อานเต ปาเวลิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อานเต ปาเวลิช

อานเต ปาเวลิช (โครเอเชีย: Ante Pavelić; 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1889 – 28 ธันวาคม ค.ศ. 1959) เป็นนักการเมืองชาวโครเอเชีย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าองค์กรชาตินิยมสุดโต่งฟาสซิสต์ที่รู้จักกันในชื่อ "อูสตาเช" ใน ค.ศ. 1929 และเป็นผู้นำเผด็จการของรัฐเอกราชโครเอเชีย (NDH) รัฐหุ่นเชิดฟาสซิสต์ที่ก่อตั้งขึ้นในพื้นที่บางส่วนของเขตยึดครองยูโกสลาเวียของนาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลีตั้งแต่ ค.ศ. 1941 ถึง ค.ศ. 1945 ปาเวลิชและอูสตาเชได่ข่มเหงชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติและฝ่ายค้านทางการเมืองจํานวนมากในสมัยรัฐเอกราช ซึ่งรวมถึงชาวเซิร์บ ชาวยิว ชาวโรมานี และกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์ เขากลายเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีส่วนในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวเซิร์บ ชาวโรมานี และฮอโลคอสต์ในรัฐเอกราชโครเอเชีย[1][2][3]

ข้อมูลเบื้องต้น ปอกลาฟนีกอานเต ปาเวลิช, ปอกลาฟนีกแห่งรัฐเอกราชโครเอเชีย ...
ปอกลาฟนีก
อานเต ปาเวลิช
Thumb
ปาเวลิชในเครื่องแบบอูสตาเชเมื่อ ค.ศ. 1942
ปอกลาฟนีกแห่งรัฐเอกราชโครเอเชีย
ดำรงตำแหน่ง
10 เมษายน ค.ศ. 1941  8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
กษัตริย์พระเจ้าตอมิสลัฟที่ 2 (ค.ศ. 1941–1943)
นายกรัฐมนตรี
  • ตัวเอง (ค.ศ. 1941–1943)
  • นิกอลา มันดิช (ค.ศ. 1943–1945)
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
นายกรัฐมนตรีรัฐเอกราชโครเอเชีย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
16 เมษายน ค.ศ. 1941  2 กันยายน ค.ศ. 1943
กษัตริย์พระเจ้าตอมิสลัฟที่ 2
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปนิกอลา มันดิช
รัฐมนตรีว่าการกองทัพรัฐเอกราชโครเอเชีย คนที่ 2
ดำรงตำแหน่ง
4 มกราคม ค.ศ. 1943  2 กันยายน ค.ศ. 1943
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าสลาฟกอ กวาเตร์นีก
ถัดไปมิรอสลัฟ นาฟราติล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัฐเอกราชโครเอเชีย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
16 เมษายน ค.ศ. 1941  9 มิถุนายน ค.ศ. 1941
กษัตริย์พระเจ้าตอมิสลัฟที่ 2
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
ก่อนหน้าสถาปนาตำแหน่ง
ถัดไปมลาเดน ลอร์กอวิช
สมาชิกรัฐสภายูโกสลาเวีย
ดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน ค.ศ. 1927  7 มกราคม ค.ศ. 1929
กษัตริย์พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1
นายกรัฐมนตรี
  • เวลิมีร์ วูกิเชวิช (ค.ศ. 1927–1928)
  • อันตอน กอรอเชตซ์ (ค.ศ. 1928–1929)
เขตเลือกตั้งซาเกร็บ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 กรกฎาคม ค.ศ. 1889(1889-07-14)
บราดินา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
เสียชีวิต28 ธันวาคม ค.ศ. 1959(1959-12-28) (70 ปี)
มาดริด ประเทศสเปน
สาเหตุการเสียชีวิตภาวะแทรกซ้อนจากบาดแผลกระสุนปืน
ที่ไว้ศพสุสานซานอิซิโดร มาดริด
เชื้อชาติโครเอเชีย
พรรคการเมืองอูสตาเช (ค.ศ. 1929–1945)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
  • พรรคแห่งสิทธิ (ค.ศ. 1910–1929)
  • พรรคมลรัฐโครเอเชีย (ค.ศ. 1950)
  • ขบวนการปลดปล่อยโครเอเชีย (ค.ศ. 1956–1959)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยซาเกร็บ
อาชีพนักการเมือง
วิชาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อThumb
ปิด

ปาเวลิชเริ่มต้นอาชีพการงานของเขาด้วยการเป็นนักกฎหมายและนักการเมืองของพรรคแห่งสิทธิในราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย เขาเป็นที่รู้จักจากความเชื่อในชาตินิยมและการสนับสนุนเอกราชของโครเอเชีย โดยในช่วงปลายทศวรรษ 1920 กิจกรรมทางการเมืองของเขาเริ่มมีความหัวรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากการเรียกร้องให้ชาวโครแอตก่อกบฏต่อต้านยูโกสลาเวีย และได้วางแผนให้อิตาลีแยกโครเอเชียเป็นรัฐในอารักขาออกจากยูโกสลาเวีย หลังจากสมเด็จพระเจ้าอาเล็กซานดาร์ที่ 1 ทรงประกาศระบอบเผด็จการ 6 มกราคม เมื่อ ค.ศ. 1929 และสั่งห้ามพรรคการเมืองทั้งหมด ปาเวลิชจึงเดินทางออกนอกประเทศและได้วางแผนร่วมกับองค์กรปฏิวัติมาซิโดเนียภายใน (IMRO) ในการบ่อนทําลายรัฐยูโกสลาเวีย ซึ่งกระตุ้นให้ทางการยูโกสลาเวียได้พิจารณาคดีและตัสินประหารชีวิตเขา ในระหว่างนี้ ปาเวลิชย้ายไปยังอิตาลีและได้ก่อตั้งอูสตาเช ซึ่งเป็นขบวนการชาตินิยมโครเอเชียที่มีเป้าหมายในการจัดตั้งเอกราชของโครเอเชียไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ซึ่งรวมถึงการใช้ความรุนแรง[4][5][6][7] ปาเวลิชได้รวมกิจกรรมก่อการร้ายไว้ในโครงการของอูสตาเชด้วย เช่น การระเบิดรถไฟและการลอบสังหาร การก่อจลาจลที่เมืองลิกาใน ค.ศ. 1932 จนถึงการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอาเล็กซานดาร์ใน ค.ศ. 1934 ปาเวลิชถูกตัดสินประหารชีวิตอีกครั้งหลังจากถูกพิจารณาคดีในฝรั่งเศส แม้ว่าเขาจะไม่ได้อยู่ที่นั่นเพื่อพิจารณาคดีก็ตาม แต่เนื่องจากแรงกดดันจากนานาชาติ ทางการอิตาลีจึงจําคุกเขาเป็นเวลา 18 เดือน และกิจกรรมของอูสตาเชส่วนใหญ่ถูกปิดกั้นในช่วงเวลานี้

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1941 สลาฟกอ กวาเตร์นีก สมาชิกอาวุโสอูสตาเช ประกาศจัดตั้งรัฐเอกราชโครเอเชียในนามของปาเวลิชตามคำสั่งของเยอรมนี โดยเขาเรียกตนเองว่า "ปอกลาฟนีก" (โครเอเชีย: Poglavnik) หรือผู้นำสูงสุด ปาเวลิชเดินทางกลับจากอิตาลีและเข้าควบคุมรัฐบาลหุ่นเชิด เขาได้ก่อตั้งระบบทางการเมืองที่คล้ายคลึงกับฟาสซิสต์อิตาลีและนาซีเยอรมนี แม้ว่ารัฐเอกราชจะก่อตัวขึ้นในพื้นที่เกรตเทอร์โครเอเชีย แต่อิตาลีก็บังคับให้สละดินแดนหลายแห่งเป็นสัมปทานให้กับฝ่ายหลัง หลังจากการขึ้นสู่อำนาจ ปาเวลิชได้กำหนดนโยบายต่อต้านชาวเซอร์เบียและชาวยิว ซึ่งทำให้มีชาวเซอร์เบียและชาวยิวมากกว่า 100,000 รายเสียชีวิตในค่ายกักกันและค่ายสังหาร[2][3] นอกจากนี้ยังมีการสังหารและทรมานชาวเซอร์เบียหลายแสนคน[8][9] รวมถึงชาวโรมานีและชาวยิวอีกหลายหมื่นคน[10][11] เหตุการณ์เหล่านี้ถูกเรียกว่า "โศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ยูโกสลาเวีย"[12]

ใน ค.ศ. 1945 ปาเวลิชสั่งประหารนักการเมืองคนสำคัญของรัฐเอกราชอย่างมลาเดน ลอร์กอวิช และอานเต วอกิช ในข้อหากบฏ เมื่อทั้งสองถูกจับในข้อหาวางแผนขับไล่เขาและจัดแนวร่วมรัฐเอกราชกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังการยอมจำนนของเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม ปาเวลิชสั่งให้กองทหารของเขาต่อสู้ต่อไป จากนั้นเขาจึงย้ายรัฐบาลรัฐเอกราชไปที่ออสเตรียเพื่อยอมจํานนต่อต่อกองทัพอังกฤษที่กำลังรุดหน้าเข้ามา แต่ทางอังกฤษปฏิเสธและได้สั่งให้พวกเขายอมจํานนต่อพลพรรคยูโกสลาเวีย

ปาเวลิชลี้ภัยไปยังออสเตรียก่อนที่จะได้หนังสือเดินทางปลอมจากวาติกันและหลบหนีไปยังอาร์เจนตินา เขายังคงมีส่วนร่วมในกิจกรรมฟาสซิสต์[13] ต่อมาเขาทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยของฆวน เปรอน ประธานาธิบดีอาร์เจนตินาผู้ให้ที่พักพิงแก่อาชญากรสงครามฟาสซิสต์จํานวนมาก ต่อมาเมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1957 เจ้าของโรงแรมชาวเซอร์เบียพยายามสังหารปาเวลิช อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในที่สุดทําให้เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1959 ด้วยอายุ 70 ปี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.