Loading AI tools
อำเภอในจังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หนองไผ่ เป็นอำเภอหนึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ 1,360.2 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2564 มีประชากรอาศัยอยู่ 110,480 คน
อำเภอหนองไผ่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Nong Phai |
คำขวัญ: สระหลวงคู่หนองไผ่ น้ำใสฝายคลองยาง พระปรางค์เก่าบ้านโภชน์ วังโบสถ์ผ้าทอพื้นบ้าน งามตระการน้ำตกชับชมภู | |
แผนที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เน้นอำเภอหนองไผ่ | |
พิกัด: 15°59′25″N 101°3′45″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | เพชรบูรณ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 1,360.2 ตร.กม. (525.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 110,480 คน |
• ความหนาแน่น | 81.22 คน/ตร.กม. (210.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 67140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 6707 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอหนองไผ่ หมู่ที่ 6 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลหนองไผ่ อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67140 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บริเวณหนองไผ่ในสมัยก่อนเรียกว่า "โคกหมาหิว" หรือ "ทุ่งหมาหิว"[1] อยู่ในเขตตำบลกองทูล อำเภอวิเชียรบุรี เมื่อมีผู้คนอพยพเข้ามาอยู่มากขึ้นจึงเรียกกันต่อ ๆ มาว่า "บ้านหนองไผ่" ซึ่งมีที่มาจากภายในบริเวณหมู่บ้านมีหนองน้ำเดิมเป็นหนองช้างนอนในสมัยโบราณจึงเกิดเป็นแอ่งน้ำหรือหนองน้ำเล็ก ๆ มีต้นไผ่ขึ้นล้อมรอบ ซึ่งปัจจุบันเทศบาลตำบลหนองไผ่ได้ปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะ มีชื่อว่า สระหลวง
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2504 หนองไผ่ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอหนองไผ่ โดยมีนายสมบูรณ์ อมรบุตร เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอหนองไผ่คนแรก มีเขตการปกครอง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลกองทูล ตำบลกันจุ และตำบลบ้านโภชน์ และในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ได้รับโอนตำบลนาเฉลียง ตำบลท่าแดง ของอำเภอเมืองเพชรบูรณ์มาขึ้นกับกิ่งอำเภอหนองไผ่ด้วย[2] และเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอหนองไผ่เป็นอำเภอหนองไผ่ โดยมี ร.ต.ต.ประทวน สิทธิธูรณ์ (หรือสิทธิกุล) เป็นนายอำเภอคนแรกและมีการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยในราชกิจจานุเบกษา ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 รัฐบาลได้ตัดถนนเป็นเส้นทางจากตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ไปอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ซึ่งต่อมาเรียกว่า ถนนสระบุรี–หล่มสัก
ซึ่งภายหลังได้มีการแบ่งพื้นที่ตั้งเป็นตำบลใหม่ อาทิ โอนพื้นที่ 6 หมู่บ้านของตำบลท่าแดง ตั้งเป็นตำบลบ่อไทย และต่อมาได้แบ่งพื้นที่ในตำบลบ้านโภชน์ทั้งหมด 23 หมู่บ้านสมัยนั้นได้แยกออกมาตั้งเป็นตำบลซับสมอทอด เมื่อปี พ.ศ. 2511 แยกตำบลกันจุ 7 หมู่บ้าน ตั้งเป็นตำบลเพชรละคร และตำบลซับสมอทอดอีก 9 หมู่บ้านเป็นตำบลหนองแจง และอีก 11 หมู่บ้านเป็นตำบลซับไม้แดงในปี พ.ศ.2513
ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ตำบลซับสมอทอด พร้อมด้วยตำบลซับไม้แดง ตำบลหนองแจง และตำบลกันจุ ได้แยกออกมาจากอำเภอหนองไผ่และจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบึงสามพัน[3] และยกฐานะเป็นอำเภอโดยสมบูรณ์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522
ซึ่งอำเภอหนองไผ่ได้มีการแยกการปกครองออกมาอีกครั้ง ดังนี้
อำเภอหนองไผ่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
อำเภอหนองไผ่แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 13 ตำบล 142 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | หมู่บ้าน |
---|---|---|---|
1. | กองทูล | (Kong Thun) | 1. วังชงโค 2. กองทูล 3. กองทูล 4. น้ำเขียว 5. เนินมะเกลือ 6. ท่าทอง 7. เนินพัฒนา 8. หนองบัวทอง |
2. | นาเฉลียง | (Na Chaliang) | 1. วังรี 2. ปากคลองกรวด 3. โรงบ่ม 4. หัวโตก 5. ต้นยาง 6. นาเฉลียงใต้ 7. หนองไลย์ 8. ห้วยน้ำบ่อ 9. โคกสว่าง 10. น้ำพุ |
3. | บ้านโภชน์ | (Ban Phot) | 1. โภชน์ 2. น้ำวิ่ง 3. โภชน์ 4. คลองกระโบน 5. คลองไพร 6. ซับเดื่อ 7. เนินสวรรค์ 8. ซับชมภู 9. สามแยก 10. ทรัพย์สมบูรณ์ 11. สามแยกตะวันออก 12. โพธิ์เจดีย์ลอย 13. คลองกระโบนพัฒนา |
4. | ท่าแดง | (Tha Daeng) | 1. ท่าแดง 2. ท่าสวาย 3. ลำกง 4. ท่าเยี่ยม 5. ไร่ 6. นาทุ่ง 7. โคกสูง 8. เนินคนธา 9. เนินสะเดา 10. โคกสระแก้ว 11. หนองม่วง 12. ปากโบสถ์ 13. โคกพัฒนา 14. หนองระหาร 15. โพธิ์เงิน[4] |
5. | เพชรละคร | (Phet Lakhon) | 1. เพชรละคร 2. เนินมะค่า 3. สามสวน 4. ลำลวงใต้ 5. ท่าเสาตะวันตก 6. สระเกษ 7. ท่าเสาตะวันออก 8. เกษมสุข 9. ซับตะเคียนทอง 10. สระแก้ว 11. เนินสวรรค์ 12. เรืองสำราญ 13. ไผ่ทอง 14. เจริญทรัพย์ |
6. | บ่อไทย | (Bo Thai) | 1. โคกเจริญ 2. ตีบใต้ 3. โนนสีทอง 4. วังสงวน 5. บ่อไทย 6. โนนดู่ 7. นาวังแหน 8. วังเจริญรัตน์ 9. ซับป่าคาย 10. โนนตูม 11. เนินสว่าง 12. โนนสมบูรณ์ 13. ไทรงาม 14. เจริญพัฒนา |
7. | ห้วยโป่ง | (Huai Pong) | 1. กกตะแบก 2. ห้วยโป่ง 3. ไผ่ขวาง 4. ใหม่สามัคคี 5. ปู่จ้าว 6. เขาถ้ำพระ 7. เขาถ้ำโถ |
8. | วังท่าดี | (Wang Tha Di) | 1. ขอนยางขวาง 2. คลองยาง 3. กลาง 4. ลำพาด 5. วังท่าดี 6. เนินสะแก 7. โคกกลาง 8. ดงกระถิน 9. นาประดู่ |
9. | บัววัฒนา | (Bua Watthana) | 1. บัววัฒนา 2. ไร่เหนือ 3. เนินมะค่าน้อย 4. วังอ่าง 5. โคกพัฒนา 6. ลำตาเณร 7. ซับวารินทร์ 8. ลำประสาน |
10. | หนองไผ่ | (Nong Phai) | 1. หนองไผ่ใต้ 2. พงษ์เพชร 3. สะพานกลางดง 4. หนองไผ่ 5. นาประดู่ 6. เนินมะกอก 7. หนองไผ่ 8. คลองศรีเทพ 9. คลองยาง 10. ลำพาด 11. ไผ่แก้ว 12. พรประเสริฐพัฒนา 13. โคกประดู่ 14. เขาดินทอง 15. หนองขาม 16. หนองไผ่ทอง |
11. | วังโบสถ์ | (Wang Bot) | 1. วังสะตือ 2. ไทรทอง 3. สระหมื่นเชียง 4. ตะกุดงาม 5. นาข้าวดอ 6. วังโบสถ์ 7. คลองตะพานหิน 8. อีสานสามัคคี 9. วังประสาน 10. โคกสง่า |
12. | ยางงาม | (Yang Ngam) | 1. นาเฉลียง 2. นาเฉลียง 3. ร่องค้า 4. วังเหว 5. ทรัพย์สีทอง 6. ซับมะขาม 7. ด่านบุญธรรม 8. ปากตก 9. ยางงาม 10. คลองสาม |
13. | ท่าด้วง | (Tha Duang) | 1. ปางยาง 2. ซับชมภู่ 3. ไทรงาม 4. เฉลียงทอง 5. โป่งสะทอน 6. สันเจริญ 7. ห้วยตลาด 8. ท่าด้วง |
ท้องที่อำเภอหนองไผ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 15 แห่ง ได้แก่
ลำดับ | ชื่อ | ปีที่ดำรงตำแหน่ง
(พ.ศ.) |
---|---|---|
ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ | ||
1. | นายบุญ อมรบุตร | 2504 - 2506 |
2. | นายวิกรม จตุพรชัย | 2506 - 2506 |
นายอำเภอ | ||
1. | ร.ต.ต.ประทวน สิทธิธูรณ์ | 2506 - 2508 |
2. | นายเปล่ง จุลเนตร | 2508 - 2512 |
3. | นายประสาร คุณกำจร | 2512 - 2516 |
4. | นายสุวิทย์ มุสิกานนท์ | 2516 - 2518 |
5. | นายสมศักดิ์ ศรีวรรธนะ | 2518 - 2520 |
6. | ร้อยตรีธงชัย ทรงประศาสน์ | 2520 - 2523 |
7. | นายฉนวน ชาญวิทย์การ | 2523 - 2525 |
8. | นายสุชิน คชินทร | 2525 - |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.