Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2544 มีการแข่งขันระหว่างฟุตบอลทีมชาติออสเตรเลียและอเมริกันซามัว ในนัดคัดเลือกทีมสำหรับฟุตบอลโลก 2002 การแข่งขันเกิดขึ้นที่สนามกีฬาแห่งชาติในคอฟส์ฮาร์เบอร์ ประเทศออสเตรเลีย ทีมชาติออสเตรเลียสร้างสถิติโลก ได้รับชัยชนะในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศมากที่สุด โดยชนะในการแข่งขัน 31–0 ส่วนผู้เล่นออสเตรเลีย อาร์ชี ทอมป์สัน ก็สร้างสถิติเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในการแข่งขันระหว่างประเทศ โดยเขายิงประตูได้ 13 ประตู[1] นอกจากนั้น เดวิด ซดริลิก ผู้ทำประตูได้ 8 ประตูในนัดนี้ก็เป็นผู้ทำประตูในนัดการแข่งขันระหว่างประเทศ สูงสุดอันดับ 2 นับแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
| |||||||
วันที่ | 11 เมษายน พ.ศ. 2544 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
สนาม | International Sports Stadium, Coffs Harbour, Australia | ||||||
ผู้ตัดสิน | Ronan Leaustic (Tahiti) | ||||||
ผู้ชม | 3,000 |
ผลของการแข่งขัน นำไปสู่การถกเถียงเกี่ยวกับรูปแบบการคัดเลือกการแข่งขัน โค้ชชาวออสเตรเลียและทอมป์สัน รู้สึกว่าการแข่งขันในรอบแรก ๆ ควรจะหลีกเลี่ยงทีมที่ไม่สมดุลกัน ซึ่งควรพิจารณาร่วมกันจากสมาพันธ์ของฟีฟ่า ในที่สุดก็นำไปสู่การเริ่มต้นการคัดเลือกในเขตโอเชียเนียในฟุตบอลโลก 2006
ทีมชาติออสเตรเลียชนะ 31–0 ทำให้เกิดสถิติโลก ในการชนะการแข่งขันระหว่างประเทศมากที่สุด สถิติก่อนหน้านั้น ทีมชาติออสเตรเลียชนะทีมชาติตองงา 22–0 สถิติในการแข่งขันรายการเดียวกัน ก่อนหน้านี้ 2 วัน ทั้ง 2 การชนะนี้ทำลายสถิติก่อนหน้านี้ของการชนะของฟุตบอลทีมชาติคูเวตเหนือทีมชาติภูฏาน 20–0 ในรอบคัดเลือกเอเชียนคัพ 2000 นอกจากนั้นการแข่งขันนี้ยังทำลายสถิติชนะสูงสุดในฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก สถิติก่อนหน้านั้นเป็นของอิหร่านชนะเหนือกวม 19–0 ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2002
นอกเหนือจากสถิติทีมแล้ว สถิติส่วนตัวก็ยังทำลายเช่นกัน อาร์ชี ทอมป์สัน ที่ลงการแข่งขันทีมชาติเพียง 2 นัด เขาทำประตู 13 ประตูในการแข่งขันนี้ ทำลายสถิติผู้ทำประตูนัดการแข่งขันระหว่างประเทศมากที่สุด สถิติก่อนหน้านั้นเป็นของชาวออสเตรเลียเช่นกัน ที่ชื่อ แกรี โคล ทำได้ 7 ประตู ในนัดเจอกับฟุตบอลทีมชาติฟีจี ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1982 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1981[2] และชาวอิหร่าน คาริม บักเฮรี ทำประตู 7 ประตูในนัดเจอกับฟุตบอลทีมชาติมัลดีฟส์ ในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 1998 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1997[3] เดวิด ซดริลิก ทำประตูได้ 8 ประตูในนัดนี้ก็ถือสถิติทำประตูในนัดระหว่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจาก 13 ประตูของทอมป์สัน แต่ในความเป็นจริงแล้วน้อยกว่าการทำประตู 10 ประตูของชาวเดนมาร์ก โซฟัส นีลเซน ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1908 และของชาวเยอรมัน กอทฟรีด ฟัชส์ ในโอลิมปิกฤดูร้อน 1912[4] อย่างไรก็ตามสถิติของซดริลิก ก็ถือเป็นสถิติอันดับ 2 ในรอบ 90 ปี และสถิติของทอมป์สันเป็นสถิติเทียบเท่าสถิติโลกทำประตูสูงสุดในนัดเดียวในนัดการแข่งขันรุ่นใหญ่ ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1885 ของจอห์น เพทรี ทำได้ 13 ประตูของสโมสรฟุตบอลอาร์โบรธชนะสโมสรฟุตบอลบอนแอ็กคอร์ด 36–0 ในการแข่งขันสกอตติชคัพ[5]
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.