หนุมานกองปราบ

หน่วยตำรวจที่มีความเชี่ยวชาญการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษ สังกัดกองบังคับการปราบปราม จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนุมานกองปราบ

หน่วยปฏิบัติการพิเศษหนุมาน กองปราบปราม[28] หรือที่รู้จักกันในชื่อ หนุมานกองปราบ (อังกฤษ: HANUMAN)[29] เป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษเทียบชั้นสวาตของกองปราบปราม[30] โดยได้รับการก่อตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562[31][32] และมีผู้กำกับการคนปัจจุบันคือพันตำรวจเอก วิจักขณ์ ตารมย์[33]

ข้อมูลเบื้องต้น หนุมานกองปราบ, ประจำการ ...
หนุมานกองปราบ
หน่วยปฏิบัติการพิเศษหนุมาน กองปราบปราม
Thumb
ตราสัญลักษณ์พระราชทาน[1]
ประจำการ27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 (5 ปี)[2]
ประเทศ ไทย[3]
หน่วยงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รูปแบบหน่วยยุทธวิธีตำรวจ
บทบาทการปฏิบัติการพิเศษ[4][5]
การต่อต้านการก่อการร้าย[6]
สนับสนุนงานของ กก. 1–6[7]
บุกจับกุม[8][9]
ชิงตัวประกัน[10]
ควบคุมพื้นที่[11][12][13][14]
ควบคุมสถานการณ์[15]
ควบคุมตัวผู้ต้องหา[16][17][18][19]
ยึดอาวุธปืนและกระสุน[20]
ขึ้นกับกองกำกับการสนับสนุน กองปราบปราม[21] (กก.สสน.บก.ป.)[22]
โครงสร้างหน่วย
กำลังปฏิบัติการ40 นาย (พ.ศ. 2563)[23]
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันผู้กำกับการ
ความสำคัญ
ปฏิบัติการสำคัญเหตุโจรกรรมร้านทองในจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2563[24]
เหตุการณ์ชิงตัวประกันในเทอร์มินอล 21 โคราช[25][26]
เหตุกราดยิงที่จังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2565[27]
ปิด

ประวัติ

เนื่องด้วยหน่วยคอมมานโดที่อยู่สังกัดกองปราบปราม คือ กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการปราบปราม[34] ได้แยกตัวออกไปอยู่ในสังกัดกองบังคับการตำรวจมหาดเล็กราชวัลลภ รักษาพระองค์ 904 จึงได้มีการขอจัดตั้ง กองกำกับการสนับสนุน กองบังคับการปราบปราม ขึ้นแทน โดยมีพันตำรวจเอก วิจักขณ์ ตารมย์ เป็นผู้กำกับการและควบคุมหน่วยปฏิบัติการพิเศษ[35]

จากนั้น ได้มีความคิดที่จะตั้งชื่อที่เหมาะสมของหน่วย ซึ่งกองปราบปรามเป็นหน่วยที่ขึ้นตรงต่อกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีรหัสเรียกขานคือ "นารายณ์ 1" ที่มาจากพระนารายณ์ ผู้มีร่างอวตารคือพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมีทหารเอกคือหนุมาน จึงนำมาตั้งเป็นชื่อหน่วยหนุมานกองปราบ[36]

หน่วยหนุมานกองปราบเป็นที่รู้จักในวงกว้างครั้งแรก จากปฏิบัติการจับกุมผู้อำนวยการสถานศึกษาฆ่าชิงทองที่จังหวัดลพบุรีเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2563[37] โดยเจ้าหน้าที่หนุมานกองปราบ 15 นาย[38] ภายใต้การบัญชาการของพลตำรวจตรี จิรภพ ภูริเดช[39] ซึ่งปฏิบัติการนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย[40]

เหตุการณ์ชิงตัวประกันในเทอร์มินอล 21 โคราช

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้เกิดเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา จึงได้มีการจัดกำลังหนุมานกองปราบพร้อมอาวุธหนักและเบาครบมือ 2 ทีม 20 นาย[41] ลงพื้นที่ 12 นาย[42][43] โดยได้ทำการควบคุมพื้นที่[44][45][46] และสามารถช่วยประชาชนออกมาได้เป็นจำนวนมาก[47]

หลังจากปฏิบัติการเสร็จสิ้น หน่วยหนุมานก็ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดียเช่นกัน[29] รวมถึงได้รับการชื่นชมอย่างมากในทวิตเตอร์[48]

รางวัลที่ได้รับ

ยุทโธปกรณ์

ยานพาหนะภาคพื้นดิน

ข้อมูลเพิ่มเติม รุ่น, ภาพ ...
รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
ฟอร์ด เรนเจอร์ Thumb ปิคอัพ  สหรัฐ
นิสสัน เออร์แวน Thumb รถตู้[51]  ญี่ปุ่น
โตโยต้า อัลติส Thumb รถยนต์นั่งขนาดเล็ก  ญี่ปุ่น
ปิด

อากาศยาน

ข้อมูลเพิ่มเติม รุ่น, ภาพ ...
รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
ยูโรคอปเตอร์ EC155 Thumb เฮลิคอปเตอร์ขนส่งผู้โดยสาร  ฝรั่งเศส หนุมานกองปราบขึ้นจากกองบินตำรวจ ถนนรามอินทรา เพื่อเข้าร่วมปฏิบัติการชิงตัวประกันในเทอร์มินอล 21 โคราช[52]
ปิด

อาวุธเล็ก

ข้อมูลเพิ่มเติม ชื่อ, ภาพ ...
ชื่อ ภาพ ประเภท ขนาดลำกล้อง ที่มา หมายเหตุ
กล็อก 19 เจน 4 Thumb ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ 9×19 มม. พาราเบลลัม  ออสเตรีย
ซิก เอ็มพีเอกซ์ ปืนกลมือ 9×19 มม. พาราเบลลัม  สหรัฐ
 เยอรมนี
เอ็ม 4 เอ 1 คาร์บิน Thumb ปืนเล็กยาวจู่โจม 5.56×45 มม. นาโต  สหรัฐ ใช้ในหน่วยรบพิเศษ บางกระบอกมีชุดอุปกรณ์โซปมอดติดตั้ง
ปิด

อ้างอิง

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.