คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สินค้าอันตราย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สินค้าอันตราย (อังกฤษ: Dangerous Goods)[1]เป็นสินค้าที่อยู่ระหว่างการขนส่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสี่ยหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม รวมมถึงภาพลักษณ์ ซึ่งมีสมบัติตามลักษณะความเสี่ยง 9 ประเภทที่กำหนดโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ (Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods) การกำหนดลักษณะความเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบมาตรการจำกัดความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าอันตรายในแต่ละรูปแบบ และได้ออกเอกสารข้อเสนอแนะสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย (UN Recommendations on the Transport of Dangerous Goods - Model Regulations) ซึ่งเป็นแนวทางในการออกข้อกำหนดของสินค้าอันตรายในรูปแบบการขนส่งต่างๆ ในทางสากล

Remove ads
การจำแนกประเภทและฉลาก
สรุป
มุมมอง
ประเภท 1: วัตถุระเบิด
- 1.1 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการระเบิดทั้งมวล
- 1.2 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการพุ่งกระเด็นแต่จะไม่ระเบิดทั้งมวล
- 1.3 สารหรือสิ่งของที่มีอันตรายจากการติดไฟและมีการระเบิดหรือพุ่งกระเด็นหรือทั้งสองอย่างแต่จะไม่ระเบิดทั้งมวล
- 1.4 สารหรือสิ่งของที่ไม่สามารถระบุลักษณะการระเบิดได้ชัดเจน
- 1.5 สารที่ไม่มีความไวต่อการระเบิดและมีอันตรายจากการระเบิดทั้งมวล
- 1.6 สารที่ไม่มีความไวต่อการระเบิดและไม่มีการระเบิดทั้งมวล
ประเภท 2: ก๊าซ
- 2.1 ก๊าซไวไฟ
- 2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่มีพิษ
- 2.3 ก๊าซพิษ
|
|
| |||||||||
|
|
ประเภท 3: ของเหลวไวไฟ
- กลุ่มที่ 1 จุดเดือดเริ่มต้นของ 35 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า ที่ความดันสัมบูรณ์ 101.3 kPa และ จุดวาบไฟที่เท่าใดก็ตาม เช่น ไดเอทิลอีเทอร์ หรือ คาร์บอนไดซัลไฟด์
- กลุ่มที่ 2 จุดเดือดเริ่มต้นมากกว่า 35 องศาเซลเซียส ที่ความดันสัมบูรณ์ 101.3 kPa และ จุดวาบไฟน้อยกว่า 23 องศาเซลเซียส เช่น น้ำมันเบนซิน และ อะซิโตน
- กลุ่มที่ 3 นอกเหนือจากเกณฑ์ในกลุ่มที่ 1 หรือที่ 2 เช่น น้ำมันก๊าด และ น้ำมันดีเซล
|
|
| |||||||||
|
ประเภท 4: ของแข็งไวไฟ
- 4.1 ของแข็งไวไฟ สารที่เป็นของแข็งที่จุดติดไฟและลุกติดไฟได้ง่าย เช่น ไนโตรเซลลูโลส, แมกนีเซียม
- 4.2 มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง สารที่เป็นของแข็งที่จุดไฟได้เอง เช่น อะลูมิเนียมอัลคิล, ฟอสฟอรัสขาว
- 4.3 อันตรายเมื่อสัมผัสน้ำ สารที่เป็นของแข็งที่ไวไฟเมื่อเปียกหรือทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ เช่น โซเดียม, แคลเซียม, โพแทสเซียม, แคลเซียมคาร์ไบด์
|
|
|
ประเภท 5: สารออกซิไดส์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์
- 5.1 สารออกซิไดซ์อื่นที่ไม่ใช่สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ เช่น แคลเซียมไฮโพคลอไรต์, แอมโมเนียมไนเตรต, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์, โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต
- 5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ ทั้งในรูปของเหลวหรือของแข็ง เช่น เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์, คิวมีนไฮโดรเปอร์ออกไซด์
|
|
ประเภท 6: สารพิษและสารติดเชื้อ
- 6.1a สารพิษที่อาจทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บสาหัสต่อสุขภาพของมนุษย์หาก สูดดม กลืนกิน หรือดูดซึมทางผิวหนัง เช่น โพแทสเซียม ไซยาไนด์, เมอร์คิวริก คลอไรด์
- 6.1b (ปัจจุบันคือ PGIII) สารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ (หมายเหตุ : สัญลักษณ์นี้ไม่ได้รับอนุญาตจากสหประชาชาติอีกต่อไป) เช่น สารกำจัดศัตรูพืช, เมทิลีนคลอไรด์
- 6.2 สารอันตรายทางชีวภาพ องค์การอนามัยโลก (WHO) แบ่งกลุ่มนี้ออกเป็นสองประเภทคือ หมวด A: ติดเชื้อ และ หมวด B: ตัวอย่าง เช่น การเพาะไวรัส, ตัวอย่างพยาธิวิทยา, เข็มฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ
|
|
ประเภท 7: วัตถุกัมมันตรังสี
|
ประเภท 8: สารกัดกร่อน
- 8.1 กรด เช่น กรดซัลฟิวริก, กรดไฮโดรคลอริก
- 8.2 แอลคาไลน์ เช่น โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์, โซเดียมไฮดรอกไซด์
|
ประเภท 9: สารอันตรายเบ็ดเตล็ดและสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
สารอันตรายที่ไม่จัดอยู่ในประเภทอื่น เช่น แร่ใยหิน, ลูกแก๊สถุงลมนิรภัย, แพชูชีพแบบเป่าลมเอง, น้ำแข็งแห้ง
|
Remove ads
บัญชีรายชื่อสินค้าอันตราย
ในข้อเสนอแนะสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายจะมีการกำหนดบัญชีรายชื่อของสินค้าอันตรายในส่วนที่ 3 ซึ่งจะประกอบด้วยข้อมูลหลักในการบ่งชี้ข้อมูลของสินค้าอันตรายแต่ละรายการตามข้อมูลหลัก 5 ข้อมูล ดังนี้
- หมายเลขสหประชาชาติ (UN number)
- ชื่อที่ถูกต้องทางการขนส่ง (Proper Shipping name)
- ประเภทสินค้าอันตราย (Class)
- ความอันตรายรอง (Subsidiary hazard)
- กลุ่มการบรรจุ (Packing Group)
ในบัญชีรายชื่อสินค้าอันตรายจะมีการบรรจุข้อเสนอแนะในการขนส่งสินค้าอันตรายแต่ละหมายเลขสหประชาชาติ ได้แก่ ข้อเสนอแนะพิเศษ ปริมาณจำกัดและปริมาณยอมรับ การใช้บรรจุภัณฑ์และ IBC การใช้แท็งก์
Remove ads
ปริมาณจำกัดและปริมาณยกเว้น
ปริมาณจำกัด (Limited Quantities) เป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปริมาณของสินค้าอันตรายที่ประเมินได้ว่ามีความเสี่ยงต่ำในการขนส่ง ทั้งนี้ ปริมาณของสินค้าอันตรายที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้นจะมีผลกับระดับความเสี่ยงซึ่งจะถูกกำหนดให้มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละ UN number ตามแต่ระดับความรุนแรงหรือความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป สินค้าอันตรายที่ขนส่งในเงื่อนไข Limited Quantities นี้ จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะบางประการ
ปริมาณยกเว้น (Excepted Quantities) สินค้าอันตรายที่มีการจัดการบรรจุในเงื่อนไข Excepted Quantities จะได้รับการยกเว้นในการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ UN แต่ยังคงจะต้องปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในเรื่องการฝึกอบรม การระบุลักษณะความเสี่ยง และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบรรจุ ในการระบุเงื่อนไขปริมาณยอมรับในแต่ละ UN จะแบ่งเป็น 6 ระดับ (E0, E1,E2,E3,E4 และ E5) ตามปริมาณที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ภายในและผลรวมของปริมาณในบรรจุภัณฑ์ภายนอก
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads