Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินเตร์ลิงกวา (Interlingua; รหัสภาษา ISO 639: ia, ina) เป็นภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติที่พัฒนาในช่วง ค.ศ. 1937 ถึง 1951 โดยองค์การภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ ซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งในภาษาที่มีการใช้งานมากที่สุดในบรรดาภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติทั้งหมด[2] ศัพท์ ไวยากรณ์ และคุณสมบัติในภาษานี้มาจากภาษาธรรมชาติมากกว่าภาษาที่มีการวางแผน วรรณกรรมอินเตร์ลิงกวายังคงทำให้ผู้พูดภาษากลุ่มโรมานซ์ร้อยล้านคนสามารถเข้าใจได้[3] ถึงแม้ว่าจะมีผู้พูดจริงเพียงไม่กี่ร้อยคนก็ตาม[1]
อินเตร์ลิงกวา | |
---|---|
interlingua | |
โลโก | |
ออกเสียง | /inteɾˈliŋɡwa/ |
สร้างโดย | องค์การภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ |
วันที่ | ค.ศ. 1951 |
การจัดตั้งและการใช้ | ศัพท์สากลทางวิทยาศาสตร์; ภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ |
ผู้ใช้ | ภาษาเขียน 1,500 คน (2000)[1] |
จุดประสงค์ | ภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ
|
ระบบการเขียน | อักษรละติน |
ที่มา | ต้นตอภาษา: อังกฤษ, ฝรั่งเศส, อิตาลี, โปรตุเกส และสเปน พร้อมกับอ้างอิงจากภาษาควบคุมอื่น ๆ (โดยหลักคือเยอรมันและรัสเซีย) |
สถานภาพทางการ | |
ผู้วางระเบียบ | ไม่มี |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ia |
ISO 639-2 | ina |
ISO 639-3 | ina |
อินเตร์ลิงกวามีรูปแบบไวยากรณ์ส่วนใหญ่เรียบง่าย[4][5] ที่มีศัพท์ทั่วไปจากกลุ่มภาษายุโรปตะวันตก[6] ทำให้อย่างน้อยเป็นภาษาที่เรียนรู้ง่ายสำหรับผู้ที่ภาษาแม่เป็นภาษาต้นตอของศัพท์และไวยากรณ์อินเตร์ลิงกวา[7] ในทางตรงกันข้าม ภาษานี้ยังเป็นตัวช่วยแนะนำภาษาธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วด้วย[2]
ชื่ออินเตร์ลิงกวามาจากศัพท์ภาษาละตินว่า inter หมายถึง "ระหว่าง" กับ lingua หมายถึง "ลิ้น" หรือ "ภาษา"
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.