เมืองอำนาจเจริญ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญ และเป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองและการบริหารราชการของจังหวัดอำนาจเจริญ
ข้อมูลเบื้องต้น อำเภอเมืองอำนาจเจริญ, การถอดเสียงอักษรโรมัน ...
อำเภอเมืองอำนาจเจริญ |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Mueang Amnat Charoen |
---|
|
คำขวัญ: พระใหญ่คู่เมือง ลือเลื่องถ้ำแสงเพชร รสเด็ดเนื้อแห้ง แหล่งเกษตร อ่างเก็บน้ำงามตา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม งามประเพณี |
แผนที่จังหวัดอำนาจเจริญ เน้นอำเภอเมืองอำนาจเจริญ |
พิกัด: 15°51′30″N 104°37′48″E |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | อำนาจเจริญ |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 598.8 ตร.กม. (231.2 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2565) |
---|
• ทั้งหมด | 130,788 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 218.41 คน/ตร.กม. (565.7 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 37000 |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 3701 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเมืองอำนาจเจริญ ถนนชยางกูร ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000 |
---|
|
ปิด
อำเภอเมืองอำนาจเจริญมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
บริเวณจังหวัดอํานาจเจริญ เริ่มตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านช้องนาง (ออกเสียงเป็นซ้องนาง แต่ฟังเป็นส่องนาง ปัจจุบันคืออําเภอเสนางคนิคม) กับ เมืองพนานิคม (ปัจจุบันคืออําเภอพนา) แต่มีบางกลุ่มไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านบุ่ง ติดห้วยปลาแดก ครั้น พ.ศ. 2393 ย้ายไปแหล่งใหม่ที่บ้านค้อ ที่ต่อไปเรียกเป็น บ้านค้อใหญ่คอนชัย (ปัจจุบันคืออําเภอลืออํานาจ จังหวัดอํานาจเจริญ) ชื่อ “อํานาจเจริญ” แรกมีขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2401 ในแผ่นดินรัชกาล ที่ 4 (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2394-2411) ได้ชื่อจากราชทินนามเจ้าเมืองคนแรกว่า พระอมรอํานาจ
อำเภออำนาจเจริญในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เป็นเมืองน้อยหรือเมืองบริวารของเมืองที่ใหญ่กว่า เช่น เมืองอุบลราชธานี, เมืองเขมราฐ, เมืองยโสธร สุดแต่จะถูกกำหนด พ.ศ. 2460 เปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญเป็น “อำเภอบุ่ง” ขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ตั้ง เพราะว่า บุ่ง แปลว่า บริเวณที่มีน้ำ หรือบึง ต่อมา พ.ศ. 2482 เปลี่ยนชื่ออำเภอบุ่ง เป็นอำเภออำนาจเจริญตามเดิม
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2455 ยุบอำเภอเสนางคนิคม ลงเป็น กิ่งอำเภอเสนางคนิคม[1] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบล มณฑลอุบล เป็น อำเภอบุ่ง และเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอเสนางค์นิคม อำเภออำนาจเจริญ เป็น กิ่งอำเภอหนองทับม้า[2]
- วันที่ 24 ธันวาคม 2465 ยุบกิ่งอำเภอหนองทับม้า ลงเป็น ตำบลหนองทับม้า[3] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
- วันที่ 8 พฤศจิกายน 2479 ยุบตำบลหนองสิม รวมกับท้องที่ตำบลกุดเชียงหมี[4]
- วันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 โอนพื้นที่หมู่ 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลอำนาจ ไปขึ้นกับตำบลไก่เขี่ย[5]
- วันที่ 21 มีนาคม 2480 ตั้งตำบลโนนเปือย แยกออกจากตำบลส้มผ่อ และโอนพื้นที่ตำบลโนนเปือย กิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง ไปขึ้นกับอำเภอยโสธร กับตั้งตำบลสวาท แยกออกจากตำบลกุดเชียงหมี กับโอนพื้นที่หมู่ 14 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาวัง ไปขึ้นกับตำบลสวาท กับโอนพื้นที่หมู่ 6,11-12,28 (ในขณะนั้น) ของตำบลส้มผ่อ กิ่งอำเภอเลิงนกทา ไปขึ้นกับตำบลสวาท อำเภอบุ่ง[6]
- วันที่ 23 สิงหาคม 2480 แยกพื้นที่ตำบลกุดเชียงหมี ตำบลบุ่งค้า จากอำเภอบุ่ง และตำบลส้มผ่อ จากอำเภอยโสธร ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเลิงนกทา[7] ให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอบุ่ง และโอนพื้นที่ตำบลส้มผ่อ อำเภอยโสธร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง[8]
- วันที่ 18 เมษายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลห้องแซง อำเภอยโสธร มาขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง[9]
- วันที่ 12 กันยายน 2481 โอนพื้นที่ตำบลสวาท อำเภอบุ่ง ไปขึ้นกับกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภอบุ่ง[10]
- วันที่ 17 เมษายน 2482 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลหนองทับม้า อำเภอบุ่ง เป็น ตำบลเสนางคนิคม และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอบุ่ง จังหวัดอุบลราชธานี เป็น อำเภออำนาจเจริญ[11]
- วันที่ 8 เมษายน 2484 โอนพื้นที่หมู่ 8,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลคำพระ ไปขึ้นกับตำบลหัวตะพาน[12]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลไก่เขี่ย แยกออกจากตำบลบุ่ง ตั้งตำบลนาหมอม้า แยกออกจากตำบลน้ำปลีก และตำบลนาจิก ตั้งตำบลเปือย แยกออกจากตำบลอำนาจ ตั้งตำบลหนองแก้ว แยกออกจากตำบลเค็งใหญ่ และตำบลหัวตะพาน ตั้งตำบลไร่ขี แยกออกจากตำบลดงบัง[13]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2490 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเลิงนกทา อำเภออำนาจเจริญ เป็น อำเภอเลิงนกทา[14]
- วันที่ 14 เมษายน 2496 เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลไก่เขี่ย อำเภออำนาจเจริญ เป็น ตำบลไก่คำ[15]
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลบุ่ง ในท้องที่บางส่วนของตำบลบุ่ง[16]
- วันที่ 2 ตุลาคม 2505 ตั้งตำบลสร้างนกทา แยกออกจากตำบลปลาค้าว[17]
- วันที่ 26 มีนาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลน้ำปลีก ในท้องที่บางส่วนของตำบลน้ำปลีก[18] และจัดตั้งสุขาภิบาลอำนาจ ในท้องที่บางส่วนของตำบลอำนาจ[19]
- วันที่ 7 มกราคม 2507 ตั้งตำบลนาผือ แยกออกจากตำบลนาวัง และตำบลเสนางคนิคม[20]
- วันที่ 4 ตุลาคม 2509 ตั้งตำบลไร่สีสุก แยกออกจากตำบลเสนางคนิคม และตำบลนาวัง[21]
- วันที่ 8 พฤศจิกายน 2509 ตั้งตำบลหนองไฮ แยกออกจากตำบลโพนทอง และตำบลคึมใหญ่[22]
- วันที่ 29 สิงหาคม 2510 แยกพื้นที่ตำบลหัวตะพาน ตำบลคำพระ ตำบลหนองแก้ว และตำบลเค็งใหญ่ จากอำเภออำนาจเจริญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอหัวตะพาน[23] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
- วันที่ 15 มิถุนายน 2511 โอนพื้นที่ตำบลจิกดู่ ตำบลสร้างถ่อน้อย และตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอม่วงสามสิบ มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ[24]
- วันที่ 15 สิงหาคม 2513 ตั้งตำบลเหล่าพรวน แยกออกจากตำบลปลาค้าว[25]
- วันที่ 16 มีนาคม 2514 โอนพื้นที่หมู่ 16 (ในขณะนั้น) ของตำบลปลาค้าว ไปตั้งเป็นหมู่ 14 ของตำบลสร้างนกทา[26]
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2514 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ เป็น อำเภอหัวตะพาน[27]
- วันที่ 4 กันยายน 2516 ตั้งตำบลนาเวียง แยกออกจากตำบลนาวัง[28]
- วันที่ 23 ธันวาคม 2518 แยกพื้นที่ตำบลเสนางคนิคม ตำบลไร่สีสุก ตำบลโพนทอง ตำบลหนองไฮ และตำบลนาเวียง จากอำเภออำนาจเจริญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอเสนางคนิคม[29] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
- วันที่ 13 มิถุนายน 2521 ตั้งตำบลโนนโพธิ์ แยกออกจากตำบลนาจิก[30]
- วันที่ 1 กันยายน 2525 จัดตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ ในท้องที่อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี มีเขตตลอดท้องที่อำเภออำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอชานุมาน อำเภอพนา อำเภอเขมราฐ และอำเภอกุดข้าวปุ้น[31]
- วันที่ 31 มีนาคม 2526 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอเสนางคนิคม อำเภออำนาจเจริญ เป็น อำเภอเสนางคนิคม[32]
- วันที่ 25 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลโนนหนามแท่ง แยกออกจากตำบลบุ่ง ตั้งตำบลห้วยไร่ แยกออกจากตำบลบุ่ง[33]
- วันที่ 31 กรกฎาคม 2530 ตั้งตำบลหนองมะแซว แยกออกจากตำบลสร้างนกทา[34]
- วันที่ 21 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลแมด แยกออกจากตำบลอำนาจ[35][36]
- วันที่ 7 พฤศจิกายน 2532 ตั้งตำบลกุดปลาดุก แยกออกจากตำบลนาผือ และตำบลนาวัง[37]
- วันที่ 31 มกราคม 2534 แยกพื้นที่ตำบลอำนาจ ตำบลดงมะยาง ตำบลเปือย ตำบลดงบัง ตำบลไร่ขี และตำบลแมด จากอำเภออำนาจเจริญ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอลืออำนาจ[38] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภออำนาจเจริญ
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลโนนงาม แยกออกจากตำบลเหล่าพรวน[39]
- วันที่ 2 กรกฎาคม 2536 แยกพื้นที่ตำบลคำโพน ตำบลหนองข่า จากอำเภอชานุมาน ตำบลนาหว้า ตำบลลือ ตำบลห้วย จากอำเภอพนา และตำบลโนนงาม อำเภออำนาจเจริญ มาตั้งเป็น อำเภอปทุมราชวงศา[40] เพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลองจังหวัดอุบลราชธานีที่ได้รับการสถาปนามาครบ 200 ปี
- วันที่ 31 สิงหาคม 2536 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลบุ่ง[41] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น
- วันที่ 2 กันยายน 2536 แยกพื้นที่อำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอหัวตะพาน และกิ่งอำเภอลืออำนาจ จังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งเป็น จังหวัดอำนาจเจริญ และเปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญ เป็น อำเภอเมืองอำนาจเจริญ[42]
- วันที่ 2 ธันวาคม 2537 จัดตั้งสุขาภิบาลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นเป็น เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ[43]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 ตั้งตำบลโคกกลาง แยกออกจากตำบลดงมะยาง[44]
- วันที่ 9 มกราคม 2539 ตั้งตำบลดอนเมย แยกออกจากตำบลนาจิก ตั้งตำบลนายม แยกออกจากตำบลนาหมอม้า ตั้งตำบลนาแต้ แยกออกจากตำบลคึมใหญ่[45]
- วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอลืออำนาจ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ เป็น อำเภอลืออำนาจ[46]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลน้ำปลีก เป็นเทศบาลตำบลน้ำปลีก[47] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 11 มกราคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนายม ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลนายม[48]
- วันที่ 27 ตุลาคม 2552 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลไก่คำ ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลไก่คำ[49] จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาหมอม้า ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลนาหมอม้า[50]
- วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนาวัง ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลนาวัง[51]
- วันที่ 11 มิถุนายน 2563 เปลี่ยนแปลงชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 บ้านก่อนาดี ตำบลปลาค้าว เป็นหมู่ที่ 9 บ้านดอนก่อ[52]
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอเมืองอำนาจเจริญแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 19 ตำบล 212 หมู่บ้าน ได้แก่
ข้อมูลเพิ่มเติม ลำดับ, อักษรไทย ...
ลำดับ |
อักษรไทย |
อักษรโรมัน |
จำนวนหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[53] |
1 |
บุ่ง |
Bung |
23 |
28,043 |
2 |
ไก่คำ |
Kai Kham |
13 |
8,069 |
3 |
นาจิก |
Na Chik |
8 |
4,277 |
4 |
ปลาค้าว |
Pla Khao |
12 |
5,605 |
5 |
เหล่าพรวน |
Lao Phruan |
8 |
4,009 |
6 |
สร้างนกทา |
Sang Nok Tha |
16 |
6,530 |
7 |
คึมใหญ่ |
Khuem Yai |
10 |
5,638 |
8 |
นาผือ |
Na Phue |
12 |
6,597 |
9 |
น้ำปลีก |
Nam Plik |
10 |
7,655 |
10 |
นาวัง |
Na Wang |
11 |
4,604 |
11 |
นาหมอม้า |
Na Mo Ma |
8 |
4,047 |
12 |
โนนโพธิ์ |
Non Pho |
11 |
6,859 |
13 |
โนนหนามแท่ง |
Non Nam Thaeng |
14 |
8,877 |
14 |
ห้วยไร่ |
Huai Rai |
10 |
5,760 |
15 |
หนองมะแซว |
Nong Masaeo |
13 |
4,378 |
16 |
กุดปลาดุก |
Kut Pla Duk |
12 |
6,165 |
17 |
ดอนเมย |
Don Moei |
5 |
2,852 |
18 |
นายม |
Na Yom |
8 |
5,259 |
19 |
นาแต้ |
Na Tae |
8 |
5,751 |
ปิด
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 21 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบุ่ง
- เทศบาลตำบลน้ำปลีก ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลน้ำปลีก
- เทศบาลตำบลนายม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนายมทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลไก่คำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไก่คำทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลนาวัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาวังทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลนาหมอม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาหมอม้าทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุ่ง (นอกเขตเทศบาลเมืองอำนาจเจริญ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาจิก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาจิกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลปลาค้าว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปลาค้าวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าพรวน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่าพรวนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างนกทา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสร้างนกทาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคึมใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคึมใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาผือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาผือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำปลีก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำปลีก (นอกเขตเทศบาลตำบลน้ำปลีก)
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนโพธิ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนโพธิ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหนามแท่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนหนามแท่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยไร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองมะแซว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองมะแซวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดปลาดุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดปลาดุกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดอนเมยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาแต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแต้ทั้งตำบล
เก็บถาวร 2011-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเทพสถิต อำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเนินมะปราง อำเภอสวนผึ้ง และอำเภอเสนางคนิคม พ.ศ. ๒๕๒๖