กีฬาทางน้ำโลก (อังกฤษ: World Aquatics)[2] เดิมชื่อ ฟีน่า (ฝรั่งเศส: Fédération internationale de natation; อังกฤษ: International Swimming Federation; FINA)[lower-alpha 1] เป็นสหพันธ์ระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC)[3] มีหน้าที่จัดการแข่งขันกีฬาทางน้ำในระดับนานาชาติ เป็นหนึ่งในสหพันธ์ระหว่างประเทศหลายแห่งที่จัดการกีฬาหรือสาขากีฬาสำหรับทั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากลและชุมชนระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
กีฬา | |
---|---|
อำนาจการควบคุม | นานาชาติ |
ตัวย่อ | WA (World Aquatics) |
วันที่ก่อตั้ง | 19 กรกฎาคม 1908 |
การติดต่อ | สมาคมสหพันธ์กีฬานานาชาติโอลิมปิกฤดูร้อน (ASOIF) |
สำนักงานใหญ่ | โลซาน สวิตเซอร์แลนด์ |
ประธาน | ฮุซัยน์ อัลมุสลิม[1] |
Replaced | สหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศ |
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ | |
www |
ก่อตั้งขึ้นในชื่อ FINA (Fédération internationale de natation; International Swimming Federation) ในปี ค.ศ. 1908 สหพันธ์ได้เปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น กีฬาทางน้ำโลก ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2023[4]
ปัจจุบันกีฬาทางน้ำโลกดูแลการแข่งขันกีฬาทางน้ำ 6 ชนิด ได้แก่ ว่ายน้ำ, กระโดดน้ำ, กระโดดน้ำสูง, ระบำใต้น้ำ,[5][6] โปโลน้ำ, และ ว่ายน้ำมาราธอน[7] กีฬาทางน้ำโลกยังดูแลการแข่งขันรายการ "มาสเตอร์" (สำหรับผู้ใหญ่) ในสาขากีฬาของตน[7]
ประวัติ
ฟีน่าก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1908 โดยสหพันธ์ว่ายน้ำเบลเยียม อังกฤษ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี และสวีเดน ที่โรงแรมแมนเชสเตอร์ ในลอนดอน สหราชอาณาจักร หลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1908[8]
จำนวนสมาชิกเรียงตามปี:
- ค.ศ. 1908: 8
- ค.ศ. 1928: 38
- ค.ศ. 1958: 75
- ค.ศ. 1978: 106
- ค.ศ. 1988: 109
- ค.ศ. 2000: 174
- ค.ศ. 2008: 197
- ค.ศ. 2010: 202
- ค.ศ. 2012: 203
- ค.ศ. 2015: 208[9]
- ค.ศ. 2016: 207
- ค.ศ. 2017: 209
สมาชิก
ภูมิภาค | สมาพันธ์ | สมาชิก | |
---|---|---|---|
แอฟริกา | สมาพันธ์ว่ายน้ำแอฟริกัน (คานา; CANA) | 52 | |
อเมริกา | สหภาพว่ายน้ำอเมริกา (เอเอสยูเอ; ASUA) | 45 | |
เอเชีย | สหพันธ์ว่ายน้ำเอเชีย (เอเอเอสเอฟ; AASF) | 45 | |
ยุโรป | สันนิบาตว่ายน้ำยุโรป (เลน; LEN) | 52 | |
โอเชียเนีย | สมาคมว่ายน้ำโอเชียเนีย (โอเอสเอ; OSA) | 15 |
องค์กร
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประธานสหพันธ์
- จอร์จ เฮิร์น (1908–1924)
- อีริก เบิร์กวัลล์ (1924–1928)
- เอมีล-ฌอร์ฌ ดรีญิ (1928–1932)
- วัลเทอร์ บินเนอร์ (1932–1936)
- แฮโรลด์ เฟิร์น (1936–1948)
- เรเนอ เดอ ราเอเฟอ (1948–1952)
- เอเม. เอเล. เนกริ (1952–1956)
- ยัน เดอ ฟริส (1956–1960)
- มักซ์ ริทเทอร์ (1960–1964)
- วิลเลียม เบิร์ก ฟิลลิปส์ (1964–1968)
- คาเบียร์ โอสโตส โมรา[10] (1968–1972)
- ดร. แฮโรลด์ เฮนนิง (1972–1976)
- คาเบียร์ โอสโตส โมรา[10] (1976–1980)
- อันเต ลัมบาชา (1980–1984)
- รอเบิร์ต เฮลมิก (1984–1988)
- มุศเฏาะฟา อัลอัรฟาอ์วี (1988–2009)
- ชูลีอู มาริโอนี (2009–2021)
- ฮุซัยน์ อัลมุสลิม (2021–ปัจจุบัน)
รายการแข่งขัน
- กีฬาทางน้ำชิงแชมป์โลก
- ว่ายน้ำชิงแชมป์โลก
- โปโลน้ำเวิลด์ลีก
- กระโดดน้ำเวิลด์ซีรีส์
- ว่ายน้ำในไตรกีฬาชิงแชมป์โลก
- ระบำใต้น้ำเวิลด์คัพ
- มาสเตอร์สชิงแชมป์โลก
หมายเหตุ
- ชื่ออย่างเป็นทางการและดั้งเดิมก่อนปี ค.ศ. 2023 ในภาษาฝรั่งเศส
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand in your browser!
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.