อำเภอกรงปินัง
อำเภอในจังหวัดยะลา ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอในจังหวัดยะลา ประเทศไทย จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรงปินัง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยะลา จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา พ.ศ. 2547 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547
อำเภอกรงปินัง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Krong Pinang |
คำขวัญ: ตำนานเมืองหมาก มากมีผลไม้ ธรรมชาติสดใส ใจคนงดงาม | |
แผนที่จังหวัดยะลา เน้นอำเภอกรงปินัง | |
พิกัด: 6°24′40″N 101°16′24″E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ยะลา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 191.0 ตร.กม. (73.7 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 30,191 คน |
• ความหนาแน่น | 158.07 คน/ตร.กม. (409.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 95000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 9508 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอกรงปินัง หมู่ที่ 3 ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา 95000 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อำเภอกรงปินังตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
กรงปินังมาจากคำว่า กำปงปิแน (ยาวี: كامڤوڠ ڤينڠ; รูมี: Kampong Pinang) ซึ่งเป็นภาษามลายูท้องถิ่น คำว่า "กำปง" แปลว่า บ้านป่า ส่วนคำว่า '"ปิแน" หรือ "ปินัง" แปลว่าหมาก รวมกันจึงมีความหมายว่า หมู่บ้านหมาก[1]
บ้างก็ว่ามาจากคำว่า "กรง" ที่เป็นภาษาไทยถิ่นใต้โบราณ มีความหมายเดียวกับคำว่า กง, กรุง และเกาะ หมายถึงบริเวณที่มีภูเขาโอบล้อม ซึ่งกรงปีนังเป็นพื้นที่ตามแนวเขาระหว่างทิวเขาสันกาลาคีรีทางตะวันตก และมีทิวเขาบือยออยู่ทางทิศตะวันออก
กิ่งอำเภอกรงปินัง ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยแยกพื้นที่การปกครองออกจากอำเภอเมืองยะลาตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2537 ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2537[2] ต่อมาจึงได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา พ.ศ. 2547 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอกรงปินัง โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547[3]
พ.ศ. 2562 กรงปินังมีประชากรอยู่ 29,376 คน ประชากรเกือบทั้งหมดเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูและนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 99.85 มีมัสยิด 35 แห่ง[4] ใน พ.ศ. 2563 มีผู้นับถือศาสนาพุทธอยู่ 42 คน[5] คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของประชากรทั้งหมด ก่อนหน้านี้เมื่อ พ.ศ. 2552 มีชาวพุทธเพียง 20 คน[6] อาศัยอยู่บ้านบือแนลาแลในตำบลสะเอะเพียงหมู่บ้านเดียว และไม่มีวัดประกอบศาสนกิจ[7] ทั้งยังเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่สีแดงซึ่งเสี่ยงต่อการถูกลอบสังหารหรือทำร้าย[8][9][10] ส่วนในตำบลกรงปินัง, ตำบลห้วยกระทิง และตำบลปุโรงไม่มีผู้นับถือศาสนาพุทธอยู่เลย แต่มีชาวพุทธบางส่วนเป็นข้าราชการที่เข้าไปทำงานในตำบลเหล่านี้[11][12][13]
อำเภอกรงปินังแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน ได้แก่
|
ท้องที่อำเภอกรงปินังประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.