลังจากที่ประสบสภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตก ซีเปียได้กลับมาอีกครั้งพร้อมกับดนตรีแบบดั้งเดิมในอัลบั้ม ไม่ต้องใส่ถุง แสดงถึงความบ้าระห่ำของวงที่ยังคงไม่เปลี่ยนไป ความดิบของดนตรีทำให้ซีเปียกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เพลง "อยากอยู่กับเธอทั้งคืน" ที่ร่วมกับ พิจิกา จิตตะปุตตะ ได้ขึ้นชาร์ตแฟตเรดิโอ (104.5 เอฟเอ็ม) ทำให้ซีเปียได้จัดคอนเสิร์ตของวง ชื่อว่า "เล็ก ชิ้น สด ซีเปีย ไม่เชื่ออย่าตุ๊ดตู่" ที่โรงงานยาสูบเก่า เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 และได้นำอัลบั้ม เกลียดตุ๊ด มาวางขายใหม่อีกครั้ง[ต้องการอ้างอิง]
ในปี พ.ศ. 2545 เจษฎา สุขทรามร ได้ร่วมมือกับเพื่อน ๆ ออกอัลบั้ม โอ๋ โมเดลลิ่ง แนะนำศิลปินใหม่ ๆ ให้ผู้ฟังได้รู้จักกัน ซีเปีย และ โอ๋โมเดลลิ่ง ได้ร่วมกันแสดงในคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายาน พ.ศ. 2545 ในงานไฮเนเกนแฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 2 (อังกฤษ: Heineken Fat Festival 2) ณ ห้างสรรพสินค้า อิมพิเรียล ลาดพร้าว การแสดงสดครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งสุดท้ายของวง ทุก ๆ คนต่างแยกย้ายกันไปเป็นครั้งสุดท้าย
เจษฎา สุขทรามร ร่วมกับ พิจิกา จิตตะปุตตะ ตั้งวง ดูบาดู ในสังกัด ก้านคอคลับ ปัจจุบันเขาได้เขามาบริหารค่ายเพลงใหม่ในเครือแกรมมี่ ชื่อ สนามหลวงการดนตรี และอำนวยการผลิตให้กับศิลปินต่าง ๆ ส่วน เอกพงศ์ เชิดธรรม เข้าร่วมกับวง เครสเชนโด้ สังกัดค่ายเบเกอรี่มิวสิค
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.