Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดยโสธร ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เลิงนกทา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัด ห่างจากตัวจังหวัด 72 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากอำเภอเมืองยโสธร และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากอำเภอเมืองยโสธร เป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญเปรียบเสมือนชุมทางคมนาคมขนส่ง คือ เลิงนกทา-มุกดาหาร , เลิงนกทา-ดอนตาล , เลิงนกทา-หนองพอก , เลิงนกทา-ยโสธร และเลิงนกทา-อำนาจเจริญ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อำเภอเลิงนกทา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Loeng Nok Tha |
วัดศรีบุญเรือง ตำบลสวาท | |
คำขวัญ: เกษตรกรรมฟูเฟื่อง เมืองนกทาใหญ่ ถิ่นภูไทงามเลิศ ต้นกำเนิดสายธาร งามตระการภูถ้ำพระ แหล่งธรรมะดีเด่น | |
แผนที่จังหวัดยโสธร เน้นอำเภอเลิงนกทา | |
พิกัด: 16°12′28″N 104°33′17″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ยโสธร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 942.8 ตร.กม. (364.0 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 96,254 คน |
• ความหนาแน่น | 102.09 คน/ตร.กม. (264.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 35120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3508 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเลิงนกทา หมู่ที่ 11 ถนนชยางกูร ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร 35120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อีกทั้งมีสนามบินเลิงนกทา ซึ่งเป็นสนามบินเก่าในช่วงสมัยสงครามเวียดนาม ก่อสร้างโดยทหารสหรัฐอเมริการ่วมกับพันธมิตรอังกฤษ , ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งตั้งในพื้นที่ตำบลโคกสำราญ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม ซึ่งจะผ่านพื้นที่อำเภอเลิงนกทา โดยกำหนดมี สถานีรถไฟเลิงนกทา และป้ายหยุดรถไฟบ้านห้องแซง
เดิมเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ในกลางผืนป่าดงบังอี่ ชื่อว่า บ้านเลิงนกทา ขึ้นกับตำบลหนองสิม อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 13 มกราคม 2466 มีขุนประกอบศุขราษฎร์ (เมืองแสน ประกอบสุข) เป็นกำนันตำบลหนองสิม ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน 2479 ยุบตำบลหนองสิม รวมเข้ากับท้องที่ตำบลกุดเชียงหมี[1] บ้านเลิงนกทาจึงขึ้นกับตำบลกุดเชียงหมี อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 23 สิงหาคม พุทธศักราช 2480 กระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่าท้องที่ตำบลกุดเชียงหมี และตำบลบุ่งค้า ท้องที่อำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี กับตำบลส้มผ่อ อำเภอยะโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่ห่างไกลกับที่ว่าการอำเภอมาก และมีท้องที่กว้างขวาง เพื่อสะดวกแก่การปกครอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอที่บ้านเลิงนกทา ตำบลส้มผ่อ (ปัจจุบันเป็นบ้านเลิงนกทา หมู่ที่ 2 ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา) จึงเรียกว่า กิ่งอำเภอเลิงนกทา ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี มีผลบังคับใช้วันที่ 1 กันยายน พุทธศักราช 2480[2]
วันที่ 18 เมษายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลห้องแซง อำเภอยะโสธร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง[3]
วันที่ 12 กันยายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลสวาท อำเภอบุ่ง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง[4]
วันที่ 21 ตุลาคม 2490 กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภออำนาจเจริญ ขึ้นเป็น อำเภอเลิงนกทา[5] จังหวัดอุบลราชธานี มีผลบังคับใช้วันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2490
พ.ศ. 2506 รัฐบาลอังกฤษได้เสนอที่จะสร้างสนามบินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือปรับปรุงสิ่งอานวยความสะดวกในการส่งกาลังบารุงในพื้นที่ที่มีความสาคัญทาง ยุทธศาสตร์แห่งนี้ สนามบินแห่งนี้จะอานวยความสะดวกแก่เครื่องบินลำเลียงที่มีรัศมีการบินปานกลาง ทั้งของทหารและพลเรือน รัฐบาลไทยได้ตกลงรับข้อเสนอในการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวนี้ หลังจากนั้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506 ชุดวางแผนชุดแรก ซึ่งมี พ.ท.อาร์.อี. ยัง. เป็นหัวหน้า ได้เดินทางจากประเทศอังกฤษมายังอำเภอมุกดาหาร เพื่อสำรวจหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสร้างสนามบินในที่สุดได้เลือกบริเวณใกล้กับบ้านโคกตลาด (บ้านโคกสาราญ) อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบริเวณที่จะทำการก่อสร้าง ทั้งนี้โดยได้พิจารณาเห็นว่าเป็นบริเวณที่จะให้ความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติการบินของเครื่องบิน มีความเหมาะสมและสะดวกแก่หน่วยช่างที่จะดำเนินการก่อสร้าง และอยู่ใกล้ถนนสายอุบลราชธานี-นครพนม รัฐบาลไทยได้ให้ความเห็นชอบและตกลงให้ใช้บริเวณที่เลือกนี้เป็นที่ก่อสร้างสนามบิน และได้จัดซื้อที่ดินแปลงนั้นในทันที
วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2507 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยี่ยม และทำพิธีเปิดการก่อสร้างสนามบิน และตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยทหารไทย อังกฤษ และประเทศในเครือจักรภพ ได้ขับรถบูลโดเซอร์เพื่อโค่นต้นไม้เป็นปฐมฤกษ์ อันเป็นการแสดงถึงการเริ่มต้น แห่งการปฏิบัติงานก่อสร้าง
ต่อมาอำเภอเลิงนกทาได้รับอนุมัติให้ย้ายสถานที่ราชการออกมาตั้งอยู่ถนนชยางกูร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 116 บ้านสามแยก หมู่ที่ 18 ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 11 ตำบลสามแยก อำเภอเลิงนกทา) เนื่องจากบริเวณบ้านสามแยกมีการคมนาคมที่สะดวก และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมระหว่างตำบลต่างๆ เหมาะสมกว่าบ้านเลิงนกทาเก่า
วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2508 จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดสนามบินเลิงนกทา
ช่วงปี พ.ศ. 2508 พื้นที่อำเภอเลิงนกทา อำเภอชานุมาน และกิ่งอำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีผืนป่าดงบังอี่และแนวเขาสลับซับซ้อนรอยต่อกับกิ่งอำเภอดอนตาล จังหวัดนครพนม เกิดการซ่องสุมกำลังพลของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เพื่อต่อสู้กับรัฐบาลในสมัยนั้น โดยตั้งฐานที่มั่นอยู่บริเวณภูสระดอกบัว หรือ เขตงานคณะกรรมการจังหวัด 444 (อุบลเหนือ) และปี พ.ศ. 2509 รัฐบาลได้ส่งกำลังเข้าทำการล้อมปราบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย บริเวณภูแผงม้า บ้านด่าน อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 จอมพลถนอม กิตติขจร ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิวัติ ได้ออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี รวมจัดตั้งเป็นจังหวัดยโสธร จังหวัดที่ 71 ของประเทศไทย มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2515 เป็นต้นไป จึงเป็นผลให้อำเภอเลิงนกทาถูกโอนย้ายมาขึ้นกับจังหวัดยโสธรนับแต่บัดนั้น
วันที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2535 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งท้องที่ตำบลไทยเจริญ ตำบลน้ำคำ ตำบลคำไผ่ ตำบลคำเตย และตำบลส้มผ่อ ของอำเภอเลิงนกทา ตั้งขึ้นเป็น กิ่งอำเภอไทยเจริญ ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภออยู่ที่ตำบลไทยเจริญ ให้อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ พระราชดำเนินโดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจากพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ณ บ้านน้อมเกล้า ตำบลบุ่งค้า อำเภอเลิงนกทา และทรงมีพระราชดำริให้พิจารณาดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยทมโดยการปิดกั้นลำน้ำห้วยทม เพื่อเป็นแหล่งน้ำใช้ในการเพาะปลูกและการอุปโภคบริโภค
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอไทยเจริญขึ้นเป็น อำเภอไทยเจริญ[6] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน ปีเดียวกัน กลายเป็นอำเภอลำดับที่ 9 ของจังหวัดยโสธร และเป็นลำดับที่ 774 ของประเทศไทย
คำว่า "เลิงนกทา" มาจากคำว่า เลิง + นกทา ซึ่งคำว่า เลิง หมายถึง ที่ลุ่มมีแอ่งน้ำ ส่วนคำว่า นกทา หมายถึง นกชนิดหนึ่งคล้ายไก่ต๊อก เหตุที่เรียกที่นี่ว่า เลิงนกทา เพราะสมัยก่อนมีนกทาเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ตามที่ลุ่ม และหนองน้ำซึ่งมีกระจัดกระจายตามพื้นที่ของที่ตั้งอำเภอในปัจจุบัน
อำเภอเลิงนกทา มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 943.800 ตรม.กม. หรือประมาณ 589,250 ไร่ ด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตกมีภูเขาสูงจากเทือกเขาภูพาน และพื้นที่ป่าแถบนั้นถูกกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว , ป่าสงวนแห่งชาติดงปอ , ป่าสงวนแห่งชาติดงบังอี่ และป่าสงวนแห่งชาติดงหัวกอง อีกทั้งยังเป็นต้นกำเนิดลำน้ำสำคัญของลุ่มน้ำมูลคือ ลำเซบาย ลำน้ำโพง และมีลำห้วยสาขาคือ ห้วยสะแบก ห้วยลิงโจน ห้วยทม ห้วยลำกลาง ห้วยก้านเหลือง ห้วยโปง เป็นต้น
อำเภอเลิงนกทา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือสุดของจังหวัดยโสธร ห่างจากจังหวัดยโสธรประมาณ 69 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 594 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
โดยทั่วไป มีลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุม 3 ฤดู หนาวค่อนข้างจัด ฤดูร้อนจัด มีฝนซุกพอสมควร มีปริมาณฝนเฉลี่ย 203.43 มิลลิเมตร/ปี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.08 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.18 องศาเซลเซียส
อำเภอเลิงนกทาแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 145 หมู่บ้าน
1. | บุ่งค้า | (Bung Kha) | 19 หมู่บ้าน | 6. | สามแยก | (Sam Yaek) | 15 หมู่บ้าน | ||||||
2. | สวาท | (Sawat) | 16 หมู่บ้าน | 7. | กุดแห่ | (Kut Hae) | 13 หมู่บ้าน | ||||||
3. | ห้องแซง | (Hong Saeng) | 19 หมู่บ้าน | 8. | โคกสำราญ | (Khok Samran) | 15 หมู่บ้าน | ||||||
4. | สามัคคี | (Samakkhi) | 15 หมู่บ้าน | 9. | สร้างมิ่ง | (Sang Ming) | 11 หมู่บ้าน | ||||||
5. | กุดเชียงหมี | (Kut Chiang Mi) | 12 หมู่บ้าน | 10. | ศรีแก้ว | (Si Kaeo) | 10 หมู่บ้าน |
ท้องที่อำเภอเลิงนกทาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง ได้แก่
อำเภอเลิงนกทา มีทางหลวงแผ่นดิน 4 สาย คือ
มีทางหลวงชนบท 7 สาย คือ
ตลาดมีอยู่ 3 แห่ง
มีจำนวนโรงพยาบาล 1 แห่ง
มีจำนวนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 18 แห่ง ดังนี้
ตำบลบุ่งค้า มี รพ.สต. 4 แห่ง
ตำบลห้องแซง มี รพ.สต. 2 แห่ง
ตำบลศรีแก้ว มี รพ.สต. 2 แห่ง
ตำบลกุดเชียงหมี มี รพ.สต. 2 แห่ง
ตำบลสามัคคี มี รพ.สต. 2 แห่ง
ตำบลกุดแห่ มี รพ.สต. 1 แห่ง
ตำบลสามแยก มี รพ.สต. 1 แห่ง
ตำบลโคกสำราญ มี รพ.สต. 3 แห่ง
ตำบลสร้างมิ่ง มี รพ.สต. 1แห่ง
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.