อำเภอเมืองหนองคาย

อำเภอในจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอเมืองหนองคาย

เมืองหนองคาย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย โดยถือเป็นศูนย์กลางทางราชการ เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข และการคมนาคมของจังหวัด

ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอเมืองหนองคาย, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอเมืองหนองคาย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
  อักษรโรมันAmphoe Mueang Nong Khai
Thumb
คำขวัญ: 
อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ หลวงพ่อพระใส สะพานไทย-ลาว
Thumb
แผนที่จังหวัดหนองคาย เน้นอำเภอเมืองหนองคาย
พิกัด: 17°52′48″N 102°44′30″E
ประเทศ ไทย
จังหวัดหนองคาย
พื้นที่
  ทั้งหมด607.5 ตร.กม. (234.6 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
  ทั้งหมด150,103 คน
  ความหนาแน่น247.08 คน/ตร.กม. (639.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสภูมิศาสตร์4301
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคาย ถนนมิตรภาพ ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย 43000
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ปิด

ประวัติ

  • วันที่ 29 มีนาคม 2450 โอนพื้นที่ตำบลน้ำโมง และตำบลโพนสา อำเภอหนองคาย ไปขึ้นกับ อำเภอท่าบ่อ[1]
  • วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย มณฑลอุดร เป็น อำเภอมีชัย[2]
  • วันที่ 25 มกราคม 2464 ยุบตำบลบ้านเดื่อใต้ ไปรวมกับตำบลหินโงม[3]
  • วันที่ 13 มิถุนายน 2469 ยุบตำบลเมืองบาง และแบ่งหมู่บ้านไปขึ้นกับตำบลวัดธาตุ ตำบลนาฮี[4]
  • วันที่ 25 มีนาคม 2478 ยกฐานะชุมชนที่ตั้งศาลาว่าการจังหวัดหนองคาย มาจัดตั้งเป็น เทศบาลเมืองหนองคาย[5]
  • วันที่ 24 พฤษภาคม 2479 โอนพื้นที่หมู่ 7,8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาฮี ไปขึ้นกับตำบลโพธิ์ชัย[6]
  • วันที่ 24 เมษายน 2482 ตั้งตำบลบ้านฝาง แยกออกจากตำบลสระใคร[7]
  • วันที่ 28 มกราคม 2484 เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอเมืองหนองคาย (1,2,3)
    • (1) แยกพื้นที่หมู่ 1-6 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพธิ์ชัย (ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย) พื้นที่หมู่ 1-4,7 (ในขณะนั้น) ของตำบลมีชัย (ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย) และพื้นที่หมู่ 3-5,7-9 (ในขณะนั้น) ของตำบลวัดธาตุ (ที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย) จัดตั้งเป็น ตำบลในเมือง
    • (2) โอนพื้นที่หมู่ 7-8,11-13 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพธิ์ชัย ไปขึ้นกับตำบลวัดธาตุ
    • (3) โอนพื้นที่หมู่ 9,10 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพธิ์ชัย ไปขึ้นกับตำบลมีชัย และให้ยุบตำบลโพธิ์ชัย[8]
  • วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลวัดธาตุ แยกออกจากตำบลมีชัย ตั้งตำบลกวนวัน แยกออกจากตำบลเวียงคุก ตั้งตำบลนาฮี แยกออกจากตำบลสระใคร และตั้งตำบลบ้านฝาง แยกออกจากตำบลดอนหมู[9]
  • วันที่ 27 เมษายน 2491 โอนพื้นที่หมู่ 2 (ในขณะนั้น) ของตำบลเวียงคุก ไปขึ้นกับตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ[10]
  • วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลนาฮี อำเภอเมืองหนองคาย เป็น ตำบลค่ายบกหวาน[11]
  • วันที่ 11 เมษายน 2504 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลดอนหมู อำเภอเมืองหนองคาย เป็น ตำบลพระธาตุบังพวน[12]
  • วันที่ 22 มกราคม 2506 ตั้งตำบลบ้านเดื่อ แยกออกจากตำบลหินโงม[13]
  • วันที่ 4 สิงหาคม 2513 ตั้งตำบลโพธิ์ชัย แยกออกจากตำบลมีชัย ตั้งตำบลหาดคำ แยกออกจากตำบลวัดธาตุ ตั้งตำบลสองห้อง แยกออกจากตำบลค่ายบกหวาน[14]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน 2522 ตั้งตำบลคอกช้าง แยกออกจากตำบลสระใคร[15]
  • วันที่ 16 มิถุนายน 2524 ตั้งตำบลหนองกอมเกาะ แยกออกจากตำบลมีชัย ตั้งตำบลปะโค แยกออกจากตำบลเวียงคุก[16]
  • วันที่ 18 พฤษภาคม 2525 จัดตั้งสุขาภิบาลหนองสองห้อง ในท้องที่บางส่วนของตำบลค่ายบกหวาน[17]
  • วันที่ 7 กันยายน 2525 ตั้งตำบลเมืองหมี แยกออกจากตำบลกวนวัน ตั้งตำบลสีกาย แยกออกจากตำบลหินโงม[18]
  • วันที่ 23 สิงหาคม 2536 จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงคุก ในท้องที่บางส่วนของตำบลเวียงคุก[19]
  • วันที่ 26 พฤษภาคม 2537 แยกพื้นที่ตำบลสระใคร ตำบลคอกช้าง และตำบลบ้านฝาง อำเภอเมืองหนองคาย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอสระใคร ขึ้นกับอำเภอเมืองหนองคาย[20]
  • วันที่ 8 สิงหาคม 2538 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ให้ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมีชัยทั้งตำบล รวมทั้งยังขยายเข้าไปในเขตตำบลหนองกอมเกาะ ตำบลเมืองหมี ตำบลกวนวัน ตำบลโพธิ์ชัย และตำบลหาดคำ[21]
  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลหนองสองห้อง และสุขาภิบาลเวียงคุก เป็นเทศบาลตำบลหนองสองห้อง และเทศบาลตำบลเวียงคุก ตามลำดับ
  • วันที่ 15 กันยายน 2547 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลเวียงคุก รวมกับเทศบาลตำบลเวียงคุก[22]
  • วันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสระใคร อำเภอเมืองหนองคาย เป็น อำเภอสระใคร[23]
  • วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลสองห้อง อำเภอเมืองหนองคาย เป็น ตำบลโพนสว่าง[24] เนื่องจากมีชื่อพ้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ทำให้เกิดความสับสนในการติดต่อราชการ และขอเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้านที่เป็นที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลสองห้อง คือ บ้านโพนสว่าง

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเมืองหนองคายมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

สรุป
มุมมอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเมืองหนองคายแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 16 ตำบล 180 หมู่บ้าน ได้แก่

1.ในเมือง(Nai Mueang)17 หมู่บ้าน9.บ้านเดื่อ(Ban Duea)16 หมู่บ้าน
2.มีชัย(Mi Chai)9 หมู่บ้าน10.ค่ายบกหวาน(Khai Bok Wan)16 หมู่บ้าน
3.โพธิ์ชัย(Pho Chai)12 หมู่บ้าน11.โพนสว่าง(Phon Sawang)10 หมู่บ้าน
4.กวนวัน(Kuan Wan)7 หมู่บ้าน12.พระธาตุบังพวน(Phra That Bang Phuan)14 หมู่บ้าน
5.เวียงคุก(Wiang Khuk)8 หมู่บ้าน13.หนองกอมเกาะ(Nong Kom Ko)11 หมู่บ้าน
6.วัดธาตุ(Wat That)14 หมู่บ้าน14.ปะโค(Pa Kho)7 หมู่บ้าน
7.หาดคำ(Hat Kham)16 หมู่บ้าน15.เมืองหมี(Mueang Mi)7 หมู่บ้าน
8.หินโงม(Hin Ngom)8 หมู่บ้าน16.สีกาย(Si Kai)8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

Thumb
เขตเทศบาลในอำเภอเมืองหนองคาย

ท้องที่อำเภอเมืองหนองคายประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 16 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลเมืองหนองคาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองและตำบลมีชัยทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลโพธิ์ชัย ตำบลกวนวัน ตำบลหาดคำ ตำบลหนองกอมเกาะ และตำบลเมืองหมี
  • เทศบาลตำบลหนองสองห้อง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลค่ายบกหวาน
  • เทศบาลตำบลเวียงคุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงคุกทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหาดคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหาดคำ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
  • เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ชัย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
  • เทศบาลตำบลกวนวัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกวนวัน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
  • เทศบาลตำบลวัดธาตุ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดธาตุทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลปะโค ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปะโคทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านเดื่อทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหินโงม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินโงมทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลค่ายบกหวาน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพนสว่าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพนสว่าง (สองห้องเดิม) ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุบังพวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระธาตุบังพวนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกอมเกาะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองกอมเกาะ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองหมี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองหมี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองหนองคาย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลสีกาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสีกายทั้งตำบล

การศึกษา

ระดับมหาวิทยาลัย
ระดับวิทยาลัย
ระดับมัธยมศึกษา

สาธารณสุข

  • โรงพยาบาลหนองคาย
  • โรงพยาบาลหนองคาย 2
  • โรงพยาบาลรวมแพทย์หนองคาย (เอกชน)
  • โรงพยาบาลหนองคายวัฒนา (เอกชน)
  • โรงพยาบาลพริ้นซ์ หนองคาย (โครงการก่อสร้าง)

การขนส่ง

ทางถนน

รถยนต์

จากกรุงเทพมหานคร ใช้ถนนพหลโยธินจนถึงจังหวัดสระบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 107 แล้วแยกขวาเข้าถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุดรธานี จนไปถึงตัวจังหวัดหนองคาย

รถโดยสารประจำทาง

สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย มีบริการรถโดยสารประจำทางทั้งรถโดยสารธรรมดาและปรับอากาศ ทั้งรถที่มาจากกรุงเทพฯ และจากหนองคายไปยังจังหวัดต่างๆ ผู้ให้บริการรถโดยสารที่สำคัญ อาทิ ชาญทัวร์, แอร์อุดร, เชิดชัยทัวร์, 407 พัฒนา, บุษราคัมทัวร์, รุ่งประเสริฐทัวร์, ชัยภูมิจงเจริญขนส่ง และนครชัยแอร์ นอกจากนี้ บริษัท ขนส่ง จำกัด ยังให้บริการรถโดยสารระหว่างประเทศอยู่สองเส้นทาง ดังนี้

ในปัจจุบัน อำเภอเมืองหนองคายมีสถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลเมืองหนองคาย ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง ส่วนการขนส่งในตัวอำเภอ ประกอบไปด้วย รถสองแถวกับรถสามล้อเครื่อง (รถเหมา) ซึ่งคิดค่าโดยสารตามระยะทาง และแท็กซี่ ซึ่งคิดค่าโดยสารตามระยะทางบนมิเตอร์

ทางราง

การรถไฟแห่งประเทศไทยให้บริการขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ มายังสถานีรถไฟหนองคายทุกวัน โดยขบวนรถไฟที่มีศักย์สูงที่สุดคือรถด่วนพิเศษอีสานมรรคา ซึ่งเป็นรถไฟกลางคืนที่ให้บริการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ยังมีขบวนรถไฟพิเศษข้ามประเทศ หนองคาย–ท่านาแล้ง

สถานที่สำคัญ

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.