คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง
สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Remove ads
สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง ลาดกระบัง หรือ ไอซีดี ลาดกระบัง (อังกฤษ: Inland Container Depot : ICD) เป็นสถานีรถไฟชั้นพิเศษ ของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่สร้างขึนเพื่ออำนวยความสะดวก ให้บริการแก่ผู้ส่งออก ผู้นำเข้า และบุคคลทั่วไป ในกิจกรรมทุกอย่างเกี่ยวกับสินค้าประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ทั้งขาเข้า และขาออก เสมือนท่าเรือบก ตั้งอยู่ในเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่จำนวน 645 ไร่
Remove ads
Remove ads
ประวัติ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2534 อนุมัติให้มีการเวนคืนที่ดินในเขตลาดกระบังจำนวน 645 ไร่ เพื่อก่อสร้างสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องจำนวน 6 สถานี การก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 และเปิดทำการเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2538[1]
การดำเนินงาน
การรถไฟแห่งประเทศไทย ให้สัมปทานเอกชนดำเนินงานบริหารสถานีขนส่งสินค้าทั้ง 6 สถานีย่อย โดยมีรายชื่อผู้ประกอบการเอกชน ดังนี้
- ประตู 1 - บริษัท สยามชอร์ไซด์ เซอร์วิส จำกัด
- ประตู 2 - บริษัท อีสเทิร์น ซี แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด
- ประตู 3 - บริษัท เอเวอร์กรีน คอนเทนเนอร์ เทอร์มินัล (ประเทศไทย) จำกัด
- ประตู 4 - บริษัท ทิฟฟ่า ไอซีดี จำกัด
- ประตู 5 - บริษัท ไทยฮันจิน โลจิสติกส์ จำกัด
- ประตู 6 - บริษัท เอ็น.วาย.เค.ดิสทริบิวชั่น เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด
Remove ads
ขีดความสามารถ
สถานีรถไฟบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ICD) ได้ถูกออกแบบไว้เพื่อรองรับปริมาณคอนเทนเนอร์ได้ปีละประมาณ 400,000 ถึง 600,00 ทีอียู (นับเป็นหน่วยคอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) ปัจจุบันได้รับการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถ ให้รองรับตู้สินค้าได้ปีละประมาณ 1 ล้านทีอียู
ตารางเวลาการเดินรถ
เที่ยวล่อง
เที่ยวขึ้น
Remove ads
อ้างอิง
Wikiwand - on
Seamless Wikipedia browsing. On steroids.
Remove ads