Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุดม ทรงแสง (20 มิถุนายน 2478 - 24 ธันวาคม 2561) หรือรู้จักกันในนาม พ่อดม ชวนชื่น และ อุดม ชวนชื่น เป็นนักแสดงตลก ลิเก นักดนตรี และนักแต่งเพลงชาวไทย รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งและอดีตหัวหน้าคณะตลกคณะชวนชื่น นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่นำเอาดนตรีสากลมาเล่นร่วมกับลิเกคนแรกของไทยอีกด้วย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อุดม ทรงแสง | |
---|---|
ชื่อเกิด | อุดม ทรงแสง |
เกิด | 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (83 ปี) โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | 4 คน
|
บุตร | 15 คน |
อาชีพ | นักแสดง นักแสดงตลก ลิเก นักดนตรี นักแต่งเพลง |
ฐานข้อมูล | |
IMDb |
อุดม ทรงแสง เกิดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ที่ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นบุตรของคุณพ่อผ่อง คุณแม่สอย ทรงแสง เป็นบุตรคนที่ 4 คนในบรรดาพี่น้อง 6 คน ในครอบครัวที่ประกอบอาชีพเป็นนักแสดงลิเก เริ่มเล่นลิเกตั้งแต่อายุ 13 ปีจนทำให้ไม่มีเวลาได้เรียนหนังสือและจบแค่ป.1 และได้เริ่มเป็นพระเอกลิเกในคณะศิลป์ส่งเสริม ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ก่อนจะแยกออกมาตั้งคณะลิเกอุดมศิลป์ และได้แสดงลิเกออกรายการวิทยุในนามคณะ อุดม - แววดาว ซึ่งเป็นน้องสาว และก็ประสบความสำเร็จอย่างมากที่จันทบุรี หลังจากที่แสดงไปได้แค่ 7 วัน
ในระหว่างที่เป็นนักแสดงลิเกด้วยความที่ชื่นชอบเรื่องดนตรีทั้งไทยและสากลจึงสามารถเล่นเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงลิเกได้ทุกชิ้น และมีความสนใจในแซกโซโฟน จึงได้ซื้อมาฝึกเล่นด้วยตนเอง ต่อมาอุดมจึงได้คิดวิธีการดึงผู้ชมให้เข้ามาดูลิเกด้วยการเล่นดนตรีสากลในช่วงหัวค่ำก่อนการแสดง คณะลิเกของอุดมจึงมีทั้งแอกคอร์เดียน กีต้าร์ เบส และกลองชุด เครื่องดนตรีเหล่านี้ก็ถูกนำไปเล่นรวมกับเครื่องดนตรีลิเก นับเป็นคณะลิเกคณะแรกของเมืองไทยจนเป็นต้นแบบให้กับคณะลิเกในยุคปัจจุบัน
ขณะอายุได้ 30 ปี หลังจากที่ได้ยินคนดูบ่นให้ฟังเรื่องอายุมากเกินที่จะเป็นพระเอก อุดมก็ตัดสินใจล้างมือจากการเป็นพระเอกลิเกและหนีเข้ากรุงเทพพร้อมกับแซกโซโฟนคู่ใจเข้าร่วมวงดนตรีลูกทุ่งของประจวบ จำปาทอง สังข์ทอง สีใส ชาตรี ศรีชล เพลิน พรหมแดน นักร้องลูกทุ่งชื่อดังในยุคนั้นในตำแหน่งเครื่องเป่า พร้อมกับให้นพดล ทรงแสง (จิ้ม) ลูกชายเข้าร่วมวงอีกคนในตำแหน่งมือกลอง ในระหว่างนั้นอุดมและจิ้มได้เริ่มหันมาแสดงตลกแทนตลกในคณะที่หยุดพัก โดยได้ค่าตัวถึงคืนละ 500 บาท เล่นตลกอยู่ราว 1 ปี จนกระทั่งวงดนตรีของเพลิน พรหมแดนได้ยุบไป
ในปี พ.ศ. 2525 ขณะอายุได้ 47 ปี อุดมได้รวบรวมสมัครพรรคพวกก่อตั้งคณะตลกคณะชวนชมขึ้นในรูปแบบตลกครอบครัวแต่ไม่ได้รับความนิยมมากนักจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นชวนชื่น โดยเริ่มแรกมี จเด็จ เพชรบูรณ์ เปี๊ยก อยุธยา แป๋ว บ้านโป่ง จิ้ม ชวนชื่น หลุยส์ ชวนชื่น และอุดม ชวนชื่น ทำให้เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาโดยรับงานแสดงตลกตามที่ต่างๆ รวมไปถึงก่อตั้งบริษัทรับจัดงานแสดง โชว์ และผลิตรายการโทรทัศน์ออกมามากมายอีกด้วย ในเวลาต่อมาด้วยอายุที่มากขึ้นอุดมจึงตัดสินใจยกคณะให้ จิ้ม ชวนชื่น เป็นผู้ดูแลแทนแต่อุดมก็ยังร่วมแสดงตลกกับชาวคณะอยู่เสมอกระทั่งจิ้มได้ตัดสินใจยุบคณะชวนชื่นไปในที่สุด
นอกจากนี้ อุดมยังเป็นนักแต่งเพลงซึ่งได้รับคำแนะนำมาจากพร ภิรมย์ ในช่วงที่ไปเล่นลิเกด้วยกันนาน 2 ปี พ่อดมได้ประพันธ์เพลงไว้หลายบทเพลงให้กับนักร้องมากมาย อาทิ คัมภีร์ แสงทอง ยอดรัก สลักใจ เอกชัย ศรีวิชัย และบทเพลงที่สร้างชื่อเสียงให้กับอุดมมากที่สุดคือเพลง พิษรักพิษณุโลก เดิมอุดมตั้งใจแต่งเอาไว้ให้จิ้มไว้ตอนอายุ 14 ปี ภายหลังได้ถูกนำไปประกอบภาพยนตร์เรื่อง คนปีมะ ขับร้องโดย สีหนุ่ม เชิญยิ้ม เป็นผู้ขับร้องเป็นคนแรก ต่อมา สันติ ดวงสว่าง และ หนู มิเตอร์ ได้นำเพลงนี้ไปขับร้องใหม่
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 อุดมได้ตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคมะเร็งตับในระยะที่ 3 กระทั่งอุดมได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเมื่อวันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ด้วยวัย 83 ปี 7 เดือน 4 วัน
อุดม ชวนชื่น มีภรรยา 4 คนและบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 15 คน ในบรรดาบุตรธิดาของอุดมที่เป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง อาทิ นพดล ทรงแสง (จิ้ม ชวนชื่น), แสงดาว ทรงแสง (จอย ชวนชื่น), รณกร ทรงแสง (หลุยส์ เชิญยิ้ม) และ ผดุง ทรงแสง (แจ๊ส ชวนชื่น) รวมถึง อาคม ปรีดากุล (ค่อม ชวนชื่น) และ แป๋ว บ้านโป่ง ที่มีศักดิ์เป็นหลานทั้งนี้ อุดมเคยพูดเอาไว้ว่าลูกอีกคนหนึ่งของเขานั้นกำลังตามหาเขาอยู่ซึ่งปัจจุบันตัวของลูกคนที่ 15 ของอุดมยังคงเป็นปริศนาอยู่
นอกจากนี้อุดมยังมีศักดิ์เป็นพ่อตาของเทพ โพธิ์งาม นักแสดงตลกชื่อดังอีกด้วยเพราะลูกสาวคนหนึ่งของอุดมคือ ภัสราวรรณ ทรงพีระพัฒน์ (จุ๋ม) ได้มาแต่งงานกับเทพ โพธิ์งามและชื่อของอุดมยังได้ถูกนำไปใช้เป็นชื่อร้านอาหารทะเลของหลุยส์ เชิญยิ้ม ในชื่อ อุดมซีฟู้ด
อุดม ชวนชื่น เคยปฏิเสธรับรางวัลเป็นศิลปินแห่งชาติ เนื่องด้วยกลัวเสื่อมเสียเพราะชอบเที่ยวอาบอบนวด
ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2545 | ผีหัวขาด | ชาวบ้าน (รับเชิญ) |
2546 | องค์บาก | ตาเหมือน (รับเชิญ) |
หลบผี ผีไม่หลบ | ดม | |
ดึก ดำ ดึ๋ย | ตาของสวย | |
คนปีมะ | ||
คนเล่นผี | กำนันเล็ก | |
2547 | บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม | ดม (เอเลียต) (รับเชิญ) |
โหมโรง | ช่างซ่อมเครื่องดนตรีไทย | |
โกร๋น ก๊วน กวน ผี | ตาเก่ง | |
มนต์รักร้อยล้าน | ผู้ใหญ่เทพ | |
2548 | พยัคฆ์ร้ายส่ายหน้า | บอม คนบ้าชอบทำระเบิด |
2549 | โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง | นายแดง (พ่อของบุญเท่ง) |
โกยเถอะโยม | สัปเหร่อจัน | |
แสบสนิท ศิษย์ส่ายหน้า | ||
2551 | บ้านผีเปิบ | ลุงดูด |
2552 | บุปผาราตรี 3.1 | ลูกกรอกตัวพ่อ |
บุปผาราตรี 3.2 | ลูกกรอกตัวพ่อ | |
2553 | 8E88 แฟนลั้ลลา | เจ้าพ่อดม |
มือปืนดาวพระเสาร์ | เปิ้ล อาก้า | |
2554 | จั๊กกะแหล๋น | ป๋าชา |
ใหม่กะหม่ำ โดนกะโดน | พ่อของใหม่ | |
เหลือแหล่ | ลุงดม | |
หมาแก่ อันตราย | เปิ้ล อาก้า | |
ขอบคุณที่รักกัน | เตี่ย | |
2555 | ปล้นนะแย้ | วินนี่ |
2556 | คุณชายโซ | พ่อบ้าน |
2557 | ตุ๊กแกรักแป้งมาก | ลุงโอ่ง |
2559 | หลวงพี่แจ๊ส 4G | พ่อดม (พ่อของหลวงพี่แจ๊ส) (รับเชิญ) |
2563 | มือปืน โลก/พระ/จัน 2 |
ปี | เรื่อง | บทบาท |
---|---|---|
2542 - 2547 | ||
ระเบิดเถิดเทิง | (ตอน โจรปล้นธนาคาร, หย่าเอาเคล็ด) | |
2542 | แฝดรักอลวน | |
2545 | คนส่งกรรม | เฒ่าสุก |
เทพีจ้าวสังเวียน | ||
หัวใจไกลปืนเที่ยง | ลุงเม่น | |
2546 | สัญญาเมื่อสายัณห์ | |
ขายตรงส่งรัก | ||
2547 | มนต์เสน่หา | |
2548 | ชิชา สาวน้อยมหัศจรรย์ | |
พยัคฆ์ร้ายหัวใจจิ๋ว | ||
2549 | โคกคูนตระกูลไข่ | (ตอน โคกคูนตระกูลเค้ก, เค้กสูตรไข่) |
2550 | ผู้กองเจ้าเสน่ห์ | (ตอน ตัวประกัน) |
ลูกระนาด | ||
2551 | นส. ผ้าขี้ริ้ว | ตาผุย |
รักต้องซ่อม | (ตอน รักติดปีก) | |
2552 | เป็นต่อ | ลุงของพี่กอล์ฟ (ตอน ผ้าเหลืองร้อน) |
บ่วงร้ายพ่ายรัก | มัคทายก | |
เทพธิดาปลาร้า | ||
2553 | วงษ์คำเหลา เดอะซีรีส์ | ท่านปู่ทอง |
วายุภัคมนตรา | ท่านเจ้าที่ | |
2554 | รักไม่มีวันตาย | ลุงมหา |
ท่าประชา | ||
มือปราบมหาเฮี้ยน | กุมารไฟ | |
2555 | แก้วกลางดง | |
นางสิงห์สะบัดช่อ | สัปเหร่อคง | |
ก้นครัวตัวแสบ | ยม | |
2556 | คุณชายรัชชานนท์ | พรานเกิ้น |
มาเฟียตาหวาน | ||
2557 | ธิดาแดนซ์ | จ่า |
ผู้กองเจ้าเสน่ห์ | ตอน ดมเล่าเฝ้าเสือ | |
ยอดชายนายตุ๊กตุ๊ก | ลุงแช่ม | |
2558 | ลิเกหมัดสั่ง | มัคทายก |
2 รัก 2 วิญญาณ | คนขับแท็กซี่ | |
เจ้านาง | พ่อครู | |
มนต์รักเพลงผีบอก | ||
2559 | สัญญาเมื่อสายัณห์ | ตาชุปสี่คิ้ว (ครูสอนเพลงลูกทุ่ง) |
ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ | (ตอน พ่อไม่เข้าใจแหนม) | |
ส้มตำแฮมเบอร์เกอร์ | น้าสิงห์ | |
ละครเทิดพระเกียรติ ชุด ใต้ร่มพระบารมี เรื่อง เพลงแห่งแสงตะวัน |
ลุงต่าย | |
2560 | หล่อล่าผี | ปู่ดม |
ว่าความตามรัก | นับตังค์ สงวนสิน (ปู่นับตังค์) (รับเชิญ) | |
ราชนาวีที่รัก | ลุงโขง | |
2561 | รักปรุงรส | ปู่สิงห์ |
สุขจ๋า...อยู่หนใด? | เขียวตั้งแช |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.