คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก หรือ เดอะบาซาร์ รัชดาฯ เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบริเวณสี่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยได้ย้ายจากพื้นที่เดิมที่หมดสัญญากับสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์และศาลมีคำสั่งให้รื้อถอนออกจากพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 มาตั้งอยู่บนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยตามแผนเดิมที่ประชาสัมพันธ์ไว้ โครงการนี้จะเปิดตัวในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แต่ได้เลื่อนการเปิดให้บริการเป็นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 โดยโครงการนี้ประกอบไปด้วยตลาดแผงลอย ร้านค้า และตลาดกลางคืน ซึ่งเมื่อสร้างเสร็จหมดทั้งโครงการแล้วจะมีความยาวในแนวระนาบกับพื้น 1.5 กิโลเมตร
Remove ads
สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษกแห่งนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าใช้บริการจำนวนใกล้เคียงกับสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมซึ่งอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 18,000 คนต่อวัน และมีชาวต่างชาติอย่างน้อย 4,000 คน รวมมูลค่าเงินลงทุนในโครงการนี้คือ 2,400 ล้านบาท[1][2]
Remove ads
ประวัติ
ผู้พัฒนาโครงการนี้เป็นเจ้าของเดียวกับสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมที่อยู่ติดกับสวนลุมพินี คือ พี.คอน. ดีเวล็อปเมนท์ เนื่องจากสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมหมดสัญญาเช่าที่ดินและต้องส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ่อค้าและแม่ค้าส่วนใหญ่ที่ขายของที่สวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมจึงย้ายมาขายของในที่ตั้งใหม่แทน และในปัจจุบัน โครงการบนที่ดินของสวนลุมไนท์บาซาร์แห่งเดิมคือโครงการวัน แบงค็อก
ก่อนจะเป็นสวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก ที่ตั้งนี้เคยเป็นตลาดกลางคืนรัชดามาก่อน โดยในปี พ.ศ. 2553 - 2555 ผู้ค้าส่วนใหญ่ปิดตัวลงเพื่อหลีกทางให้มีการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าและตลาดกลางแจ้ง และมีหลายส่วนที่ย้ายไปขายที่ชุมทางสยามยิปซีแทน
Remove ads
การจัดสรรพื้นที่
สวนลุมไนท์บาซาร์ รัชดาภิเษก ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้
- ตลาดไนท์บาร์ซาร์ แบ่งออกเป็น 2 โซน คือโซนในร่ม และโซนกลางแจ้ง
- โรงละครเดอะบาซาร์ เธียเตอร์ ความจุ 430 ที่นั่ง
- โรงแรมเดอะ บาซาร์ แบงค็อก[3]
นอกจากนี้ยังมีอาคารจอดรถ 8 ชั้น รองรับรถยนต์ได้ 3,500 คัน และรถทัวร์ 80 คัน
การเดินทาง
- รถเมล์สาย 8(2-38), 13(3-38), 27(1-37), 27(เดิม), 28(4-38), 44(2-42), 73(ก)(2-46), 92, 96(1-42), 136(3-47), 137(3-48), 145(3-18), 179(3-49), 182, 185(1-16), 191(2-51), 206(3-30), 514(1-54), 529E(4-29E), 545(2-26), 1-56(517X), 2-53
- รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีลาดพร้าว และสถานีรัชดาภิเษก
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads