คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
อง เหม่ย์หลิง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
อง เหม่ย์หลิง (จีน: 翁美玲; พินอิน: Wēng Měilíng เวิง เหม่ย์หลิง; กวางตุ้ง: ย้ง เหมย์เหล่ง; 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528) มีชื่อภาษาอังกฤษว่า บาร์บาร่า ย้ง (Barbara Yung) เป็นอดีตนักแสดงหญิงจอแก้วยอดนิยมชาวฮ่องกง สัญชาติอังกฤษ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกที่มีย่านชุมชนชาวจีนอาศัย ในยุคทศวรรษที่ 80 ณ.จุดสูงสุดของอาชีพนักแสดง เธอได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย สันนิษฐานมาจากภาวะทางอารมณ์ ผลงานที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดและเป็นตัวแทนของเธอ ได้แก่ มังกรหยก 1983 (เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 65 จุดเปิดและเรตติ้งตอนจบ 99% อีกทั้งยังเป็นละครอันดับที่สามที่มีเรตติ้งสูงที่สุดในโลกประกาศโดยทีวีบีเมื่อยุค 90 ในปีค.ศ. 1995) และ เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ 1984 (เรตติ้งเฉลี่ยต่อตอน 61 จุดเปิด) ในปีค.ศ. 2007 เธอได้รับการจัดอันดับเป็น อิ้งย้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ในสิบตัวละครทีวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (The 10 Greatest TV Characters)
Remove ads
เธอเป็นนางเอกจอแก้วเบอร์หนึ่งของฮ่องกงต่อจาก วังหมิงฉวน ผลงานที่สร้างชื่อให้เธอโด่งดังเป็นพลุแตกในวัย 23 ปีคือการรับบทเป็น อึ้งย้ง ในละครชุดกำลังภายในสุดคลาสสิกของกิมย้งเรื่อง "มังกรหยก ภาค1 (1983)" ด้วยความสำเร็จอย่างสูงทั่วโลกที่มีย่านชุมชนชาวจีนอาศัย ของละครมังกรหยกเวอร์ชันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฮ่องกงที่มีเรตติ้งยอดผู้ชมสูงถึง 99% ส่วนในจีน ก็สามารถทำเรตติ้งสูงถึง 90% กลายเป็นหนึ่งในละครชุดทางฮ่องกงที่มีเรตติ้งสูงสุดในจีน และอันดับห้าและหกของละครที่มีเรตติ้งสูงสุดทั้งในมาเลเซียและสิงค์โปร์ ตามลำดับ นอกจากนี้ องเหม่ยหลิง ยังได้รับความนิยมอย่างมากในไต้หวันจากละครเรื่อง มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง (1983) ที่ฮิตถล่มทลายในตลาดวิดีโอ จนต่อมาได้ออกอากาศทางช่องสี่ ทางไต้หวันด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังคว้ารางวัลสิบอันดับแรกของละครทีวีบีที่มีเรตติ้งสูงที่สุดทั่วโลกอีกด้วย โดยมียอดดูสดผ่านทางทีวีครั้งแรกทั่วโลกมากถึง 356 ล้านคน [1]จากความสำเร็จทั่วเอเชียถือได้ว่าเป็นละครชุดคลาสสิกที่ทรงอิทธิพลและประสบความสำเร็จที่ไม่มีใครเทียบได้ในประวัติศาสตร์ฮ่องกง ส่งให้เธอเป็น "อึ้งย้งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด" ในหน้าประวัติศาสตร์ของวงการละครชุดหนังจีน และถูกยกย่องให้เป็น "อึ้งย้งคลาสสิก" อีกทั้งการแสดงในบทนี้ของเธอยังได้รับการยกย่องยอมรับจากผู้คนส่วนใหญ่รวมถึงจากบรรดาสื่อยักษ์ใหญ่หลายสถาบันของทั้งในฮ่องกง,ไต้หวัน, สิงคโปร์ และจีน ว่าเป็น "อึ้งย้งที่แสดงได้ยอดเยี่ยมที่สุด" [2][3][4][5][6][7][8][9] ในปีพ.ศ. 2550 (2007) หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลที่ขายดีที่สุดในฮ่องกง "แอปเปิลเดลี่" (Apple Daily) ที่มีสาขาในจีน และไต้หวัน ต่างคัดเลือกเธอให้เป็นหนึ่งในนักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ยอดเยี่ยมที่สุดชนะหมีเซียะ โดยบทอึ้งย้ง ที่ องเหม่ยหลิง แสดงอยู่ในอันดับที่สิบ จากผลโหวตของผู้ชมของการจัดอันดับใน 100 นักแสดงที่สวมบทบาทในละครชุดได้ยอดเยี่ยมที่สุด. [10][11]
จนมาถึงปัจจุบันนี้ หลังการเสียชีวิตของเธอไปนานหลายสิบปีก็ยังคงไม่มีใครลบสถิติความสำเร็จที่เธอทำไว้ได้ ในบทเดียวกัน จนเป็นที่มาของการขนานนามเธอว่า "อึ้งย้งตลอดกาล"(Ronger Forever) และยังเป็นนางเอกหญิงในวงการจอแก้วฮ่องกงที่ละครสามารถทำเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนเกินกว่า 60 จุดเปิด ได้ถึง 2 เรื่อง ติด 10 อันดับแรกของละครที่มีเรตติ้งสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเกาะฮ่องกง คือ "มังกรหยก 1983 (The Legend of the Condor Heroes)" และเรื่อง เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์ (1984 天師執位) [12]
ในปีพ.ศ. 2548 (2005) บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน "ซินล่าง คอร์ป (Sina Corp)" ที่มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 100 ล้านคน ได้เปิดให้สมาชิกโหวตว่า "บทบาทการแสดงในละครชุดของใครที่ประทับใจคนจีนมากที่สุด" และองเหม่ยหลิง จากบทบาทอึ้งย้ง เอาชนะ เจิ้ง เส้าชิว ในบท ชอลิ้วเฮียง และโจวเหวินฟะ ในบท สวี่ เหวินเฉียง จากเรื่อง เจ้าพ่อเซี่ยงไฮ้ ได้[13] .ในปีพ.ศ. 2549 (2006) '"สำนักข่าวซินหัว""(新华通讯社) เว็บไซต์สำนักข่าวชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ได้ยกย่อง องเหม่ยหลิง ให้เป็นนักแสดงสาวที่สวมบทบาทตัวละครอึ้งย้งที่ดีที่สุด[14] .ในปีพ.ศ. 2550 (2007) หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลที่ขายดีที่สุดในฮ่องกง "แอปเปิลเดลี่" Apple Daily ที่มีสาขาในจีน และไต้หวัน ต่างคัดเลือกเธอให้เป็น "นักแสดงที่สวมบทบาทอึ้งย้งได้ดีที่สุด" จากการจัดอันดับใน 100 นักแสดงที่สวมบทบาทในละครชุดได้ยอดเยี่ยมที่สุด. [15]ในปีพ.ศ. 2553 (2010) เว็บไซด์ "ไป่ตู้" (Baidu) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดอันดับ 4 ของโลก [16] ได้ยกย่อง อง เหม่ยหลิง เป็น 1 ใน 500 ดารานักแสดงที่มีอิทธิพลต่อผู้คนจากวงการบันเทิงทั่วโลก. [17]
Remove ads
ประวัติ
สรุป
มุมมอง
องเหม่ยหลิง เกิดที่ฮ่องกงต่อมาไปได้ศึกษาต่อที่ลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยอาศัยอยู่กับมารดาที่ได้รับสัญชาติอังกฤษ และในระหว่างช่วงที่กำลังศึกษาอยู่ที่นั้นได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันการประกวดนางงามไชน่าทาวน์ของประเทศอังกฤษและสามารถคว้ารองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ สาขาศิลปะการออกแบบสิ่งทอ จาก "สถาบันการออกแบบ เซ็นทรัลสคูล ออฟ อาร์ท แอนด์ดีไซน์" (Central School of Art and Design) ของ มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งลอนดอน ( University of the Arts London) ที่ประเทศอังกฤษ แล้ว เธอได้เดินทางกลับมายังฮ่องกง และเข้าสู่วงการบันเทิงจากการเข้าร่วมประกวดนางงามฮ่องกงในปี พ.ศ. 2525 และผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเสิศ ไดยได้อันดับ 8 จากนั้นได้มีโอกาสเป็นนักแสดงในสังกัดของสถานีโทรทัศน์ทีวีบี และแจ้งเกิดกับผลงานละครกำลังภายในเรื่องแรก สมิงสาวใจเพชร ในบทนางรองคู่กับ เยิ่น ต๊ะหัว และยังเป็นผลงานที่ทำให้เธอได้พบรักกลางกองถ่ายกับ ทัง เจิ้นเยี่ย พระเอกของเรื่องนี้อีกด้วย ต่อมาผลงานละครเรื่อง "มังกรหยก ภาค1 (1983)" ที่เธอได้รับบทเป็นอึ้งย้ง คู่กับหวง เย่อหัว ในบทก๊วยเจ๋ง และยังมี เหมียว เฉียวเหว่ย และหยาง พ่านพ่าน ร่วมแสดงนำ โดยเฉพาะละครเรื่องหลังนี้ทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นพลุแตกและได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วเอเชียทั้งในฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศจีน อินโดนีเซีย เวียดนาม ไต้หวัน และไทย อีกทั้งเธอยังได้รับความนิยมในย่านไชน่าทาวน์ ทั้งใน สหรัฐอเมริกา, แคนาดา. อังกฤษ และทวีปยุโรป ในปีเดียวกันเธอกลายเป็น นางเอกยอดนิยม ในต่างประเทศเมื่อละครชุด มังกรหยก 1983 คว้ารางวัลละครที่มีผู้ชมสูงสุดแห่งปีในเทศกาลงาน "นิวยอร์กฟิล์มเฟสติวัล" จาก ย่านไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังเป็น 1 ใน 4 ดาราสาวจอแก้วยอดนิยม คือ 4 ดรุณีหยกแห่งยุค 80s[18]และกลุ่ม 7 นางฟ้าทีวีบีแห่งยุค 80s (TVB 七仙女之一 1980-1986) อีกด้วย หลังจากละครเรื่องมังกรหยกส่งให้เธอได้ก้าวขึ้นเป็นนักแสดงหญิงเบอร์หนึ่งของสถานีโทรทัศน์ทีวีบีทันทีและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ในช่วงระยะเวลาเกือบ 3 ปี เธอมีผลงานแสดงหนังและละคร 10 เรื่อง ทั้งละครเรื่อง "ชอลิ้วเฮียง ตอน ถล่มวังค้างคาว" และ "เทพบุตรทรนง" ต่างก็เป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมเช่นกัน
ในปีพ.ศ. 2527 (1984) เธอกับเมียวเฉียวเหว่ย กลายเป็นคู่ขวัญแห่งปี เมื่อละครเรื่อง "เทพอาจารย์จอมอิทธิฤทธิ์" 1984 ทำเรตติ้งเฉลี่บได้ 61 จุดเปิด กลายเป็นละครที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่อตอนสูงสุดแห่งปี (และยังเป็นละครอันดับสามที่มีเรตติ้งเฉลี่ยสูงสุดในฮ่องกงตลอดกาล) แสดงให้เห็นถึงความนิยมอย่างสูงในตัวของ องเหม้ยหลิง ขนะนั้นได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่ชื่อเสียงรุ่งโรจน์สุดขีด และเป็นนางเอกจอแก้วเบอร์หนึ่งอยู่นั้น องเหม่ยหลิง ได้เสียชีวิตกระทันหันเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ด้วยวัยเพียง 26 ปี เนื่องจากการฆ่าตัวตาย เพราะปัญหาทางอารมณ์ โดยการรมแก๊สในห้องพักหลังจากมีปากเสียงกับทังเจิ้นเยี่ย แฟนหนุ่มของเธอในขณะที่ทั้งคู่เพิ่งจะเปิดกล้องละครที่แสดงเป็นพระ-นางร่วมกันในเรื่อง เซียนโค่นเซียน (The King of the Bridge King 1985) ไปได้ไม่นานทำให้บทบาทของเธอในเรื่องนี้และอีกเรื่องที่แต่เดิมมีการวางตัวเธอแสดงเอาไว้ คือ เล็กเซี่ยวหงส์ เวอร์ชันว่านจือเหลียง (The Return of Luk Siu Fung 1986) ต้องทำการเปลี่ยนตัวนักแสดงสาวคนอื่นมาเล่นแทน ข่าวการเสียชีวิตของเธอโด่งดังมากและกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ไม่มีใครคาดฝันนำพาซึ่งความโศกเศร้าเสียใจให้กับแฟนละครของเธอทั่วทั้งเอเชีย พิธีศพของเธอถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ตามแบบคริสต์ศาสนา มีแฟน ๆ ละครมาร่วมไว้อาลัยมากมายเป็นประวัติศาตร์ มีฝูงชนนับหมื่นคนที่มายืนบริเวณหน้างานศพรวมไปถึงผู้คนที่ออกมาร่วมส่งขบวนศพของเธอตามท้องถนนข้างทางอีกประมาณ 100,000 คน โดยที่ร่างของเธอถูกนำไปฌาปนกิจและกลับไปฝังไว้ที่สุสานในเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร ทุกวันนี้ยังคงมีแฟน ๆ จำนวนมากมายที่คิดถึงเธอจะเดินทางไปเยี่ยมหลุมศพของเธอที่อังกฤษเป็นประจำทุกปี[19] [20][21]
Remove ads
การโชว์ตัวต่างประเทศ
ในช่วงชีวืตการแสดงอันแสนสั้น องเหม่ยหลิง อยู่ในวงการบันเทิงเพียง 2 ปี 10 เดือนเท่านั้น (เซ็นสัญญากับทีวีบีครั้งแรกในภายหลังจากประกวดนางงามฮ่องกงตอนเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 1982-เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1985 ปีที่เธอเสียชีวิต)
ในช่วงเวลาเพียง 2 ปี 10 เดือน เธอประสบความสำเร็จอย่างมากหลังจากละครเรื่อง มังกรหยก ภาคก๊วยเจ๋ง 1983 ออกอากาศแล้วสร้างเรตติ้งฮิตถล่มทลายในแต่ละประเทศจนทำให้เธอโด่งดังเป็นพลุแตกตามประเทศต่าง ๆ ที่นำไปออกอากาศ เธอมีการบินไปโชว์ตัวที่ตามต่างประเทศ ดังนี้
- สิงค์โปร์ 4 ครั้ง
- มาเลเซีย 2 ครั้ง
- ไทย 2 ครั้ง
- ยุโรป 1 ครั้ง ในฮอลแลนด์,เนเธอร์แลนด์, อังกฤษ และ ฝรั่งเศส
- มีคิวบินไปโชว์ตัวที่ สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1985 แต่เธอเสียชีวิตเสียก่อน
Remove ads
ได้รับความนิยมในอินเดีย
ในอดีต มังกรหยก 1983 สร้างเรตติ้งถล่มทลายตามประเทศต่าง ๆ ที่นำไปออกอากาศครั้งแรกในแต่ละประเทศ ส่งให้ องเหม่ยหลิง ได้รับความนิยมอย่างสูงไปทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ ประเทศอินเดีย
ในช่วงปีค.ศ. 1996-1997 ละครชุดฮ่องกงที่ องเหม่ยหลิง รับบท อึ้งย้ง คือเรื่อง มังกรหยก (1983) (The Legend of conder heroes 1983) ได้ถูกนำไปออกอากาศพากษ์เป็นภาษาฮินดีในอินเดีย ผ่านทางช่องยอดนิยม HomeTv เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1996-23 มกราคม ค.ศ. 1997
และได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม มีผู้ชมถึง 50 ล้านคน สร้างชื่อให้ องเหม่ยหลิง เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ชมชาวอินเดียที่ได้ดูละครชุดกำลังภายในเรื่องนี้ และสร้างความตกใจเมื่อผู้ชมชาวอินเดีย มารู้ทีหลังละครอวสานไปแล้วว่านางเอกของเรื่องนี้ องเหม่ยหลิง ได้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายไปนานกว่า 10 ปีแล้ว
ผลงาน
ผลงานละคร
ผลงานภาพยนตร์
ปี พ.ศ. | ชื่อภาพยนตร์ | บทที่ได้รับ |
2526 | ลูกบ้าดีเดือด 《瘋狂83》 Mad mad 83 [22][23][24] | FBI (探員) สายลับ FBI |
รายการปกิณกะ (ทีวีบี)
ปี พ.ศ. | ชื่อรายการ | หน้าที่ |
2525 | 《婦女新姿》 รายการผู้หญิงวันนี้ [25][26] | ผู้ดำเนินรายการ (พิธีกร) |
2526-2528 | 《歡樂今宵》 รายการค่ำคืนวาไรตี้ [27][28][29] | ผู้ร่วมรายการ (แขกรับเชิญ) |
คอนเสิร์ต
- 《1985 翁美玲星馬個人演唱會》[30]
อัลบั้ม
Remove ads
รางวัลและการจัดอันดับ
สรุป
มุมมอง
อง เหม่ยหลิง ได้รับ การจัดอันดับจากบรรดาเว็บไซต์และนิตยสารเอเชียต่าง ๆ มากมายทั่วเอเชีย โดยเฉพาะสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ของประเทศจีน ต่างจัดทำรายการรำลึกถึงเธอขึ้นอย่างยิ่งใหญ่[31]
- รองอันดับ 1 นางงามไชน่าทาวน์ ปี พ.ศ. 2523 ประเทศ อังกฤษ[32][33]
- นางงามฮ่องกง ปี พ.ศ. 2525 อันดับที่ 8 [34]
- องเหม่ยหลิง ได้รับการโหวต ให้เป็นนักแสดงหญิงยอดนิยมสองปีในฮ่องกง คือ พ.ศ. 2526 (1983) และ พ.ศ. 2527 (1984)
- องเหม่ยหลิง ได้รับการโหวต ให้เป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงยอดนิยมสองปีในไต้หวัน คือ พ.ศ. 2526 (1983) และ พ.ศ. 2528 (1985)
- องเหม่ยหลิง ได้รับการโหวตจากนิตยสารทีวีรีวิวในไทย ให้ติดหนึ่งในสิบนักแสดงฮ่องกงหญิงยอดนิยมในไทย เกือบสี่ปีซ้อน (ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2526-กลางปีพ.ศ. 2530)
- อันดับ 1 จาก 10 นักแสดงหญิงที่แสดงดีที่สุดในจอแก้วของฮ่องกง โดย เว๊ปไซด์ Chinese whispers[35]
- อันดับ 1 จาก 10 สุดยอดบทบาทละครนวนิยายกำลังภายใน โดย เว๊ปไซด์ Chinese whispers[36]
- อันดับ 1 จากบทอึ้งย้ง (ชนะ) ในการออกเสียงลงคะแนนทางออนไลน์ ผ่านทาง เว๊ปไซด์ Sina.com ในปี พ.ศ. 2548 [37]
- อันดับ 1 จาก 10 สุดยอดละครชุด ยุค 80s โดย เว๊ปไซด์ spcnet.tv [38]
- อันดับ 2 จาก 10 อันดับหนังจีนที่อยู่ในใจแฟน ช่อง 3 [39]
- อันดับ 5 จาก 100 อันดับละครซีรีส์ยอดนิยมสูงสุดในประเทศ มาเลเซีย จากการสวมบทบาท อึ้งย้ง ในละครชุด มังกรหยก
- อันดับ 6 จาก 100 อันดับละครซีรีส์ยอดนิยมสูงสุดในประเทศ สิงค์โปร์ จากการสวมบทบาท อึ้งย้ง ในละครชุด มังกรหยก
- อันดับ 8 จาก สุดยอด 100 ดาราจอแก้วของฮ่องกงตลอดกาล (วัดจากเรตติ้งความนิยม) โดย TVB Guide Magazine[40] 10 อันดับ แรก ดาราจอแก้วยอดนิยมสูงสุดตลอดกาล ประกอบด้วย
1. โจว เหวินฟะ
2. หวัง หมิงฉวน
4. หวง เย่อหัว
6. หลิว สงเหยิน
8. อง เหม่ยหลิง
9. หมี เซียะ
- อันดับ 4 จาก 11 คนดังผู้จากไปอย่างน่าเสียดาย โดยหนังสือพิมพ์ South China Morning Post[41]
- อันดับ 8 จาก 10 คนดังเอเชียที่จากไปก่อนวัยอันสมควร โดย China Internet Information Center[42]
- อันดับ 10 จาก Top 100 "บทบาทการแสดง" ในซีรีส์ฮ่องกง จากการจัดอันดับโดยนิตยสาร Apple Daily (Hong Kong) [43]
- อันดับ 474 จาก 13,629 ดารานักแสดงที่ทรงอิทธิพลสูงสุดในวงการบันเทิงจากทั่วโลก จัดอันดับโดย Baidu
- นางเอกยอดนิยม จากละครชุด มังกรหยก ปี พ.ศ. 2526 ในเทศกาลงาน นิวยอร์กฟิล์มเฟสติวัล จาก ย่านไชน่าทาวน์ ใน ประเทศ สหรัฐอเมริกา [44]
- หนึ่งในสี่ยอดนางเอก TVB แห่งยุค 80 ( TVB第二代花旦 ) ซึ่งประกอบไปด้วย อง เหม่ยหลิง ( 翁美玲 )、เจิ้ง หัวเชี่ยน ( 曾华倩 )、เฉิน อวี้เหลียน ( 陈玉莲)、และ หลิว เจียหลิง ( 刘嘉玲 )[45][46]
- 7 สาวงามในชุดโบราณ (7 นางฟ้าทีวีบี ยุค80s) TVB Seven Fairies ร่วมกับ องเหม่ยหลิง, ชีเหม่ยเจิน, เจิงหัวเชี่ยน, หลัน เจี๋ยอิง, หลิวเจียหลิง, จิ่ง ไต้อิง และ ซัง เทียนเอ๋อ[47]
- บทอึ้งย้งที่ดีที่สุด กับ 10 บทบาทการแสดงในวงการบันเทิงเอเชีย ที่หาผู้อื่นเทียบชั้นได้ยาก[48][49]
Remove ads
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads