Remove ads
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลเดอะนิวเซนส์แห่งออสเวสตรีทาวน์และคลันซันต์ฟรายด์ (อังกฤษ: The New Saints of Oswestry Town & Llansantffraid Football Club เวลส์: Clwb Pêl-droed y Seintiau Newydd) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ เดอะนิวเซนส์ หรือ ทีเอ็นเอส เป็นสโมสรฟุตบอลตัวแทนจากเมืองออสเวสตรีในมณฑลชรอปเชอร์ ประเทศอังกฤษ และหมู่บ้านคลันซันต์ฟรายด์-อัม-เมฮายน์ (เวลส์: Llansantffraid-ym-Mechain) ในมณฑลโพวิส ประเทศเวลส์ ซึ่งตั้งอยู่ห่างกัน 8 ไมล์ (13 กิโลเมตร) สโมสรนี้แข่งขันในเวลช์พรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 2018–19 เดอะนิวเซนส์ชนะเลิศติดต่อกันเป็นสมัยที่ 8 และสร้างสถิติเป็นสโมสรที่ชนะเลิศมากที่สุดคือ 13 สมัย[1]
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเดอะนิวเซนส์แห่งออสเวสตรีทาวน์และคลันซันต์ฟรายด์ | ||
---|---|---|---|
ฉายา | เดอะเซนส์, ทีเอ็นเอส | ||
ชื่อย่อ | TNS | ||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1959 | ||
สนาม | พาร์กฮอลล์ ออสเวสตรี มณฑลชรอปเชอร์ ประเทศอังกฤษ | ||
ความจุ | 2,034 ที่นั่ง (มีที่นั่ง 1,034 อัน) | ||
ประธาน | ไมก์ แฮร์ริส | ||
ผู้จัดการ | แอนโทนี ลิมบริก | ||
ลีก | แม่แบบ:Welsh football updater | ||
แม่แบบ:Welsh football updater | แม่แบบ:Welsh football updater | ||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | ||
|
สโมสรนี้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1959 ในชื่อสโมสรฟุตบอลคลันซันต์ฟรายด์ หลังจากนั้นใน ค.ศ. 1997 สโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็นสโมสรฟุตบอลโทเทิลเน็ตเวิร์กโซลูชันส์ตามชื่อผู้สนับสนุน ใน ค.ศ. 2003 สโมสรนี้ได้ยุบรวมกับสโมสรฟุตบอลออสเวสตรีทาวน์ และเปลี่ยนมาใช้ชื่อเดอะนิวเซนส์ซึ่งเป็นชื่อในปัจจุบันในอีกสามปีถัดมา
สนามเหย้าของทีเอ็นเอสคือพาร์กฮอลล์ในเมืองออสเวสตรี หลังจากย้ายจากสนามเดิมที่คลันซันต์ฟรายด์ใน ค.ศ. 2007 พาร์กฮอลล์รองรับผู้ชมได้ 2,034 คน โดยมีที่นั่งจำนวน 1,000 ที่นั่ง และมีแผนการที่จะขยายสนามให้รองรับผู้ชมได้ 3,000 ในอนาคต[2]
สโมสรเริ่มก่อตั้งโดยใช้ชื่อสโมสรฟุตบอลคลันซันต์ฟรายด์เพื่อเป็นตัวแทนของหมู่บ้านคลันซันต์ฟรายด์-อัม-เมฮายน์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ใกล้ชายแดนติดต่อกับอังกฤษใน ค.ศ. 1959 และใช้สนามรีครีเอชันกราวด์ (Recreation Ground) เป็นสนามเหย้า คลันซันต์ฟรายด์เข้าแข่งขันในมอนต์โกเมอรีเชอร์อเมเจอร์ฟุตบอลลีก ซึ่งเป็นลีกฟุตบอลระดับสี่ของเวลส์ในขณะนั้น คลันซันต์ฟรายด์ชนะเลิศจำนวน 7 ครั้ง เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 1989–90 คลันซันต์ฟรายด์ได้รับเลือกให้เข้าสู่เซ็นทรัลเวลส์ลีก (หรือมิดเวลส์ลีกในปัจจุบัน) พวกเขาแข่งขันเพียงฤดูกาลเดียวก็ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศและเลื่อนชั้นสู่คัมรีอัลไลอันซ์ หลังจากนั้นพวกเขาก็ประสบความสำเร็จต่อเนื่อง โดยในฤดูกาล 1992–93 พวกเขาได้เลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดในฐานะทีมชนะเลิศของคัมรีอัลไลอันซ์ และชนะเลิศการแข่งขันเวลช์อินเทอร์มิเดียตคัพด้วย
คลันซันต์ฟรายด์ชนะเลิศเวลช์คัพใน ค.ศ. 1996 และได้สิทธิ์เข้าแข่งขันยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลานั้น บริษัทโทเทิลเน็ตเวิร์กโซลูชันส์ซึ่งเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในเมืองออสเวสตรีได้เสนอข้อตกลงเป็นผู้สนับสนุนมูลค่า 250,000 ปอนด์แลกกับการพ่วงชื่อบริษัทเข้าไปในชื่อสโมสรเป็นสโมสรฟุตบอลโทเทิลเน็ตเวิร์กโซลูชันส์ คลันซันต์ฟรายด์ ในรอบคัดเลือกพวกเขาจับสลากพบกับรุคคอร์ซุฟซึ่งเป็นทีมชนะเลิศฟุตบอลถ้วยจากโปแลนด์ พวกเขาเสมอ 1–1 ที่เวลส์ก่อนจะแพ้ 5–0 ที่โปแลนด์ ในปีถัดมาพวกเขาเปลี่ยนชื่อเหลือเพียงสโมสรฟุตบอลโทเทิลเน็ตเวิร์กโซลูชันส์เท่านั้น ซึ่งทำให้เป็นสโมสรแรกในสหราชอาณาจักรที่ตั้งชื่อโดยใช้ชื่อผู้สนับสนุนเท่านั้น และนับแต่นั้นมาพวกเขายังได้เข้าแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปยุโรปอีกหลายครั้ง การแข่งขันฟุตบอลถ้วยยุโรปนัดเหย้าของพวกเขามักจะใช้สนามของสโมสรอื่นที่อยู่บริเวณใกล้เคียงเช่นนิวทาวน์หรือเรกซัมเนื่องจากรีครีเอชันกราวด์ซึ่งเป็นสนามเหย้าจริงของพวกเขาเองนั้นไม่ผ่านมาตรฐานของยูฟ่า ในการแข่งขันกับแมนเชสเตอร์ซิตีใน ค.ศ. 2003 พวกเขาใช้มิลเลนเนียมสเตเดียมที่คาร์ดิฟฟ์ซึ่งมีความจุ 72,000 ที่นั่งเป็นสนามเหย้า
ในฤดูร้อน ค.ศ. 2003 ผู้ถือหุ้นของสโมสรฟุตบอลออสเวสตรีทาวน์เข้าประชุมร่วมกับทีเอ็นเอสเพื่อเจรจาการยุบรวมทีม แม้ว่าผู้ถือหุ้นบางส่วนจะไม่ทราบเรื่องนี้ก็ตาม ออสเวสตรีทาวน์ซึ่งมีฐานะทางการเงินด้อยกว่านั้นอยู่ไม่ไกลจากทีเอ็นเอสนัก และแข่งขันในลีกของเวลส์เช่นกันแม้ว่าจะตั้งอยู่ในมณฑลชรอปเชอร์ในประเทศอังกฤษก็ตาม สมาคมฟุตบอลเวลส์ได้รับรองการรวมทีมในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2003 แม้ว่าเดิมทีเดียวนั้นยูฟ่าไม่เห็นด้วยกับการยุบรวมทีมที่อยู่ในคนละประเทศกัน แต่ยูฟ่าก็รับรองในเวลาต่อมา
ฤดูกาล 2003–04 ทีเอ็นเอสไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขัน พวกเขาได้เพียงรองชนะเลิศทั้งในลีกและเวลช์คัพ โดยตำแหน่งชนะเลิศทั้งสองรายการนั้นเป็นของริล อย่างไรก็ตาม ทีเอ็นเอสได้ตำแหน่งชนะเลิศทั้งสองรายการในฤดูกาลถัดมา
ในช่วงปิดฤดูกาลก่อนเริ่มฤดูกาล 2005–06 หลังจากที่ยูฟ่าไม่อนุมัติให้ลิเวอร์พูลซึ่งชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเข้าแข่งขันในฤดูกาลถัดไป ทีเอ็นเอสได้เสนอตัวแข่งขันกับลิเวอร์พูลแบบนัดเดียวเพื่อชิงสิทธิ์เข้าแข่งขันรอบคัดเลือกรอบแรก[3] หลังจากที่ยูฟ่าได้ตกลงให้ลิเวอร์พูลเข้าแข่งขันในรอบคัดเลือกรอบแรกได้ ทีเอ็นเอสและลิเวอร์พูลก็จับสลากได้พบกันเอง โดยการแข่งขันนัดแรกที่แอนฟีลด์ ลิเวอร์พูลเป็นฝ่ายชนะ 3–0 จากแฮตทริกของสตีเวน เจอร์ราร์ด นัดที่สองซึ่งแข่งขันที่เรกซัมนั้น จีบรีล ซีเซทำประตูขึ้นนำก่อนที่เจอร์ราร์ดซึ่งเปลี่ยนตัวลงมาทำเพิ่มได้อีกสองประตู ทำให้ลิเวอร์พูลชนะด้วยผล 3–0 เช่นกัน แม้ว่าทีเอ็นเอสจะเป็นฝ่ายแพ้ในการแข่งขันก็ยังได้รับการยกย่อง โดยเฉพาะเจอราร์ด โดเฮอร์ตี ผู้รักษาประตูชาวไอร์แลนด์เหนือซึ่งราฟาเอล เบนิเตซได้ยกย่องว่าเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดในการแข่งขันทั้งสองนัด[4]
ต้น ค.ศ. 2006 บริติชเทเลคอมได้เข้าควบรวมกิจการของโทเทิลเน็ตเวิร์กโซลูชันส์[5] ซึ่งทำให้ข้อตกลงการเป็นผู้สนับสนุนสิ้นสุดลงเมื่อจบฤดูกาล 2005–06 และจำเป็นต้องหาชื่อใหม่ในการแข่งขันฤดูกาลถัดไป ซึ่งพวกเขาตกลงกันได้ว่าจะใช้ชื่อ "เดอะนิวเซนส์" ซึ่งสอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของทั้งสองสโมสรที่ควบรวมกันก่อนหน้านี้ โดยคลันซันต์ฟรายด์มีฉายาว่า "เดอะเซนส์" มาก่อน ในขณะที่ประวัติศาสตร์ของเมืองออสเวสตรีเองก็เกี่ยวข้องกับออสวอลด์แห่งนอร์ทัมเบรียซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องเป็นนักบุญออสวอลด์ นอกจากนี้ชื่อใหม่ยังสอดคล้องกับอักษรย่อ "ทีเอ็นเอส" ของชื่อทีมในขณะนั้นด้วย ตราใหม่ของสโมสรได้ออกแบบให้มีรูปสัตว์สองตัว ได้แก่มังกรซึ่งสื่อถึงคลันซันต์ฟรายด์ในเวลส์ และสิงโตซึ่งสื่อถึงออสเวสตรีในอังกฤษ[6]
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่าเดอะนิวเซนส์ได้แจ้งขอใช้สนามเดวาสเตเดียมซึ่งเป็นสนามของสโมสรเชสเตอร์ซิตีเพื่อแข่งขันในฤดูกาล 2010–11 หลังจากไม่ได้รับอนุมัติงบประมาณสำหรับการสร้างอัฒจันทร์ใหม่ขนาด 1,000 ที่นั่งที่พาร์กฮอลล์ ซึ่งในขณะนั้นสโมสรเชสเตอร์ซิตีเองก็ประสบปัญหาทางการเงินเช่นกัน เดวาสเตเดียมนั้นตั้งคร่อมเขตแดนระหว่างอังกฤษและเวลส์ โดยอัฒจันทร์และพื้นสนามตั้งอยู่ในเวลส์ ในขณะที่อาคารสำนักงานของสโมสรอยู่ในอังกฤษ และเชสเตอร์ซิตีเองก็สังกัดอยู่กับสมาคมฟุตบอลอังกฤษ[7] อย่างไรก็ตาม การเจรจาไม่เป็นผลสำเร็จ เชสเตอร์ซิตีล้มละลายในเวลาต่อมา และเดอะนิวเซนส์ยังคงใช้สนามพาร์กฮอลล์ตามเดิมในฤดูกาลถัดมา
เดอะนิวเซนส์ชนะเลิศเวลช์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2009–10 และเข้าแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2010–11 ในรอบคัดเลือก โดยจับสลากได้พบกับโบฮีเมียนส์จากสาธารณรัฐไอร์แลนด์ซึ่งชนะเลิศลีกของไอร์แลนด์พรีเมียร์ดิวิชันในรอบคัดเลือกรอบที่สอง โดยถึงแม้ว่าการแข่งขันนัดแรกที่ดาลีเมาต์พาร์ก กรุงดับลิน โบฮีเมียนส์จะเอาชนะไปได้ 1–0 ในวันที่ 13 กรกฎาคม[8] แต่เดอะนิวเซนส์กลับมาเอาชนะได้ที่พาร์กฮอลล์ด้วยผล 4–0 และชนะด้วยผลประตูรวม 4–1 ซึ่งเป็นการชนะครั้งแรกในฟุตบอลถ้วยระดับทวีปนับตั้งแต่เข้าแข่งขันครั้งแรกใน ค.ศ. 1996[9] แพต เฟนลอน ผู้จัดการสโมสรโบฮีเมียนส์ได้ตำหนิผลงานของลูกทีมว่า "น่าอับอาย" และ "ทำให้สโมสร ลีก และประเทศเสียชื่อเสียง"[10] ซึ่งผลการแข่งขันครั้งนั้นถือเป็นหนึ่งในผลการแข่งขันฟุตบอลถ้วยยุโรปที่แย่ที่สุดของโบฮีเมียนส์ในรอบ 40 ปี[11] เดอะนิวเซนส์ผ่านเข้ารอบไปพบกับอันเดอร์เลคต์ซึ่งชนะเลิศจากเบลเจียนเฟิสต์ดิวิชัน เอ โดยแพ้ทั้งสองนัดด้วยผลรวม 6–1 และผ่านเข้าไปแข่งขันกับซีเอสเคเอ โซเฟียจากบัลแกเรียในรอบคัดเลือกยูโรปาลีกก่อนจะแพ้ด้วยผลรวม 5–2
ในฤดูกาลถัดมา เดอะนิวเซนส์ในฐานะรองชนะเลิศเวลช์พรีเมียร์ลีกได้ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือกยูโรปาลีก โดยเอาชนะคลิฟตันวิลล์จากไอร์แลนด์เหนือด้วยผลรวม 2–1 ในรอบแรกก่อนจะแพ้มีจือแลนจากเดนมาร์กด้วยผลรวม 8–3 ในรอบถัดมา
วันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2016 เดอะนิวเซนส์ชนะเคฟเวน ดรูอิดส์ 2–0 ซึ่งเป็นการชนะครั้งที่ 27 ติดต่อกัน และกลายเป็นสโมสรในลีกสูงสุดที่ชนะติดต่อกันมากที่สุดในโลก โดยทำลายสถิติเดิมของอายักซ์ที่ทำไว้ 26 นัดระหว่างทศวรรษ 1970[12] แต่สถิติของพวกเขาหยุดลงเพียง 27 นัดหลังจากที่เสมอกับนิวทาวน์ 3–3 ในการแข่งขันนัดถัดมา[13]
ฤดูกาล | การแข่งขัน | รอบ | คู่แข่งขัน | นัดแรก | นัดที่สอง | ผลรวม |
---|---|---|---|---|---|---|
1996–97 | ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ | QR | รุค คอร์ซุฟ | 1–1 (H)[a] | 0–5 (A) | 1–6 |
2000–01 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | เลวาเดีย ทาลลินน์ | 2–2 (H)[a] | 0–4 (A) | 2–6 |
2001–02 | ยูฟ่าคัพ | QR | ปอลอญญา วอร์ซอ | 0–4 (A) | 0–2 (H)[a] | 0–6 |
2002–03 | ยูฟ่าคัพ | QR | อามีกา วรอญกี | 0–5 (A) | 2–7 (H)[b] | 2–12 |
2003–04 | ยูฟ่าคัพ | QR | แมนเชสเตอร์ ซิตี | 0–5 (A) | 0–2 (H)[c] | 0–7 |
2004–05 | ยูฟ่าคัพ | 1Q | เอิสเต | 0–2 (A) | 1–2 (H)[a] | 1–4 |
2005–06 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | ลิเวอร์พูล | 0–3 (A) | 0–3 (H)[a] | 0–6 |
2006–07 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | แอ็มอือเปอา | 0–1 (A) | 0–1 (H)[b] | 0–2 |
2007–08 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | แวนต์สปิลส์ | 3–2 (H)[b] | 1–2 (A) | 4–4 (a) |
2008–09 | ยูฟ่าคัพ | 1Q | ซูดูวา มารียัมโปเล | 0–1 (A) | 0–1 (H)[b] | 0–2 |
ยูฟ่ายูโรปาลีก | 1Q | ฟราม เรคยาวิก | 1–2 (A) | 1–2 (H) | 2–4 | |
2010–11 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 2Q | โบฮีเมียนส์ | 0–1 (A) | 4–0 (H) | 4–1 |
3Q | อันเดอร์เลคต์ | 1–3 (H) | 0–3 (A) | 1–6 | ||
ยูฟ่ายูโรปาลีก | PO | ซีเอสเคเอ โซเฟีย | 0–3 (A) | 2–2 (H) | 2–5 | |
2011–12 | ยูฟ่ายูโรปาลีก | 1Q | คลิฟตันวิลล์ | 1–1 (H) | 1–0 (A) | 2–1 |
2Q | มีจือแลน | 1–3 (H) | 2–5 (A) | 3–8 | ||
2012–13 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 2Q | เฮลซิงบอร์ย | 0–0 (H) | 0–3 (A) | 0–3 |
2013–14 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 2Q | แลเกีย วอร์ซอ | 1–3 (H)[a] | 0–1 (A) | 1–4 |
2014–15 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 2Q | สลอวัน บราติสลาวา | 0–1 (A) | 0–2 (H) | 0–3 |
2015–16 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | เบ36 ทอร์สเฮาน์ | 2–1 (A) | 4–1 (H) | 6–2 |
2Q | วิเดโอตอน | 0–1 (H) | 1–1 (A) | 1–2 | ||
2016–17 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | เตรเปนเน | 2–1 (H) | 3–0 (A) | 5–1 |
2Q | อาโปเอล | 0–0 (H) | 0–3 (A) | 0–3 | ||
2017–18 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | ยูโรปา | 1–2 (H) | 3–1 (A) | 4–3 |
2Q | ริเยกา | 0–2 (A) | 1–5 (H) | 1–7 | ||
2018–19 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | ชเกนเดีย | 0–5 (A) | 4–0 (H) | 4–5 |
ยูฟ่ายูโรปาลีก | 2Q | ลิงคอล์น เรดอิมป์ส | 2–1 (H) | 1–1 (A) | 3–2 | |
3Q | มีจือแลน | 0–2 (H)[d] | 1–3 (A) | 1–5 | ||
2019–20 | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 1Q | เฟรอนีเกลี | 2–2 (H) | 1–0 (A) | 3–2 |
2Q | โคเปนเฮเกน | 0–2 (H) | 0–1 (A) | 0–3 | ||
ยูฟ่ายูโรปาลีก | 3Q | ลูโดโกเรตส์ รัซกราด | 0–5 (A) | 0–4 (H) | 0–9 | |
2020–21 | ยูฟ่ายูโรปาลีก | 1Q | เอ็มเอ็ชกา ชิลินา | 3–1 (ต่อเวลา) (H) | — | — |
2Q | เบ36 ทอร์สเฮาน์ | 2–2 (ลูกโทษ 4–5) (A) | — | — | ||
2021–22 | ยูฟ่าคอนเฟอเรนซ์ลีก | 1Q | เกลนโทรัน | 1–1 (A) | 2–0 (H) | 3–1 |
2Q | เคานอ ฌัลกิริส | 5–0 (A) | 5−1 (H) | 10−1 | ||
3Q | วิกตอเรีย เปิลเซน | 4–2 (H) | 1–3 (ต่อเวลา) (A) | 5–5 (ลูกโทษ 1–4) |
การแข่งขัน | แข่งขัน | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ประตูได้ | ประตูเสีย | ผลต่าง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | 33 | 9 | 4 | 20 | 34 | 58 | −24 |
ยูฟ่าคัพและยูฟ่ายูโรปาลีก | 20 | 2 | 3 | 15 | 15 | 51 | −36 |
ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ | 2 | 0 | 1 | 1 | 1 | 6 | −5 |
รวม | 55 | 11 | 8 | 36 | 50 | 115 | –65 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.