คำถามยอดนิยม
ไทมไลน์
แชท
มุมมอง

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)

สถานีรถโดยสารทางไกลสายตะวันออก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย)map
Remove ads

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) เป็นสถานีขนส่งที่ใช้รับส่งผู้โดยสารจากภาคตะวันออกเลียบชายฝั่ง เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 บนที่ดินของ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) จำนวน 7 ไร่ 3 งาน 5 ตารางวา ตั้งอยู่ริมถนนสุขุมวิทบริเวณทางแยกเอกมัยใต้ (ปากซอยสุขุมวิท 63) ซึ่งเป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารเพียงแห่งเดียวที่ยังไม่มีการย้ายสถานีขนส่ง และตั้งอยู่ภายในตัวเมือง

ข้อมูลเบื้องต้น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย), ข้อมูลทั่วไป ...
Remove ads
Remove ads

ประวัติ

ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2502 นั้น การเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางนั้นไม่มีการควบคุมอย่างเป็นระบบมากนัก หากผู้ประกอบการรายได้มีเงินทุนมากพอก็สามารถนำรถยนต์โดยสารมาวิ่งให้บริการได้ อาจจะวิ่งในนามบุคคลหรือในนามบริษัท และไม่มีสัมปทานจากรัฐมาควบคุมการเดินรถ ท่ารถในขณะนั้นภาคตะวันออกเลียบชายฝั่งทะเลมีจุดจอดรถบริเวณวงเวียน 22 กรกฎา โดยผู้โดยสารต้องนั่งรอบนรถหรืออาศัยร้านกาแฟบริเวณใกล้เคียงสำหรับพักคอยก่อนรถออก[1]

กระทั่งในปี พ.ศ. 2502 รัฐบาลได้มีการประการควบคุมเส้นทางเดินรถโดยสารที่เชื่อมโยงจากกรุงเทพไปยังภูมิภาคต่าง ๆ โดยประกาศเส้นทางระยะไกลในเขต 30 จังหวัด แบ่งออกเป็น 5 สาย ประกอบไปด้วย สายใต้ สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก และสายตะวันออกเลียบชายทะเล และเพิ่มจังหวัดในแต่ละสายให้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ทั่วถึงในปีถัดมา คือ พ.ศ. 2503 มีเพียงสายตะวันออกและสายตะวันออกเลียบชายฝั่งทะเลที่ไปจรดจนสุดเส้นทางคือจังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดตราด[2]

ในปีเดียวกันนั้นเอง ได้มีการเปิดให้บริการสถานีขนส่งที่ใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารในระดับประเทศในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 จำนวน 3 แห่ง ซึ่งสถานีขนส่งเอกมัยเป็น 1 ใน 3 สถานีขนส่งสำหรับเป็นสถานีต้นทางรถโดยสารประจำทางสายตะวันออกเลียบชายฝั่งทะเล ตั้งอยู่ที่ตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงในขณะนั้น[2]

Remove ads

ลักษณะอาคารสถานีขนส่ง

Thumb
ส่วนจำหน่ายตั๋วโดยสารในปี พ.ศ. 2555

เป็นอาคารเดี่ยว ช่องจำหน่ายตั๋วโดยสารจะอยู่ด้านหน้าของสถานีขนส่ง มีทางเดินไปชานชาลาด้านหลัง โดยชานชาลาแบ่งออกเป็นสองส่วน ด้านหนึ่งเป็นชานชาลารถปรับอากาศขั้น 1 และอีกด้านหนึ่งเป็นชานชาลารถปรับอากาศชั้น 2

เคาท์เตอร์จำหน่ายตั๋วโดยสาร

เคาท์เตอร์จำหน่ายตั๋วโดยสาร จะมีราคาค่าตั๋วโดยสารปรากฏอยู่บนแผ่นป้ายอย่างชัดเจน ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบราคาค่าบริการและประเภทรถที่ให้บริการได้อย่างง่ายดายในแต่ละบริษัททั้ง บขส. เองและบริษัทที่ได้รับสัมปทานเดินรถมาจาก บขส.

พื้นที่พักรอ

บริเวณพื้นที่นั่งรอโดยสารเป็นรูปแบบเปิด มีพัดลมสำหรับระบายอากาศและให้ความเย็นจากอากาศที่ถ่ายเทและมีโทรทัศน์ให้รับชม รวมถึงยังมีร้านสะดวกซื้อภายในบริเวณสถานี และห้องน้ำให้บริการฟรี แต่ไม่มีกระดาษชำระ ซึ่งหากต้องการใช้สามารถซื้อได้ที่ร้านสะดวกซื้อ

ชานชาลาโดยสาร

บริเวณชานชาลาโดยสารประกอบด้วยชานสำหรับเทียบรถจำนวน 26 ชานชาลา และพื้นที่นั่งรอภายในอาคารแบบเปิดโล่ง

Remove ads

เส้นทางเดินรถ

Thumb
รถโดยสารประจำทางสายที่ 52 กรุงเทพฯ - พนัสนิคม
Thumb
รถโดยสารประจำทางสายที่ 48 กรุงเทพฯ - เอกมัย - เมืองพัทยา
Thumb
รถโดยสารประจำทางสายที่ 36 กรุงเทพฯ - บ้านมาบตาพุด

สามารถตรวจสอบเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และบริษัทที่ได้สัมปทานเดินรถร่วมบริการในแต่ละภูมิภาค

ข้อมูลเพิ่มเติม สายที่, ชื่อเส้นทางเดินรถ ...

ระบบขนส่งมวลชนที่เชื่อมต่อกับสถานี

สรุป
มุมมอง
Thumb
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท สถานีเอกมัย (E7)

ระบบขนส่งมวลชนเชื่อมต่อกับสถานี ประกอบไปด้วย รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถโดยสารประจำทางท้องถิ่นที่ให้บริการโดยองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ รับส่งและเชื่อมต่อกับพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย

รถไฟฟ้าบีทีเอส

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท บริเวณสถานีเอกมัย (E7) โดยสามารถเดินเท้าจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปยังทางทางออก 2 ของสถานีรถไฟฟ้าเอกมัย เพื่อเดินทางเข้าไปยังกรุงเทพชั้นในหรือไปยังจังหวัดสมุทรปราการ[5]

รถประจำทางหน้าสถานีขนส่ง

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

ข้อมูลเพิ่มเติม สายที่, จุดเริ่มต้น ...

รถเอกชน

ข้อมูลเพิ่มเติม สายที่, จุดเริ่มต้น ...
Remove ads

แผนในอนาคต

ในปี พ.ศ. 2560 หลังการเปิดตัวของโครงการ แบงค็อก มอลล์ ในพื้นที่แขวงบางนาเหนือ เขตบางนา บริษัท ขนส่ง จำกัด มีแผนก่อสร้างสถานีขนส่งผู้โดยสารสายตะวันออกแห่งใหม่ภายในโครงการนี้ โดยเป็นการขอใช้พื้นที่บางส่วนในโครงการจำนวน 5 ไร่ จากที่กลุ่มเดอะมอลล์เป็นเจ้าของที่อยู่ 100 ไร่ มาพัฒนาเป็นชานชาลาสำหรับจอดรถรับส่ง และจะพัฒนาศูนย์บริการลูกค้าภายในอาคารศูนย์การค้า โดยแนวคิดดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติและถูกให้นำกลับไปทบทวนใหม่[6]

ในปี พ.ศ. 2565 นายสัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้ออกมาระบุถึงแผนการพัฒนาพื้นที่พาณิชย์บริเวณที่ตั้งของสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีทำเลดี เหมาะกับการลงทุนของภาคเอกชน และปัจจุบันเกิดปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากรถโดยสารประจำทางมีขนาดใหญ่ จึงมีการศึกษาเกี่ยวกับการย้ายสถานีขนส่งไปตั้งในพื้นที่ใหม่ มีการพิจารณาในพื้นที่บางนา เช่น ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เนื่องจากมีพื้นที่ที่กว้างขวางเพียงพอสามารถรองรับรถโดยสารประจำทางได้ ซึ่งอาจจะเข้าดำเนินการในรูปแบบของการบันทึกข้อตกลงร่วมในการแบ่งผลประโยชน์ส่วนของค่าเช่าพื้นที่ ซึ่งจะศึกษาเสร็จในปี พ.ศ. 2566 และประกาศให้เอกชนร่วมลงทุนในปี พ.ศ. 2567[7]

Remove ads

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Loading content...
Loading related searches...

Wikiwand - on

Seamless Wikipedia browsing. On steroids.

Remove ads