ประเทศแอลเบเนีย
ประเทศในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอลเบเนีย (อังกฤษ: Albania; แอลเบเนีย: Shqipëri หรือ Shqipëria, ออกเสียง [ʃcipəˈɾi(a)]) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (อังกฤษ: Republic of Albania; แอลเบเนีย: Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับคอซอวอ ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
สาธารณรัฐแอลเบเนีย Republika e Shqipërisë (แอลเบเนีย) | |
---|---|
คำขวัญ: "Ti Shqipëri, më jep nder, më jep emrin Shqipëtar" ("เจ้าแอลเบเนีย ให้เกียรติแก่ข้า เจ้าให้ชื่อแอลเบเนียแก่ข้า") | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ติรานา 41°19′N 19°49′E |
ภาษาราชการ | แอลเบเนีย |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับ | |
ศาสนา (2020) | |
เดมะนิม | ชาวแอลเบเนีย |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา |
ไบรัม เบกาจ | |
• นายกรัฐมนตรี | เอดี รามา |
• ประธานรัฐสภา | ลินดิตา นิกอลลา |
สภานิติบัญญัติ | คูเวนดี |
ประวัติก่อตั้ง | |
• ราชรัฐอาร์บานอน | ค.ศ. 1190 |
• ราชอาณาจักรแอลเบเนีย | กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1272 |
• พรินซ์ดอมแห่งแอลเบเนีย | ค.ศ. 1368 |
• League of Lezhë | 2 มีนาคม ค.ศ. 1444 |
• ราชรัฐมีร์ดีตา | ค.ศ. 1515 |
• Pashalik of Scutari/Janina | ค.ศ. 1757/1787 |
• ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมัน | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912 |
• ราชรัฐแอลเบเนีย | 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1913 |
• สาธารณรัฐที่ 1 | 31 มกราคม ค.ศ. 1925 |
• ราชอาณาจักรแอลเบเนีย | 1 กันยายน ค.ศ. 1928 |
11 มกราคม ค..ศ 1946 | |
• สาธารณรัฐที่ 3 | 28 ธันวาคม ค.ศ. 1976 |
• สาธารณรัฐที่ 4 | 29 เมษายน ค.ศ. 1991 |
• รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน | 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 |
พื้นที่ | |
• รวม | 28,748 ตารางกิโลเมตร (11,100 ตารางไมล์) (อันดับที่ 140) |
4.7 | |
ประชากร | |
• มกราคม ค.ศ. 2020 ประมาณ | 2,845,955[2] |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011 | 2,821,977[3] |
98 ต่อตารางกิโลเมตร (253.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 63) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 42.594 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] |
• ต่อหัว | 14,866 ดอลลาร์สหรัฐ[4] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 16.753 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] |
• ต่อหัว | 5,847 ดอลลาร์สหรัฐ[4] |
จีนี (ค.ศ. 2019) | 34.3[5] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.795[6] สูง · อันดับที่ 69 |
สกุลเงิน | เลค (ALL) |
เขตเวลา | UTC+1 (CET) |
UTC+2 (CEST) | |
รูปแบบวันที่ | วว.ดด.ปปปป |
ขับรถด้าน | ขวามือ |
รหัสโทรศัพท์ | +355 |
โดเมนบนสุด | .al |
ภูมิศาสตร์
สภาพภูมิศาสตร์เป็นสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติอย่างหนึ่งทำให้แอลเบเนียมีความแตกต่างทางภาษา ความแปลกแยกทางการเมืองกับประเทศอื่นๆในยุโรป เนื่องจากมีแนวภูเขาสูงเป็นปราการฝั่งตะวันออก ความสูงประมาณ 2,000 เมตร ซึ่งทอดยาวต่อเนื่องจากเทือกเขา Dinaric Alps วางตัวเป็นแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ไปยังตะวันออกเฉียงใต้ สูงชันไปตามแนวที่ราบชายฝั่ง โดยทั่วไป หินส่วนใหญ่ เป็นหินปูน ส่วนในภาคกลางมีสินแร่เชิ้อเพลิงเป็นจำนวนมาก เช่น ทองแดง เหล็ก นิกเกิล และโครเมียม
ประวัติศาสตร์
สรุป
มุมมอง
ออตโตมันแอลเบเนีย
ในยุครุ่งเรืองของการก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมันนั้น ทางออตโตมันได้จัดตั้งกองทหารรักษาการณ์ทั่วทั้งแอลเบเนียทางตอนใต้ช่วงปี พ.ศ. 1958 (ค.ศ. 1415) และสามารถเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอลเบเนียในช่วงปี พ.ศ. 1974 (ค.ศ. 1431)[7] อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1986 (ค.ศ. 1443) การปฏิวัติครั้งใหญ่ได้ประทุขึ้นภายใต้การนำของวีรบุรุษชาวแอลเบเนียนาม Skanderbeg ซึ่งดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 2022 (ค.ศ. 1479) ซึ่งหลายครั้งก็สามารถเอาชนะกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่าน Murad II และ เมห์เหม็ดที่ 2 Skanderbeg ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นเบื้องต้นกับเจ้านายต่าง ๆ ในแอลเบเนีย ซึ่งในภายหลังได้สถาปนาเป็นศูนย์กลางอำนาจเหนือแผ่นดินที่ยังมิได้ถูกยึดครองของแอลเบเนีย กลายเป็นลอร์ดผู้ปกครองแอลเบเนีย เขาได้พยายามอย่างหนักแต่ก็ล้มเหลวในการสร้างพันธมิตรยุโรปในการต่อต้านออตโตมัน เขาถูกขัดขวางในทุกความพยายามโดยชาวเติร์กที่ต้องการกลับมาควบคุมแอลเบเนีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนเส้นทางหลักในการเข้ายึดอิตาลีและยุโรปตะวันตก การต่อสู้กับมหาอำนาจที่เหนือกว่าในยุคนั้นของเขาได้ความเคารพจากชาติอื่น ๆ ในยุโรป และเนเปืล, รัฐพระสันตะปาปา, เวนิส และรากูซาก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เขาทางการเงินและการทหารด้วย[8]
คอมมิวนิสต์
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์แอลเบเนียเข้าครองอำนาจปกครองประเทศแบบคอมมิวนิสต์ จนมีการปฏิรูปการเมืองใหม่ ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อ พ.ศ. 2534 และ ปรับระบบของประเทศเป็นระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี
การเมืองการปกครอง
บริหาร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Alfred Moisiu นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาประชาชน ดำรงตำแหน่ง 4 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Sali Berisha
นิติบัญญัติ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 140 คน โดย 100 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 40 คนมาจากระบบบัญชีรายชื่อ
การแบ่งเขตการปกครอง
ประเทศแอลเบเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขตบริหาร (administrative zones - qark or prefekturë) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น เขต (districts - rreth) รวมทั้งหมด 36 เขต
มณฑล | เมืองหลวง | เขต | เทศบาล | เมือง | หมู่บ้าน | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | มณฑลเบรัต | เบรัต | เขตเบรัต เขตคูโชฟ เขตสคราปาร์ |
10 2 8 |
2 1 2 |
122 18 105 |
2 | มณฑลดีเบอร์ | เพชโคป | เขตบุงกีช์ เขตดีเบอร์ เขตมัท |
7 14 10 |
1 1 2 |
63 141 76 |
3 | มณฑลดูร์เรส | ดูร์เรส | เขตดูร์เรส เขตครุยจ์ |
6 4 |
4 2 |
62 44 |
4 | มณฑลเอลบาซาน | เอลบาซาน | เขตเอลบาซาน เขตกรามช์ เขตลิบราซชด์ เขตเพกิน |
20 9 9 5 |
3 1 2 1 |
177 95 75 49 |
5 | มณฑลฟิเยร์ | ฟิเยร์ | เขตฟิเยร์ เขตลีอูชชีเนอ เขตมัลลาคาสเทอร์ |
14 14 8 |
3 2 1 |
117 121 40 |
6 | มณฑลจิโรคาสเทอร์ | จิโรคาสเทอร์ | เขตจิโรคาสเทอร์ เขตเปอร์เมต เขตเทแพนเล |
11 7 8 |
2 2 2 |
96 98 77 |
7 | มณฑลโคร์ช | โคร์ช | เขตเดโวล เขตโคโลนจ์ เขตโคร์ช เขตโพกราเดค |
4 6 14 7 |
1 2 2 1 |
44 76 153 72 |
8 | มณฑลคูเคิช | คูเคิช | เขตฮาส์ เขตคูเคิช เขตโทโพรจ |
3 14 7 |
1 1 1 |
30 89 68 |
9 | มณฑลเลซ์ | เลซ์ | เขตคูร์บิน เขตเลซ์ เขตมิดิร์ |
2 9 5 |
2 1 2 |
26 62 80 |
10 | มณฑลชโคดรา | ชโคดรา | เขตมาเลอซี อี มาด์เฮ เขตพูคา เขตชโคดรา |
5 8 15 |
1 2 2 |
56 75 141 |
11 | มณฑลติรานา | ติรานา | เขตคาเฟจา เขตติรานา |
8 16 |
2 3 |
66 167 |
12 | มณฑลวโลรา | วโลรา | เขตเดลฟินา เขตซารานดา เขตวโลรา |
3 7 9 |
1 2 4 |
38 62 99 |
ประชากรศาสตร์
เชื้อชาติ
เป็นชาวแอลเบเนีย ร้อยละ 95 ชาวกรีก ร้อยละ 3 และอื่น ๆ อีก ร้อยละ 2
วัฒนธรรม
เป็นวัฒนธรรมมุสลิมบอลข่านเพราะในอดีตเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก ทำให้มีประชากรเป็นชาวมุสลิมเป็นส่วนมากร้อยละ 70 ที่เหลือเป็นชาวคริสต์ร้อยละ 30
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.