Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สโมสรฟุตบอลฟูลัม (อังกฤษ: Fulham Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพจากอังกฤษ ตั้งอยู่ที่ฟูลัมในกรุงลอนดอน พวกเขาลงแข่งขันในพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2022–23 หลังจากที่เลื่อนชั้นจากอีเอฟแอลแชมเปียนชิปในฤดูกาลก่อนหน้า สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1879 ถือได้ว่าเป็นสโมสรฟุตบอลจากลอนดอนที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงแข่งขันในระบบอาชีพ[4]
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลฟูลัม | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | The Cottage เจ้าสัวน้อย (ภาษาไทย) | |||
ก่อตั้ง | 1879[1] | (ในฐานะ St Andrews Cricket & Football Club)|||
สนาม | เครเวนคอตทิจ ลอนดอน | |||
ความจุ | 19,359 ที่นั่ง[2] | |||
เจ้าของ | ชาฮีด ข่าน[3] | |||
ประธาน | ชาฮีด ข่าน[3] | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | มาร์กู ซิลวา | |||
ลีก | พรีเมียร์ลีก | |||
2023–24 | พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 13 จาก 20 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
| ||||
สโมสรได้ลงเล่นในลีกสูงสุดของอังกฤษถึง 27 ฤดูกาล โดยช่วงเวลาที่สโมสรได้ลงเล่นบนลีกสูงสุดเกิดขึ้นในทศวรรษ 1960 และ 2000 เป็นส่วนใหญ่ ประวัติศาสตร์ของสโมสรในช่วงหลังมีความเกี่ยวข้องกับโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด อดีตประธานสโมสรชาวอียิปต์ซึ่งได้มอบเงินลงทุนจำนวนมหาศาลในการซื้อนักเตะเข้าทีมทำให้ทีมไต้เต้าขึ้นมาจากลีกระดับที่สี่ในทศวรรษ 1990 ฟูลัมได้เข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญถึงสองครั้ง ได้แก่ เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ 1975 ที่พวกเขาพ่ายแพ้ต่อเวสต์แฮมยูไนเต็ด และยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2010 ที่พวกเขาแพ้อัตเลติโกมาดริดในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2–1
คู่ปรับสำคัญของฟูลัมได้แก่สโมสรที่ตั้งอยู่ในลอนดอนตะวันตกด้วยกันอย่างเชลซี ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ และเบรนต์ฟอร์ด ฟูลัมใช้เสื้อเชิ้ตสีขาวและกางเกงสีดำเป็นชุดเหย้ามาตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน [5]
ในฤดูกาล 2002–03 ฟูลัมได้รับการสนับสนุนโดยเบ็ตแฟร์ซึ่งถือเป็นบริษัทการพนันแห่งแรกที่สนับสนุนสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ ต่อมาพระราชบัญญัติการพนัน ค.ศ. 2005 ได้อนุญาตให้บริษัทการพนันสามารถโฆษณาผ่านช่องทางโทรทัศน์และวิทยุได้ ทำให้ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ครึ่งหนึ่งของทีมในพรีเมียร์ลีกมีบริษัทการพนันเป็นผู้สนับสนุน[6][7]
วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 มีการประกาศว่าเวิลด์โมบายล์จะเป็นผู้สนับสนุนหลักของสโมสรในระยะเวลาอีกสามปี[8]
ช่วงปี | ผู้ผลิตชุด | ผู้สนับสนุนบนชุดแข่ง |
---|---|---|
1974–1977 | อัมโบร | ไม่มี |
1977–1981 | อาดิดาส | |
1981–1984 | ออสกา | |
1984–1985 | อัมโบร | วิลเลียม ยังเกอร์ |
1985–1987 | เพรสทีจทราเวล | |
1987 | สกอร์ไลน์ | ไม่มี |
1988 | เอมิเรตส์ | |
1988–1990 | เทเลคอนเนกต์ | |
1990–1991 | ริเบโร | |
1991–1992 | ไม่มี | |
1992–1993 | ดีเอ็มเอฟสปอร์ตสแวร์ | |
1993–1996 | แวนดาเนล | จีเอ็มบี |
1996–1997 | เลอ ค็อก สปอร์ต | |
1997–1998 | อาดิดาส | |
1998–2001 | ดีมอนอินเตอร์เน็ต | |
2001–2002 | พิซซ่าฮัท | |
2002–2003 | เบตแฟร์.คอม | |
2003–2005 | พูมา | แดบส์.คอม |
2005–2006 | ไพเพ็กซ์ | |
2006–2007 | แอร์เนสส์ | |
2007–2010 | ไนกี้ | แอลจี |
2010–2013 | แคปปา | เอฟเอ็กซ์โปร |
2013–2015 | อาดิดาส | มาราทอนเบต |
2015–2017 | วิสิตฟลอริดา | |
2017–2018 | กรอสเวเนอร์คาสิโนส์ | |
2018–2020 | ดาฟาเบต | |
2020–2021 | เบ็ตวิกเทอร์ | |
2021–2022 | เวิลด์โมบาย | |
2022–2023 | ดับเบิลยู88 | |
2023– | เอสบีโอเบท |
ตำแหน่ง | ชื่อ |
---|---|
ผู้จัดการทีม | มาร์กู ซิลวา |
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม | สจวต เกรย์ |
ผู้ฝึกสอนทีมชุดแรก | Luis Boa Morte |
ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู | Hugo Oliveira |
ผู้ฝึกสอนฟิตเนส | Goncalo Pedro |
นักวิเคราะห์ทีมชุดแรก | Antonios Lemonakis |
หัวหน้าฝ่ายผลงาน | Bruno Mendes |
ผู้อำนวยการทีมเยาวชน | ไมก์ เคฟ |
ผู้ฝึกสอนทีมชุดอายุไม่เกิน 23 ปี | Steve Wigley |
ผู้ฝึกสอนทีมชุดอายุไม่เกิน 18 ปี | Ali Melloul |
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
ฟูลัมเป็นสมาชิกของสมาคมสโมสรยุโรป พวกเขาเคยเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยุโรปถึงสี่ครั้ง ครั้งแรกได้เข้าร่วมในยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากฤดูกาลแรกที่พวกเขาได้ลงเล่นในพรีเมียร์ลีก ต่อมาพวกเขาได้เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่าคัพจากการชนะเลิศอินเตอร์โตโตคัพ และพวกเขายังได้เข้าร่วมแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีกอีกสองครั้งด้วย ฟูลัมไม่เคยแพ้ใครในบ้านในการแข่งขันระดับทวีป โดยพวกเขาชนะ 17 นัดและเสมอ 6 นัดจากการลงเล่นในบ้านทั้งหมด 23 นัด ใน ค.ศ. 2010 ฟูลัมสามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศยูโรปาลีก ซึ่งพวกเขาแพ้ให้กับอัตเลติโกมาดริด 2–1
แฟนสโมสรฟุตบอลฟูลัมมองว่าเชลซีเป็นคู่ปรับที่สำคัญของพวกเขา แม้ว่าทั้งคู่จะไม่ได้พบกันบ่อยนักเนื่องจากฟูลัมมีช่วงเวลาที่ไม่ได้ลงเล่นบนลีกสูงสุด สนามเหย้าของเชลซี สแตมฟอร์ดบริดจ์ ก็ตั้งอยู่ในเขตฟูลัมและห่างจากเครเวนคอตทิจเพียง 1.8 ไมล์เท่านั้น
คู่ปรับสำคัญลำดับที่สองคือ ควีนส์พาร์กเรนเจอส์ โดยฟูลัมสามารถเอาชนะคิวพีอาร์ได้ทั้งไปและกลับในฤดูกาล 2011–12 เริ่มต้นด้วยการเปิดสนามเครเวนคอตทิจเอาชนะไปได้ 6–0 ตามด้วยการบุกไปเอาชนะ 1–0 ที่ลอฟตัสโรด[11] ทั้งคู่ต่างเคยพบกันหลายครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแชมเปียนชิป
คู่ปรับสำคัญลำดับที่สามคือ เบรนต์ฟอร์ด ซึ่งฟูลัมสามารถเอาชนะไปได้ 2–1 ในการแข่งขันชิงชนะเลิศเพลย์ออฟแชมเปียนชิปเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 2020 คู่ปรับอื่น ๆ ของสโมสรภายในลอนดอน ได้แก่ คริสตัลพาเลซ
นอกเหนือจากสโมสรในลอนดอนแล้ว จิลลิงงัมก็ถือเป็นอีกหนึ่งสโมสรคู่ปรับสำคัญ แม้ว่าทั้งสองสโมสรจะไม่ได้ลงเล่นในลีกระดับเดียวกันมาตั้งแต่ฤดูกาล 2000–01 แต่เมื่อใดที่ทั้งคู่พบกัน ก็มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ดุเดือดอยู่เสมอ ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตของแฟนฟูลัมด้วย[12]
ฟูลัมมีผู้จัดการทีมทั้งหมด 37 คนในช่วงเวลา 114 ปี ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งผู้จัดการทีมคนแรก (แบรดชอว์ใน ค.ศ. 1904) ตำแหน่งนี้จะถูกมอบหมายให้แก่บุคคลที่ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเลขานุการสโมสร กัปตันทีม และเจ้าหน้าที่สโมสรคนอื่น ๆ
ชื่อ | ตั้งแต่ | ถึง |
---|---|---|
แฮร์รี แบรดชอว์ | 1904 | 1909 |
Phil Kelso | 1909 | 1924 |
Andy Ducat | 1924 | 1926 |
Joe Bradshaw | 1926 | 1929 |
Ned Liddell | 1929 | 1931 |
Jimmy McIntyre | 1931 | 1934 |
Jimmy Hogan | 1934 | 1935 |
Jack Peart | 1935 | 1948 |
Frank Osborne* | 1948 | 1949 |
Bill Dodgin, Sr. | 1949 | 1953 |
Frank Osborne* | 1953 | 1956 |
Doug Livingstone | 1956 | 1958 |
Bedford Jezzard | 1958 | 1964 |
Vic Buckingham | 1965 | 1968 |
Bobby Robson | 1968 | 1968 |
Bill Dodgin, Jr. | 1969 | 1972 |
Alec Stock | 1972 | 1976 |
Bobby Campbell | 1976 | 1980 |
Malcolm Macdonald | 1980 | 1984 |
Ray Harford | 1984 | 1986 |
Ray Lewington | 1986 | 1990 |
Alan Dicks | 1990 | 1991 |
Don Mackay | 1991 | 1994 |
Ian Branfoot** | 1994 | 1996 |
Micky Adams | 1996 | 1997 |
Ray Wilkins | 1997 | 1998 |
เควิน คีแกน† | 1998 | 1999 |
Paul Bracewell | 1999 | 2000 |
Jean Tigana | 2000 | 2003 |
Chris Coleman | 2003 | 2007 |
Lawrie Sanchez | 2007 | 2007 |
รอย ฮอดจ์สัน | 2007 | 2010 |
มาร์ก ฮิวส์ | 2010 | 2011 |
มาร์ติน โยล | 2011 | 2013 |
René Meulensteen§± | 2013 | 2014 |
เฟลิคส์ มากัท | 2014 | 2014 |
Kit Symons | 2014 | 2015 |
สลาวิชา ยอกานอวิช± | 2015 | 2018 |
เกลาดีโอ รานีเอรี | 2018 | 2019 |
สก็อต พาร์กเกอร์± | 2019 | 2021 |
มาร์กู ซิลวา± | 2021 |
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.