Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุดร ทองน้อย (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 - 25 กันยายน พ.ศ. 2560) นักคิด นักเขียน นักเคลื่อนไหว นักการเมือง และนักสังคมนิยมคนสำคัญของเมืองไทย และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร 2 สมัย
อุดร ทองน้อย | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร |
เสียชีวิต | 25 กันยายน พ.ศ. 2560 (67 ปี) |
อุดร ทองน้อย เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492[1] ที่บ้านโนนยาง ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร หลังจบชั้นประถมศึกษาตอนต้นเมื่อปี พ.ศ. 2503 ได้บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดราชนัดดาและเข้าเรียนที่โรงเรียนบาลีมัธยมวัดโพธิ์ (วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม) จากนั้นกลับไปเรียนต่อชั้นมัธยมตอนปลายที่โรงเรียนบาลีมัธยมวัดธาตุพนม จังหวัดนครพนม ต่อมาปี พ.ศ. 2511 สอบเข้าเรียนที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบปริญญาตรี เคยดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ในปี พ.ศ. 2515
หลังจบการศึกษาได้ทำงานเป้นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2518 ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดยโสธร ในนาม พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย ได้รับเลือกเป็น ส.ส.หนุ่มที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ในวัย 25 ปี ต่อมามีการยุบพรรค อุดรไม่ได้สมัครเป็น ส.ส.ต่อ เนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองค่อนข้างตึงเครียด จึงเลือกเดินทางเข้าป่าร่วมต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ในฐานะแนวร่วมคนสำคัญ ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 แล้วเคลื่อนไหวในพื้นที่ลาวและเทือกเขาภูพาน
จนกระทั่งรัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบาย 66/2523 เพื่อแก้ปัญหาสงครามภายในโดยใช้การเมืองนำการทหาร อุดรจีงตัดสินใจเดินทางกลับเข้าสู่เมือง โดยต่อมาใช้ชีวิตเป็นนักกฎหมาย ทนายความ และเขียนวรรณกรรม เรื่องสั้น บทกวี เผยแพร่อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ยโสธร จนได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัยหนึ่งในปี พ.ศ. 2531 ภายใต้สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[2]
อุดร ทองน้อย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
อุดร ทองน้อย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560[3] ด้วยภาวะโรคเบาหวาน และ โรคไต สิริอายุรวม 67 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดบึงทองหลาง กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560
อุดร ทองน้อย มีผลงานและชื่อเสียงด้านวรณณกรรมตั้งแต่ยังหนุ่ม จากผลงานการเขียนหลายเรื่อง โดยเฉพาะบทกวี อีสานกู ที่ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารวิทยาสาร ในปี 2512 อาศรมวรรณศิลป์ ของเขา ที่ร่วมกับเพื่อนมิตรวรรณกรรมก่อตั้งขึ้น มีผลงานตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ อย่างต่อเนื่องในยุคสมัยต่อๆ มา ผลงานเขียนนวนิยายของอุดรคือ วันที่แดดเป็นสีเลือด รวมเรื่องสั้นได้แก่ หมาเน่า อีแร้ง แมลงวัน คืนก่อนวันเก่า ต้องมีสักวัน แมลงเม่า กลับบ้าน ฟ้าไม่สิ้นลม กุยดำเรย นักฆ่าพญาโขง สายลับนอกราชการ รุ่นสะเดิดดิ้น ผมเพิ่งกลับจากสงคราม รวมถึงเรื่องสั้น สองเสี่ยวหาเสียง ในฟ้าเมืองไทย และเรื่องสั้น จอนฟอน ในฟ้าเมืองทอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารคดีได้แก่ ถังเหล่ยเวียดนาม ตะวันสีแดงส่องทาง และ ตามรอยรอแดว ประเภทบทกวีนิพนธ์ ได้แก่ ทุ่งนา ป่าดอน นคร คน อีสานกู เลือดเนื้อหนังกระดูกของคนยากจน (สายเลือด หนังเนื้อ และกระดูกผู้ยากไร้) ดวงมณีล้ำค่า บทละคร ร้านอัตวินิบาตกรรม และ ว่าวใบกลอย
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.