เมืองอำนาจเจริญ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ และเป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองและการบริหารราชการของจังหวัดอำนาจเจริญ

Thumb
น้ำพุสวนมิ่งมงคลหอนาฬิกาอำนาจเจริญ
Thumb
ย่านธุรกิจเมืองอำนาจเจริญ
Thumb
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง
Thumb
วัดสำราญนิเวศ(พระอารามหลวง)
Thumb
หอนาฬิกาอำนาจเจริญ
ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอเมืองอำนาจเจริญ, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
  อักษรโรมันAmphoe Mueang Amnat Charoen
Thumb
คำขวัญ: 
พระใหญ่คู่เมือง ลือเลื่องถ้ำแสงเพชร รสเด็ดเนื้อแห้ง แหล่งเกษตร อ่างเก็บน้ำงามตา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม งามประเพณี
Thumb
แผนที่จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นอำเภอเมืองอำนาจเจริญ
พิกัด: 15°51′30″N 104°37′48″E
ประเทศ ไทย
จังหวัดอำนาจเจริญ
พื้นที่
  ทั้งหมด598.8 ตร.กม. (231.2 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
  ทั้งหมด130,788 คน
  ความหนาแน่น218.41 คน/ตร.กม. (565.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 37000
รหัสภูมิศาสตร์3701
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองอำนาจเจริญ ถนนชยางกูร ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ปิด

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเมืองอำนาจเจริญมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

Thumb
สวนมิ่งเมืองและศาลหลักเมืองอำนาจเจริญ

ประวัติ

บริเวณจังหวัดอํานาจเจริญ เริ่มตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านช้องนาง (ออกเสียงเป็นซ้องนาง แต่ฟังเป็นส่องนาง ปัจจุบันคืออําเภอเสนางคนิคม) กับ เมืองพนานิคม (ปัจจุบันคืออําเภอพนา) แต่มีบางกลุ่มไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านบุ่ง ติดห้วยปลาแดก ครั้น พ.ศ. 2393 ย้ายไปแหล่งใหม่ที่บ้านค้อ ที่ต่อไปเรียกเป็น บ้านค้อใหญ่คอนชัย (ปัจจุบันคืออําเภอลืออํานาจ จังหวัดอํานาจเจริญ) ชื่อ “อํานาจเจริญ” แรกมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2401 ในแผ่นดินรัชกาล ที่ 4 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2394-2411) ได้ชื่อจากราชทินนามเจ้าเมืองคนแรกว่า พระอมรอํานาจ

อำเภออำนาจเจริญในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เป็นเมืองน้อยหรือเมืองบริวารของเมืองที่ใหญ่กว่า เช่น เมืองอุบลราชธานี, เมืองเขมราฐ, เมืองยโสธร สุดแต่จะถูกกำหนด พ.ศ. 2460 เปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญเป็น “อำเภอบุ่ง” ขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ตั้ง เพราะว่า บุ่ง แปลว่า บริเวณที่มีน้ำ หรือบึง ต่อมา พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่ออำเภอบุ่ง เป็นอำเภออำนาจเจริญตามเดิม

  • วันที่ 28 กรกฎาคม 2455 ยุบอำเภอเสนางคนิคม ลงเป็น กิ่งอำเภอเสนางคนิคม[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบล มณฑลอุบล เป็น อำเภอบุ่ง และเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอเสนางค์นิคม อำเภออำนาจเจริญ เป็น กิ่งอำเภอหนองทับม้า[2]
  • วันที่ 24 ธันวาคม 2465 ยุบกิ่งอำเภอหนองทับม้า ลงเป็น ตำบลหนองทับม้า[3] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2479 ยุบตำบลหนองสิม รวมกับท้องที่ตำบลกุดเชียงหมี[4]
  • วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 โอนพื้นที่หมู่ 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลอำนาจ ไปขึ้นกับตำบลไก่เขี่ย[5]
  • วันที่ 21 มีนาคม 2480 ตั้งตำบลโนนเปือย แยกออกจากตำบลส้มผ่อ และโอนพื้นที่ตำบลโนนเปือย กิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง ไปขึ้นกับอำเภอยโสธร กับตั้งตำบลสวาท แยกออกจากตำบลกุดเชียงหมี กับโอนพื้นที่หมู่ 14 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาวัง ไปขึ้นกับตำบลสวาท กับโอนพื้นที่หมู่ 6,11-12,28 (ในขณะนั้น) ของตำบลส้มผ่อ กิ่งอำเภอเลิงนกทา ไปขึ้นกับตำบลสวาท อำเภอบุ่ง[6]
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2480 แยกพื้นที่ตำบลกุดเชียงหมี ตำบลบุ่งค้า จากอำเภอบุ่ง และตำบลส้มผ่อ จากอำเภอยโสธร ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเลิงนกทา[7] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบุ่ง และโอนพื้นที่ตำบลส้มผ่อ อำเภอยโสธร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง[8]
  • วันที่ 18 เมษายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลห้องแซง อำเภอยโสธร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง[9]
  • วันที่ 12 กันยายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลสวาท อำเภอบุ่ง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง[10]
  • วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหนองทับม้า อำเภอบุ่ง เป็น ตำบลเสนางคนิคม และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภออำนาจเจริญ[11]
  • วันที่ 8 เมษายน 2484 โอนพื้นที่หมู่ 8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลคำพระ ไปขึ้นกับตำบลหัวตะพาน[12]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลไก่เขี่ย แยกออกจากตำบลบุ่ง ตั้งตำบลนาหมอม้า แยกออกจากตำบลน้ำปลีก และตำบลนาจิก ตั้งตำบลเปือย แยกออกจากตำบลอำนาจ ตั้งตำบลหนองแก้ว แยกออกจากตำบลเค็งใหญ่ และตำบลหัวตะพาน ตั้งตำบลไร่ขี แยกออกจากตำบลดงบัง[13]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2490 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภออำนาจเจริญ เป็น อำเภอเลิงนกทา[14]
  • วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลไก่เขี่ย อำเภออำนาจเจริญ เป็น ตำบลไก่คำ[15]
  • วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบุ่ง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบุ่ง[16]
  • วันที่ 2 ตุลาคม 2505 ตั้งตำบลสร้างนกทา แยกออกจากตำบลปลาค้าว[17]
  • วันที่ 26 มีนาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลน้ำปลีก ในท้องที่บางส่วนของตำบลน้ำปลีก[18] และจัดตั้งสุขาภิบาลอำนาจ ในท้องที่บางส่วนของตำบลอำนาจ[19]
  • วันที่ 7 มกราคม 2507 ตั้งตำบลนาผือ แยกออกจากตำบลนาวัง และตำบลเสนางคนิคม[20]
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2509 ตั้งตำบลไร่สีสุก แยกออกจากตำบลเสนางคนิคม และตำบลนาวัง[21]
  • วันที่ 8 พฤศจิกายน 2509 ตั้งตำบลหนองไฮ แยกออกจากตำบลโพนทอง และตำบลคึมใหญ่[22]
  • วันที่ 29 สิงหาคม 2510 แยกพื้นที่ตำบลหัวตะพาน ตำบลคำพระ ตำบลหนองแก้ว และตำบลเค็งใหญ่ จากอำเภออำนาจเจริญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหัวตะพาน[23] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
  • วันที่ 15 มิถุนายน 2511 โอนพื้นที่ตำบลจิกดู่ ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอม่วงสามสิบ มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ[24]
  • วันที่ 15 สิงหาคม 2513 ตั้งตำบลเหล่าพรวน แยกออกจากตำบลปลาค้าว[25]
  • วันที่ 16 มีนาคม 2514 โอนพื้นที่หมู่ 16 (ในขณะนั้น) ของตำบลปลาค้าว ไปตั้งเป็นหมู่ 14 ของตำบลสร้างนกทา[26]
  • วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ เป็น อำเภอหัวตะพาน[27]
  • วันที่ 4 กันยายน 2516 ตั้งตำบลนาเวียง แยกออกจากตำบลนาวัง[28]
  • วันที่ 23 ธันวาคม 2518 แยกพื้นที่ตำบลเสนางคนิคม ตำบลไร่สีสุก ตำบลโพนทอง ตำบลหนองไฮ และตำบลนาเวียง จากอำเภออำนาจเจริญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเสนางคนิคม[29] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
  • วันที่ 13 มิถุนายน 2521 ตั้งตำบลโนนโพธิ์ แยกออกจากตำบลนาจิก[30]
  • วันที่ 1 กันยายน 2525 จัดตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ ในท้องที่อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี มีเขตตลอดท้องที่อำเภออำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอชานุมาน อำเภอพนา อำเภอเขมราฐ และอำเภอกุดข้าวปุ้น[31]
  • วันที่ 31 มีนาคม 2526 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเสนางคนิคม อำเภออำนาจเจริญ เป็น อำเภอเสนางคนิคม[32]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลโนนหนามแท่ง แยกออกจากตำบลบุ่ง ตั้งตำบลห้วยไร่ แยกออกจากตำบลบุ่ง[33]
  • วันที่ 31 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลหนองมะแซว แยกออกจากตำบลสร้างนกทา[34]
  • วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลแมด แยกออกจากตำบลอำนาจ[35][36]
  • วันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 ตั้งตำบลกุดปลาดุก แยกออกจากตำบลนาผือ และตำบลนาวัง[37]
  • วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลอำนาจ ตำบลดงมะยาง ตำบลเปือย ตำบลดงบัง ตำบลไร่ขี และตำบลแมด จากอำเภออำนาจเจริญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอลืออำนาจ[38] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
  • วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลโนนงาม แยกออกจากตำบลเหล่าพรวน[39]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม 2536 แยกพื้นที่ตำบลคำโพน ตำบลหนองข่า จากอำเภอชานุมาน ตำบลนาหว้า ตำบลลือ ตำบลห้วย จากอำเภอพนา และตำบลโนนงาม อำเภออำนาจเจริญ มาตั้งเป็น อำเภอปทุมราชวงศา[40] เพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้รับการสถาปนามาครบ 200 ปี
  • วันที่ 31 สิงหาคม 2536 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบุ่ง[41] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
  • วันที่ 2 กันยายน 2536 แยกพื้นที่อำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอหัวตะพาน และกิ่งอำเภอลืออำนาจ จังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งเป็น จังหวัดอำนาจเจริญ และเปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญ เป็น อำเภอเมืองอำนาจเจริญ[42]
  • วันที่ 2 ธันวาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ[43]
  • วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลโคกกลาง แยกออกจากตำบลดงมะยาง[44]
  • วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลดอนเมย แยกออกจากตำบลนาจิก ตั้งตำบลนายม แยกออกจากตำบลนาหมอม้า ตั้งตำบลนาแต้ แยกออกจากตำบลคึมใหญ่[45]
  • วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอลืออำนาจ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เป็น อำเภอลืออำนาจ[46]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลน้ำปลีก เป็นเทศบาลตำบลน้ำปลีก[47] ด้วยผลของกฎหมาย
  • วันที่ 11 มกราคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนายม ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลนายม[48]
  • วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไก่คำ ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลไก่คำ[49] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอม้า ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลนาหมอม้า[50]
  • วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาวัง ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลนาวัง[51]
  • วันที่ 11 มิถุนายน 2563 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านก่อนาดี ตำบลปลาค้าว เป็นหมู่ที่ 9 บ้านดอนก่อ[52]

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเมืองอำนาจเจริญแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 19 ตำบล 212 หมู่บ้าน ได้แก่

ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, อักษรไทย ...
ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[53]
1 บุ่ง Bung
23
28,043
2 ไก่คำ Kai Kham
13
8,069
3 นาจิก Na Chik
8
4,277
4 ปลาค้าว Pla Khao
12
5,605
5 เหล่าพรวน Lao Phruan
8
4,009
6 สร้างนกทา Sang Nok Tha
16
6,530
7 คึมใหญ่ Khuem Yai
10
5,638
8 นาผือ Na Phue
12
6,597
9 น้ำปลีก Nam Plik
10
7,655
10 นาวัง Na Wang
11
4,604
11 นาหมอม้า Na Mo Ma
8
4,047
12 โนนโพธิ์ Non Pho
11
6,859
13 โนนหนามแท่ง Non Nam Thaeng
14
8,877
14 ห้วยไร่ Huai Rai
10
5,760
15 หนองมะแซว Nong Masaeo
13
4,378
16 กุดปลาดุก Kut Pla Duk
12
6,165
17 ดอนเมย Don Moei
5
2,852
18 นายม Na Yom
8
5,259
19 นาแต้ Na Tae
8
5,751
ปิด

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบุ่ง
  • เทศบาลตำบลน้ำปลีก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลน้ำปลีก
  • เทศบาลตำบลนายม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายมทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลไก่คำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไก่คำทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลนาวัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาวังทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลนาหมอม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหมอม้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่ง (นอกเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาจิก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาจิกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปลาค้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลาค้าวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าพรวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าพรวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างนกทา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างนกทาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลคึมใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคึมใหญ่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาผือทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำปลีก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำปลีก (นอกเขตเทศบาลตำบลน้ำปลีก)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนโพธิ์ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหนามแท่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนหนามแท่งทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไร่ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองมะแซวทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดปลาดุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดปลาดุกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนเมยทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลนาแต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแต้ทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

อ้างอิง

Wikiwand in your browser!

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.

Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.