Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นรธาเมงสอ[3] หรือ นรทามางจอ[4] (พม่า: နော်ရထာ မင်းစော, ออกเสียง: [nɔ̀jətʰà mɪ́ɰ̃ sɔ́] นอยะทามี่นซอ) หรือ สาวัตถีนรถามังคะยอ[5] (ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่) หรือ เมงซานรธามังคุย[6] (พงศาวดารโยนก) พระนามเดิมว่ามังสาจัจ (မင်းသားစစ်)[ต้องการอ้างอิง] เป็นพระเจ้าเชียงใหม่ผู้ปกครองแคว้นล้านนา ในช่วง พ.ศ. 2121–2150 (29 ปี) พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนองกับพระนางราชเทวีแห่งหงสาวดี ที่ส่งมาปกครองล้านนา จนกระทั่ง พ.ศ. 2127 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงประกาศอิสรภาพจากพม่า จึงทรงพยายามรวบรวมแผ่นดินอีกครั้ง พระองค์ทรงตีแคว้นล้านนาได้ทั้งหมด นรธาเมงสอต่อสู้มิได้ จึงทรงยอมสวามิภักดิ์เป็นประเทศราชในปี พ.ศ. 2139 แต่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงให้นรธาเมงสอปกครองต่อไป อย่างไรก็ตาม พระองค์ได้ถวายพระธิดาเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย โดยปรากฏในโคลงบทที่ 21 ความว่า
นอเรศขอเจื่องเจ้า | สาวกระสัตร | |
เทียมแท่นเสวยสมบัติ | โกถเคล้า | |
แล้วเล่าลูกชายถัด | เป็นแขก เขรยเอย | |
หวังว่าจักบางเส้า | เล่าซ้ำแถมถม ฯ[7] |
นรธาเมงสอ | |
---|---|
พระเจ้าเชียงใหม่ ภายใต้การปกครองของพม่า | |
ครองราชย์ | 28 มกราคม พ.ศ. 2122 – 2150 |
ราชาภิเษก | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2122 |
ก่อนหน้า | พระนางวิสุทธิเทวี |
ถัดไป | พระช้อย |
ประสูติ | พ.ศ. 2094/5 ตองอู |
พิราลัย | พ.ศ. 2150 เวียงเชียงใหม่ แคว้นล้านนา |
ฝังพระศพ | วัดกู่เต้า |
มเหสี | พระนางสิ่นผยู่ฉิ่งแหม่ด่อ[1] |
พระราชบุตร | โยธยามิบะยา[1] (มิงตยานมะด่อ) พระธิดา พระมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระทุลอง (มิงตาตุลอง) พระโอรส พระชัยทิพ (มิงแยทิปปะ) พระโอรส พระช้อย (สโดจอ) พระโอรส มิงแย นรธา พระโอรส เจ้าเมืองพินยา ขิ่งมแวมิ พระธิดา มิงอะ-ลัต พระธิดา มิงอะ-ทเว พระธิดา มิงอะ-เง พระธิดา ฉิ่งแม-ควา พระธิดา มเหสีพระหน่อแก้วกุมารแห่งล้านช้าง ฉิ่งซา พระโอรส |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ตองอู |
พระราชบิดา | พระเจ้าบุเรงนอง |
พระราชมารดา | พระนางราชเทวีแห่งหงสาวดี[2][3] |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พงศาวลีของนรธาเมงสอ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.