สโมสรฟุตบอลจังหวัดสมุทรสาคร หรือ ไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร เอฟซี เป็นอตีดสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในการแข่งขันไทยลีก 2 ฤดูกาล 2563–64 สโมสรต้องตกชั้นจากไทยลีก 2 ไปเล่นในไทยลีก 3 แต่ต่อมาถูกสมาคมฟุตบอลฯ ปรับให้ไปเล่นใน ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก แทนเนื่องจากไม่ผ่าน "คลับ ไลเซนซิ่ง" (Club Licensing) เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ด้านการเงิน [1]
ชื่อเต็ม | ไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร เอฟซี | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | สำเภาผยอง | |||
ก่อตั้ง | 2010 (ในชื่อ สมุทรสาคร เจ.เค.) | |||
สนาม | สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร | |||
ความจุ | 3,000 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | บริษัท สมุทรสาคร ฟุตบอล คลับ จำกัด | |||
ประธาน | กิระวิศว์ พิทยภูวนันท์ | |||
ผู้จัดการ | ธนบวร สิริคุณากรกุล | |||
ผู้ฝึกสอน | ชยพล คชสาร | |||
ลีก | ไทยแลนด์ อเมเจอร์ลีก | |||
2563–64 | อันดับ 18, ไทยลีก 2 (ตกชั้น) | |||
| ||||
ประวัติสโมสร
ยุคเริ่มต้น
ในช่วงแรกสโมสรฟุตบอลในจังหวัดสมุทรสาคร ยังมีแค่สโมสรฟุตบอลระดับสมัครเล่น ได้แก่ สโมสรสพล. สมุทรสาคร และสโมสรฟุตบอลโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ที่ในช่วงเวลานั้นยังลงแข่งขันในระดับฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ส่วนสโมสรฟุตบอลในระดับลีกอาชีพก็มีเพียงสโมสรฟุตบอลของโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง อย่างทีทีเอ็ม สมุทรสาคร ซึ่งเคยมาใช้สนามกีฬาในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นสนามเหย้าในการแข่งขันไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2552
ต่อมาเมื่อสโมสรทีทีเอ็ม สมุทรสาคร ได้ย้ายไปใช้สนามเหย้าที่จังหวัดพิจิตร ทำให้นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ นายก อบจ.สมุทรสาคร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรสาครในขณะนั้น มีแนวคิดจัดตั้งสโมสรฟุตบอลอาชีพของจังหวัดสมุทรสาครขึ้นมาในปี พ.ศ. 2553
หลังจากเกิดแนวคิดดังกล่าว จึงก่อตั้ง สโมสรฟุตบอลสมุทรสาคร เอฟซี ขึ้น โดยได้รับงบประมาณหลักจากสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีนายกิจ มีศรีสุข อดีตโค้ชของ ทีทีเอ็ม เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนแรก และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันอย่างเป็นทางการในลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ภาคกลางและภาคตะวันออก ฤดูกาล 2553 โดยใช้สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร เป็นสนามเหย้า ซึ่งในการแข่งขันฤดูกาลแรกนี้ สโมสรได้ใช้ชื่อในการแข่งขันตามผู้สนับสนุนว่า สมุทรสาคร เจ.เค. และจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 5 รวมถึงได้มีโอกาสลงแข่งขันในฟุตบอลถ้วยรายการสำคัญอย่างไทยเอฟเอคัพ และไทยลีกคัพ
ฤดูกาล 2554 สโมสรได้ย้ายสนามเหย้าของทีมจากสนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร มาใช้สนามกีฬา อบจ.สมุทรสาคร ซึ่งมีความจุมากกว่า นอกจากนี้ยังเปลี่ยนหัวหน้าผู้ฝึกสอนเป็นนราศักดิ์ บุญเกลี้ยง โดยทีมมีผลงานดีขึ้นจนสามารถทำอันดับได้ใกล้เคียงกับการได้ไปแข่งขันรอบแชมเปียนส์ลีก โดยจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 3 และมีคะแนนตามหลังอันดับ 2 ซึ่งเป็นพื้นที่แชมเปียนส์ลีก 6 คะแนน
อย่างไรก็ตามในช่วงระหว่างฤดูกาล 2554 ได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในระหว่างการแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ที่สนามกีฬา อบจ.สมุทรสาคร ระหว่างสมุทรสาคร เอฟซี และอ่างทอง เอฟซี โดยผู้เล่นของทั้งสองทีม รวมถึงเจ้าหน้าที่และผู้เล่นสำรองได้ก่อเหตุทะเลาะวิวาทกันในช่วงระหว่างการแข่งขัน นอกจากนี้หลังจบการแข่งขันที่เสมอกัน 1–1 แฟนบอลของทั้งสองสโมสรยังเข้าตะลุมบอนกันจนเกิดความวุ่นวายขึ้น ซึ่งต่อมาจากเหตุดังกล่าวทำให้ มนตรี สาระแสน ผู้เล่นตำแหน่งกองกลางของสโมสรถูกลงโทษห้ามลงแข่งขันจนจบฤดูกาล และอานนท์ วงศ์จันทะ อีกหนึ่งผู้เล่นของสโมสรในตำแหน่งกองหลัง ถูกลงโทษห้ามลงแข่งขัน 6 นัด ส่วนสโมสรถูกฝ่ายจัดการแข่งขันปรับเงินพร้อมทั้งถูกลงโทษห้ามลงแข่งในสนามเหย้า 2 นัดจากเหตุความวุ่นวายที่เกิดขึ้น[2]
เหตุประธานสโมสรถูกฆาตกรรม
หลังการแข่งขันฤดูกาล 2554 จบลง ได้เกิดเหตุที่ทำให้เป็นข่าวตามสื่อทั่วทั้งประเทศขึ้น โดยในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ที่ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ นายก อบจ.สมุทรสาคร ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลสมุทรสาคร เอฟซี ในขณะนั้น ถูกอาวุธปืนยิงเข้าที่ศีรษะถึง 10 นัด และเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ[3]
ต่อมาวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ผู้ก่อเหตุได้เดินทางมามอบตัวสู้คดี โดยคดีถึงที่สุดในชั้นศาลฎีกา โดยศาลได้พิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดจำเลยตลอดชีวิต และชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 13 ล้านบาท[4]
โดยหลังจากนายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ เสียชีวิต ทำให้ตำแหน่งประธานสโมสรว่างลง ต่อมานายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ น้องชายของนายอุดร ที่ในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรสาคร ได้ขึ้นเป็นประธานสโมสรชั่วคราวในฤดูกาล 2555
ท่ามกลางความวุ่นวายที่เกิดขึ้น สโมสรยังคงส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2555 โดยทำการย้ายมาแข่งขันในโซนกรุงเทพและปริมณฑล และเนื่องจากปัญหาสภาพความพร้อมของทีมจึงไม่ได้ส่งทีมเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลถ้วยทั้งรายการไทยเอฟเอคัพ และไทยลีกคัพ เหมือนเช่น 2 ฤดูกาลที่ผ่านมา
ฤดูกาล 2556–2558
ฤดูกาล 2556 นายพลธนวิทย์ เจตสิทธิ์ ได้เข้ามาเป็นประธานสโมสรคนใหม่ โดยใช้ชื่อในการลงแข่งขันตามชื่อผลิตภัณฑ์ของผู้สนับสนุนหลักว่า เจนิฟู้ด สมุทรสาคร เอฟซี และย้ายมาลงแข่งขันในดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางและตะวันตก แต่หลังจากเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรได้เพียงแค่ 4 เดือนนายพลธนวิทย์ ก็ลาออกจากตำแหน่งและคืนสิทธิในการบริหารให้กับสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดสมุทรสาคร[5] โดยในฤดูกาล 2556 สโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 8
ฤดูกาล 2557 สโมสรเปลี่ยนประธานสโมสรอีกครั้ง โดยได้นายกิระวิศว์ พิทยภูวนันท์ เข้ามาเป็นประธานสโมสร
ฤดูกาล 2562
ฤดูกาล 2562 วันที่ 17 ธันวาคม 2561 นายกิระวิศว์ พิทยภูวนันท์ ประธานสโมสรฟุตบอลไทยยูเนี่ยน สมุทรสาคร เอฟซี หรือ ทีมสำเภาผยอง แถลงข่าวเปิดตัวผู้บริหารสโมสรชุดใหม่ ณ สนามกีฬากลางจังหวัดสมุทรสาคร โดยมี นายธนบวร สิริคุณากรกุล รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการสโมสรฯ และนายยศกร ศิลาเกษ รับตำแหน่ง ผู้จัดการทีม[6][7][8][9]
สถิติต่างๆของสโมสร
- อันดับที่ดีที่สุดในลีก
- อันดับ 1 :ไทยลีก 3 ฤดูกาล 2560 (ตอนล่าง)
- อันดับที่ต่ำที่สุดในลีก
- อันดับ 8 :ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 ฤดูกาล 2556 (ภาคกลางตะวันตก)
- ผลงานดีที่สุดในไทยเอฟเอคัพ
- รอบ 32 ทีมสุดท้าย (ฤดูกาล 2553, 2558, 2559, 2560)
- ผลงานดีที่สุดในไทยลีกคัพ
- รอบ 32 ทีมสุดท้าย (ฤดูกาล 2557)
- ลงแข่งขันในลีกนัดแรก
- สมุทรสาคร เจ.เค. 2–0 นครนายก เอฟซี (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 , ลีกภูมิภาค ดิวิชัน 2 , สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร)[10]
- ลงแข่งขันไทยเอฟเอคัพนัดแรก
- สมุทรสาคร เจ.เค. 5–1 ม.วงษ์ชวลิตกุล (17 มีนาคม พ.ศ. 2553 ,ไทยคม เอฟเอคัพ 2553 รอบแรก ,สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร)
- ลงแข่งขันไทยลีกคัพนัดแรก
- ราชบุรี เอฟซี 2–0 สมุทรสาคร เจ.เค. (11 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ,โตโยต้า ลีกคัพ 2553 รอบคัดเลือก)
- ผู้เล่นที่ยิงประตูได้เป็นคนแรกของสโมสร
- บรรลือศักดิ์ ยอดยิ่งยง (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 : สมุทรสาคร เจ.เค. 2–0 นครนายก เอฟซี, ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2)[11]
- ผู้เล่นคนแรกที่ยิงประตูได้ในไทยเอฟเอคัพ
- ธงชัย โพธิ์นาง (17 มีนาคม พ.ศ. 2553 : สมุทรสาคร เจ.เค. 5–1 ม.วงษ์ชวลิตกุล, ไทยคม เอฟเอคัพ 2553 รอบแรก)
- ผู้เล่นที่ทำแฮตทริกได้เป็นคนแรก
- สุเทพ หนักแน่น (17 มีนาคม พ.ศ. 2553 : สมุทรสาคร เจ.เค. 5–1 ม.วงษ์ชวลิตกุล, ไทยคม เอฟเอคัพ 2553 รอบแรก)[12]
สถิติตามฤดูกาล
ฤดูกาล | ลีก | เอฟเอ คัพ | ลีกคัพ | ผู้ทำประตูสูงสุด | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ระดับลีก | ชื่อลีก | ภูมิภาค/โซน | ก | ช | ส | พ | ด | ส | แต้ม | อันดับ | ชื่อ | ประตู | |||
2553 | 3 | ดิวิชัน 2 | กลางตะวันออก | 30 | 13 | 12 | 5 | 51 | 34 | 51 | 5 | รอบสาม 32ทีม |
รอบแรก | สมรักษ์ รัศมี | 24[ลิงก์เสีย] |
2554 | 3 | ดิวิชั่น 2 | กลางตะวันออก | 30 | 17 | 9 | 4 | 43 | 27 | 60 | 3 | รอบสาม 36ทีม |
รอบแรก | แก้ว ซกง่อน | 8 |
2555 | 3 | ดิวิชัน 2 | กรุงเทพและปริมณฑล | 34 | 18 | 8 | 8 | 44 | 29 | 62 | 5 | ไม่ได้เข้าร่วม | ไม่ได้เข้าร่วม | โอเยโวล เยมี โจเซฟ | 7 |
2556 | 3 | ดิวิชั่น 2 | กลางตะวันตก | 24 | 8 | 9 | 7 | 30 | 35 | 33 | 8 | รอบสอง 46ทีม |
รอบคัดเลือก รอบแรก |
||
2557 | 3 | ดิวิชั่น 2 | กลางตะวันตก | 26 | 14 | 6 | 6 | 38 | 29 | 48 | 4 | รอบสอง 68ทีม |
รอบสอง | ||
2558 | 3 | ดิวิชั่น 2 | กลางตะวันตก | 24 | 16 | 4 | 4 | 42 | 16 | 52 | 1 | รอบสาม 32ทีม |
รอบคัดเลือก รอบสุดท้าย |
||
แชมเปียนส์ลีก | 8 | 2 | 2 | 6 | 7 | 14 | 8 | 5 | |||||||
2559 | 3 | ดิวิชั่น 2 | ตะวันตก | 22 | 13 | 4 | 5 | 29 | 22 | 43 | 1 | รอบสาม 32ทีม |
รอบแรก | อาริว เช็ค | 14 |
แชมเปียนส์ลีก | 4 | 3 | 0 | 1 | 6 | 2 | 9 | 5/8 | |||||||
2560 | 3 | ไทยลีก 3 | ตอนล่าง | 28 | 20 | 5 | 3 | 56 | 25 | 65 | 1 | รอบสอง 32ทีม |
ไม่ได้เข้าร่วม | ||
2561 | 2 | ไทยลีก 2 | 28 | 8 | 10 | 10 | 34 | 46 | 34 | 6 | รอบสอง 32ทีม |
ไม่ได้เข้าร่วม | |||
2562 | 2 | ไทยลีก 2 | 34 | 8 | 10 | 16 | 43 | 71 | 34 | 13 | รอบ 64 ทีม | รอบเพลย์ออฟ | |||
2563-64 | 2 | ไทยลีก 2 | 34 | 2 | 5 | 27 | 25 | 119 | 11 | 18 | ไม่ได้เข้าร่วม | ยกเลิกการแข่งขัน | วัชรพล โพธิ์ถนอม | 4 |
ชนะเลิศ | รองชนะเลิศ | เลื่อนชั้น | ตกชั้น |
ผลงานในอดีต
ปี 2552 : ชนะเลิศ ชุมแพ คัพ
ปี 2553 : อันดับที่ 5 ดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางและภาคตะวันออก ฤดูกาล 2010
ปี 2554 : อันดับที่ 3 ดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางและภาคตะวันออก ฤดูกาล 2011
ปี 2555 : อันดับที่ 5 ดิวิชั่น 2 โซนภาคกรุงเทพมหานครและภาคปริมณฑล ฤดูกาล 2012
ปี 2556 : อันดับที่ 8 ดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางและภาคตะวันตก ฤดูกาล 2013
ปี 2557 : อันดับที่ 4 ดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางและภาคตะวันตก ฤดูกาล 2014
ปี 2558 : อันดับที่ 1 ดิวิชั่น 2 โซนภาคกลางและภาคตะวันตก ฤดูกาล 2015 (Champion)
ปี 2559 : อันดับที่ 1 ดิวิชั่น 2 โซนภาคตะวันตก ฤดูกาล 2016 (Champion)
คณะผู้ฝึกสอน
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
รายชื่อผู้ฝึกสอน
ผู้ฝึกสอนตามฤดูกาล (2553–ปัจจุบัน)
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.