Loading AI tools
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น กรรมการมหาเถรสมาคมโดยสมณศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร และคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 มกราคม พ.ศ. 2473 (86 ปี 75 วัน ปี) |
มรณภาพ | 11 เมษายน พ.ศ. 2559 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 9 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร |
พรรษา | 65 |
ตำแหน่ง | กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร |
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ มีนามเดิมว่า วีระ รอดบำเรอ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย จุลศักราช 1292 รัตนโกสินทรศก 148 ตรงกับวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2473 โยมบิดาชื่อ นายลี รอดบำเรอ โยมมารดาชื่อ นางมา รอดบำเรอ ภูมิลำเนาอยู่บ้านป่าฝ้าย หมู่ที่ 4 ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
เมื่อได้เข้าอยู่ในสำนักวัดเทพธิดารามเรียบร้อยแล้วก็เริ่มศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลีได้ศึกษาในสำนักเรียนวัดเทพธิดาราม และสำนักเรียนอื่น ๆ เช่น วัดสระเกศ วัดจักรพรรดิ ราชาวาส วัดมหาธาตุ วัดสามพระยา วัดสุทัศนเทพวราราม วัดทองนพคุณ สอบประโยค ป.ธ. 3- ป.ธ. 6 ได้ในสมัยที่ยังเป็นสามเณร
สมัยเยาว์วัยได้หัดอ่านและเขียนอักษรสมัยอยู่ที่บ้านโดยมีปู่เป็นผู้สอนเมื่ออายุเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา ปู่จึงไปฝากเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดโสคาประดิษฐาราม (เขาแร้ง) ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้บ้าน เมื่อสอบได้ชั้นประถมบริบูรณ์แล้วได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนพรเพิ่มวุฒิ ถนนราษฏรยินดี ในเมืองราชบุรีในสมัยที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ให้อยู่ในความปกครองดูแลของท่านพระครูวิสุทธิสมณวัตร (แย้ม กนตฺสิโล) เจ้าอาวาสวัดท้ายเมือง ตำบลพงสวาย ใกล้กรมการทหารช่างราชบุรี ในปี พ.ศ. 2486 ภัยสงครามทางอากาศคุกคามหนัก บิดาจึงรับกลับไป อยู่บ้าน เป็นไข้หนักในปีนั้นกำลังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เลย ไม่ได้สอบไล่ และไม่ได้เรียนต่อ
ณ วัดเขาวังสะดึง ตำบลเขาแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี เมื่ออายุ 16 ปี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 7 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา จุลศักราช 1307 โดยมีเจ้าอธิการวงศ์ ธมฺมปาโล วัดเกาะลอย เจ้าคณะคณะตำบลเกาะพลับพลา เขาแร้ง เป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาแล้วสังกัดอยู่ที่วัดโสคาประดิษฐาราม (เขาแร้ง) ตำบลเข้าแร้ง อำเภอเมืองราชบุรี โดยมีพระอธิการนกเป็นอาจารย์ผู้ปกครองได้ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมชั้นตรี และสอบได้ในปีนั้น ในปี พ.ศ. 2487 ประมาณเดือนมีนาคม พระอธิการนก อาวาสวัดโสคาประดิษฐารามลาสิกขา พระครูวิสุทธิสมณวัตร (แย้ม กนตฺสิโล) เจ้าอาวาสวัดท้ายเมือง ซึ่งเป็นผู้ปกครองลงในสมัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมได้เจรจาขอสามเณรวีระต่อโยมบิดาเพื่อจะส่งให้ศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพ โยมบิดาก็อนุญาตด้วยดี ท่านพระครูฯ จึงกำหนดวัน ส่งไปศึกษาเล่าเรียนย้ายสำนักสามเณรวีระพร้อมด้วยโยมบิดาได้เดินทางออกจากบ้านในวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พักแรมที่วัดท้ายเมืองหนึ่งคืน รุ่งขึ้นท่านพระครูวิสุทธิสมณวัตร พาเข้ากรุงเทพฯ โดยทางรถไฟ ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟราชบุรีมาลงที่สถานีบางกอกน้อยแล้วลงเรือข้ามฟากขึ้นที่ท่าพระจันทร์นั่งรถรางสายรอบเมืองไปลงที่ประตูสำราญราษฏร์ประตูผี ท่านพระครูฯ ได้นำไปฝากไว้ที่วัดเทพธิดาราม อยู่ในปกครองของพระมหาพลอย ญาณสํวโร ปธ. 6 ในสมัยนั้น
ณ พัทธสีมาวัดเทพธิดาราม ตำบลสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่ออายุ 20 ปี ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 โดยมีพระมงคลธรรมรังสี (ปาน อินฺทโชโต) เจ้าอาวาสวัดเทพธิดาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระราชธรรมเสนานี (ศุข สุภทฺโท ป.ธ. 4) วัดมหาธาตุวรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดราชบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระวิสุทธิโสภณ (ปลอด กมุทฺโท ป.ธ. 9) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สำร็จเป็นพระภิกษุด้วย ญัตติจตุตถกรรมวาจา เวลา 14.25 น. อยู่จำพรรษาที่วัดเทพธิดารามตลอดมา จนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 จึงย้ายเข้ามาอยุ่วัดสุทัศนเทพวราราม
คือการไหว้พระสวดมนต์ หากไม่มีกิจธุระสำคัญอื่นใด เช่นงานหลวงหรืองานด้านอื่น ๆ ท่านจะไหว้พระ สวดมนต์ที่พระอุโบสถเป็นประจำไม่ขาด ถึงแม้ตอนที่สุขภาพถูกพยาธิเบียดเบียดก็ไม่ยอมขาด ได้ไหว้พระสวดมนต์ก็จะสบายใจเป็นที่สุด เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่สวดมนต์ได้ทุกบท และเสียงสวดก็ไพเราะน่าฟังเป็นอย่างยิ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาแก่สาธุชนที่ได้รับฟัง นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่สนใจในการศึกษาหาความรู้ในวิชาการด้านต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อาพาธจากอาการเส้นโลหิตในสมองแตกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพเป็นระยะ ต่อมามีโรคมะเร็งลำไส้และโรคไตแทรกซ้อน จนกระทั่งมรณภาพจากอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตเมื่อวันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลาประมาณ 9.00 น. ณ โรงพยาบาลกรุงเทพ สิริอายุได้ 86 ปี 75 วัน[7]
ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปในการพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี) การนี้ทรงพระกรุณาโปรดฯ พระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพตามสมณศักดิ์ ประกอบด้วย โกศไม้สิบสอง ฉัตรเครื่องสูง ทองแผ่ลวด และทรงรับศพอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์เป็นเวลา 7 วัน 50 วัน และ 100 วันตามลำดับ
ในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Every time you click a link to Wikipedia, Wiktionary or Wikiquote in your browser's search results, it will show the modern Wikiwand interface.
Wikiwand extension is a five stars, simple, with minimum permission required to keep your browsing private, safe and transparent.