Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รองศาสตราจารย์ อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ (เกิด 12 ตุลาคม พ.ศ. 2526) รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า [2] อดีตที่ปรึกษาประธานรัฐสภา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[3][4] และอดีตเลขานุการประธานรัฐสภา [5]
อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กันยายน พ.ศ. 2562[1] – 20 มกราคม พ.ศ. 2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 ตุลาคม พ.ศ. 2526 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ เกิดเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2526 ที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า “บิล” เป็นบุตรคนโตในจำนวน 3 คน ครอบครัวประกอบธุรกิจด้านชิ้นส่วนยานยนต์โดยร่วมทุนกับบริษัททั้งในภาคพื้นเอเชียและยุโรป[6]
อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาวิศวกรรมเคมี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาเอกด้านวิศวกรรมศาสตร์ จาก Imperial College London (ทุน Marie Courie Fellowship ของสหภาพยุโรป)
นอกจากนี้ อิสระ ได้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรความรู้เฉพาะด้าน ได้แก่
อิสระมีประสบการณ์การทำงานร่วมกับองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรรมในต่างประเทศ อาทิ International Test Centre for CO2 Capture ประเทศแคนาดา และ MET Evonik ภายใต้กรอบความร่วมมือแห่งสหภาพยุโรป ประเทศสหราชอาณาจักร อีกทั้งยังผ่านการทดสอบและได้รับใบประกอบวิชาชีพในระดับสามัญวิศวกร สาขาอุตสาหการ จากสภาวิศวกรไทย
ในด้านธุรกิจ อิสระ รับช่วงบริหารธุรกิจของครอบครัว ได้ขยายกิจการและการลงทุนไปยังภาคพื้นยุโรป และตัดสินใจย้ายฐานการผลิตจากประเทศอิตาลีและประเทศโรมาเนียมายังประเทศไทย ปัจจุบันอิสระดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของบริษัทและกลุ่มบริษัทในเครือฯ และประธานหอการค้าโรมาเนีย-ไทย
ด้วยประสบการณ์ทำงานและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคยุโรป ส่งผลให้ประเทศมอลโดวาเสนอแต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์และหัวหน้าคณะผู้แทนทางการกงสุลของสาธารณรัฐมอลโดวาประจำประเทศไทยคนแรก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออกอนุมัติบัตรรับรองให้ ดร. อิสระ ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ฯ[7] และเขายังได้รับเชิญให้เป็นกรรมการบริหารสมาคมคณะกงสุลกิตติมศักดิ์ (ประเทศไทย) ด้วย
สำหรับงานด้านวิชาการ อิสระ ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็น "รองศาสตราจารย์" และเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารสถาบันการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิในมหาวิทยาลัยของทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย รวมทั้งรับเชิญเป็นกองบรรณาธิการบริหารของการประชุมวิชาการนานาชาติ โดยมีผลงานทั้งรูปแบบหนังสือและบทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติชั้นนำต่าง ๆ จำนวนมาก อาทิ
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2021) " Chloride-induced Corrosion of a Galvanized Steel-embedded Calcium Sulfoaluminate Stucco System", Journal of Building Engineering, 44 (3) :103376.DOI: 10.1016/j.jobe.2021.103376
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2020) "Environmental Evaluation of Pavement System Incorporating Recycled Concrete Aggregate", International Journal of Pavement Research and Technology.DOI: https://doi.org/10.1007/s42947-020-0002-7
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2019) “Dissolution, Nucleation, and Crystal Growth Mechanism of Calcium Aluminate Cement”, Journal of Sustainable Cement-Based Materials, 8 (3), 180-197. DOI:10.1080/21650373.2018.1558132
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2018) “Advances in Green Engineering for Natural Products Processing”, Journal of Engineering Science and Technology Review, 11 (2), 196.
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2018) “Effects of Seeding Nucleation Agenton Geopolymerization Process of Fly-Ash Geopolymer”, Frontiers of Structural and Civil Engineering, 12 (1), 16.
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2016) “The Effect of Pulsed Microwave Power on Transesterification of Chloerlla Sp. for Biodiesel Production”, Chemical Engineering Communications, 203 (5), 575.
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2011) “Nanofiltration Process for the Nutritional Enrichment and Refining of Rice Bran Oil”, Journal of Food Engineering, 102, 16.
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2010) “Enantiosepartion Via EIC-OSN: Process Design and Improvements of Enantiomers Resolvability and Separation Performance”, American Institute of Chemical Engineers Journal, 56 (4), 893.
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2010) “Demonstration of Molecular Purification in Polar Aprotic Solvents by Organic Nanofiltration”, Organic Process Research & Development, 14 (3), 600.
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2010) “Spiral-Wound Polyaniline Membrane Modules for Organic Solvent Nanofiltration (OSN) ”, Journal of Membrane Science, 349, 123.
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2008) “Polymeric Membrane Nanofiltration and Its Application to Separations in the Chemical Industries”, Marco Molecular Symposia, 264, 184.
⧫ Sereewatthanawut, et al. (2006) “Extraction of Protein and Amino Acids Form Deoiled Rice Bran by Subcritical Water Hydrolysis” Bio Resource Technology, 99 (3), 555.
นอกจากงานด้านการศึกษา อิสระ ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งด้านตุลาการ เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง[8] และด้านนิติบัญญัติซึ่งได้รับการเชิญให้เป็นที่ปรึกษาและอนุกรรมาธิการในวงงานหลายคณะ ได้แก่ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและแรงงาน[9] คณะกรรมาธิการการพลังงาน[10] คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ [11] คณะอนุกรรมาธิการกิจการตำรวจในคณะกรรมาธิการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ เป็นต้น
อิสระ สมัครเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์[12] และเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2561 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับกฎหมายพรรคการเมืองฉบับใหม่ อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยมติที่ประชุมเป็นเอกฉันท์จากที่กำหนดในข้อบังคับ อิสระได้รับการยกเว้นในคุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคฯ ครบ 5 ปีจึงจะมีสิทธิ์เป็นกรรมการบริหารพรรคฯ[13] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2562 ดร.อิสระลงสมัครเป็นสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และได้รับการจัดให้อยู่ในลำดับที่ 23 ของพรรคประชาธิปัตย์[14]
ในการเข้ารับตำแหน่งประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรของนายชวน หลีกภัย ได้แต่งตั้ง อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ เป็นข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมืองระดับบริหาร ในตำแหน่ง “เลขานุการประธานรัฐสภา” (Chief Presidential Secretary)
กระทั่งวันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562 ก่อนการประชุมสภานายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎรโดยให้มีผลทันทีส่งผลให้ อิสระ ขยับขึ้นมาทำหน้าที่แทน [15]
ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 อิสระได้ลาออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และนายชวน หลีกภัย ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง[16]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 อิสระได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 15[17] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ต่อมาภายหลังการลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ของจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เขาได้รับการกล่าวถึงผ่านสื่อมวลชนว่าจะเป็นบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนต่อไป[18] แต่ต่อมาเจ้าตัวปฏิเสธว่าไม่มีความประสงค์จะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[19]
นอกจากดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์แล้ว อิสระ ยังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งในระดับนานาชาติและภายในประเทศดังนี้
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.